ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำปุ๋ยอินทรีย์

โดย : นายอุเทน นวลจันทร์ วันที่ : 2017-04-19-14:30:03

ที่อยู่ : 32 หมู่ 5 ตำบลไกรกลาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมาของปุ๋ยหมัก
มนุษย์รู้จักการทำปุ๋ยหมักตอนไหนอาจระบุให้ชัดเจนได้ยาก แต่จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในสมัยจักรวรรดิ์อัคคาเดียน บริเวณที่ราบลุ่มเมโสโปเมียมีบันทึกเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกพืช จนมาถึงสมัยโรมัน และกรีกก็มีหลักฐานบันทึกไว้เช่นกัน โดยมีการใช้สารอินทรียใส่ในแปลงปลูกพืช และมีการพัฒนาการนำอินทรีย์วัตถุมากองรวมกันก่อนที่จะนำไปใช้คล้ายกับวิธีการทำปุ๋ยหมักด้วยการกองในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

ใช้ในแปลงผักและสวนผลไม้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

วัสดุ และส่วนผสม
– ปุ๋ยคอก 1 ใน 4 ส่วนของรางหมัก
– แกลบดำ 2 ถัง หรือไม่ใส่ก็ได้
– น้ำผสมหัวเชื้อเชื้อ EM 1 ลิตร
– กากน้ำตาล 1 ลิตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการหมักของปุ๋ยหมัก
1. การหมักแบบใช้ออกซิเจน
เมื่อวัสดุหมักเกิดการย่อยสลายจนได้สารอินทรีย์ตั้งต้น ได้แก่ ไขมัน โปรตีนคาร์โบไฮเดรต เซลลูโลส ลิกนิน ฯลฯ สารเหล่านี้ จะถูกจุลินทรีย์จำพวกที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายด้วยการดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการ และสุดท้ายจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นฮิวมัส น้ำ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และพลังงานความร้อน

2. การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน
สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจน 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์สร้างกรด และจุลินทรีย์สร้างมีเธน ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สุดท้าย ได้แก่ ก๊าซมีเธน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) และพลังงานความร้อน

จุลินทรีย์ของปุ๋ยหมัก
กระบวนการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งทั้งสองกลุ่มจะทำหน้าที่ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง จนกระทั่งเกิดการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์จนได้สารอินทรีย์วัตถุที่เรียกว่า ปุ๋ยหมัก (Compost) กระบวนการย่อยสลายดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยจุลินทรีย์หลายชนิดรวมกันและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะอุณหภูมิปานกลาง (Mesophilic Phase) เป็นช่วงแรกของการย่อยสลาย จำนวนจุลินทรีย์ค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งจะมีอุณหภูมิประมาณ 20-45 °C
2. ระยะอุณหภูมิสูง (Thermophilic Phase) เป็นช่วงที่มีการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์เกือบคงที่ และเกิดการย่อยสลายทั่วทั้งกอง โดยอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 45 – 60 °C หรือมากกว่า ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมจะต้องไม่ต่ำกว่า 45 °C เป็นช่วงที่เกิดการย่อยสลายมากที่สุดจนทำให้เกิดความร้อนสะสมในกองปุ๋ยหมัก
3. ระยะอุณหภูมิลดลง (Maturation Phase) เป็นช่วงที่จุลินทรีย์บางส่วนเริ่มตายลง ปริมาณอินทรีย์ถูกย่อยสลายจนหมด อัตราการย่อยสลายจึงลดลง ทำให้อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักลดลงตามมา ซึ่งเป็นระยะที่จะเสร็จสิ้นการย่อยสลาย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา