ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายทองคำ เข็มทองคำ วันที่ : 2017-04-19-12:07:30

ที่อยู่ : 2/1 หมู่ 3 ตำบลไกรกลาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมาของปุ๋ยหมัก
มนุษย์รู้จักการทำปุ๋ยหมักตอนไหนอาจระบุให้ชัดเจนได้ยาก แต่จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในสมัยจักรวรรดิ์อัคคาเดียน บริเวณที่ราบลุ่มเมโสโปเมียมีบันทึกเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกพืช จนมาถึงสมัยโรมัน และกรีกก็มีหลักฐานบันทึกไว้เช่นกัน โดยมีการใช้สารอินทรียใส่ในแปลงปลูกพืช และมีการพัฒนาการนำอินทรีย์วัตถุมากองรวมกันก่อนที่จะนำไปใช้คล้ายกับวิธีการทำปุ๋ยหมักด้วยการกองในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

สารไล่แมลง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก
วัสดุ และส่วนผสม
– ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป
– แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน
– รำละเอียด 1 ส่วน
– เชื้อ EM 20 ซีซี
– กากน้ำตาล 100 ซีซี
– น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ
– ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน
– นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ
– หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก

2. ปุ๋ยหมักจากพืช
1. ปุ๋ยหมักฟางข้าว
วัสดุ และส่วนผสม
– ฟางแห้งสับละเอียด 1 ส่วน ประมาณ 10 กก.
– แกลบดิบ/แกลบเผา 1 ส่วน
– ปุ๋ยยูเรีย 200 กรัม
– กากน้ำตาล 100 ซีซี
– เชื้อ EM 20 ซีซี
– น้ำ 10 ลิตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการหมักของปุ๋ยหมัก
1. การหมักแบบใช้ออกซิเจน
เมื่อวัสดุหมักเกิดการย่อยสลายจนได้สารอินทรีย์ตั้งต้น ได้แก่ ไขมัน โปรตีนคาร์โบไฮเดรต เซลลูโลส ลิกนิน ฯลฯ สารเหล่านี้ จะถูกจุลินทรีย์จำพวกที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายด้วยการดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการ และสุดท้ายจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นฮิวมัส น้ำ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และพลังงานความร้อน

2. การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน
สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจน 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์สร้างกรด และจุลินทรีย์สร้างมีเธน ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สุดท้าย ได้แก่ ก๊าซมีเธน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) และพลังงานความร้อน

จุลินทรีย์ของปุ๋ยหมัก
กระบวนการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน และกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน ซึ่งทั้งสองกลุ่มจะทำหน้าที่ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง จนกระทั่งเกิดการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์จนได้สารอินทรีย์วัตถุที่เรียกว่า ปุ๋ยหมัก (Compost) กระบวนการย่อยสลายดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยจุลินทรีย์หลายชนิดรวมกันและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะอุณหภูมิปานกลาง (Mesophilic Phase) เป็นช่วงแรกของการย่อยสลาย จำนวนจุลินทรีย์ค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งจะมีอุณหภูมิประมาณ 20-45 °C
2. ระยะอุณหภูมิสูง (Thermophilic Phase) เป็นช่วงที่มีการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์เกือบคงที่ และเกิดการย่อยสลายทั่วทั้งกอง โดยอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 45 – 60 °C หรือมากกว่า ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมจะต้องไม่ต่ำกว่า 45 °C เป็นช่วงที่เกิดการย่อยสลายมากที่สุดจนทำให้เกิดความร้อนสะสมในกองปุ๋ยหมัก
3. ระยะอุณหภูมิลดลง (Maturation Phase) เป็นช่วงที่จุลินทรีย์บางส่วนเริ่มตายลง ปริมาณอินทรีย์ถูกย่อยสลายจนหมด อัตราการย่อยสลายจึงลดลง ทำให้อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักลดลงตามมา ซึ่งเป็นระยะที่จะเสร็จสิ้นการย่อยสลาย

ชนิดของปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักแบ่งตามส่วนผสมเป็น 2 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักทั่วไป และปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. ปุ๋ยหมักแบบทั่วไป และวิธีทำ
ปุ๋ยหมักแบบทั่วไป เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆมาหมักตามกระบวนการทางธรรมชาติ โดยไม่มีการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเร่งการหมัก ซึ่งการหมักจะเกิดการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุจากจุลินทรีย์ ทำให้มีการปลดปล่อย ธาตุอาหารออกมาได้รวดเร็วขึ้น

วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบทั่วไป
– เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน 100 : 10 กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์
– ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย และเป็นอันตรายออก แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดย เริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร
– รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ
– โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ 5 : 1
– ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน 100 : 20 : 1 ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้
– ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่
– สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน 5-7 เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน 3-5 เดือน

2. ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีการทำ
ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักที่มีการพัฒนาขึ้น เพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM เพื่อเร่งกระบวนการหมัก ทำให้เกิดปุ๋ยจากอินทรีย์วัตถุที่มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่

1. ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก
วัสดุ และส่วนผสม
– ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป
– แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน
– รำละเอียด 1 ส่วน
– เชื้อ EM 20 ซีซี
– กากน้ำตาล 100 ซีซี
– น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ
– ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน
– นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ
– หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก

2. ปุ๋ยหมักจากพืช
1. ปุ๋ยหมักฟางข้าว
วัสดุ และส่วนผสม
– ฟางแห้งสับละเอียด 1 ส่วน ประมาณ 10 กก.
– แกลบดิบ/แกลบเผา 1 ส่วน
– ปุ๋ยยูเรีย 200 กรัม
– กากน้ำตาล 100 ซีซี
– เชื้อ EM 20 ซีซี
– น้ำ 10 ลิตร

วิธีทำ
– คลุกผสมฟาง และแกลบให้เข้ากัน หากมีจำนวนมากให้แยกคลุก แล้วค่อยมารวมกันเป็นกองเดียวอีกครั้ง
– ผสมเชื้อ EM และกากน้ำตาลร่วมกับน้ำ หลังจากนั้น ใช้เทราด และคลุกให้เข้ากันกับวัสดุอื่นๆ
– นำไปหมักในถัง ถุงกระสอบ หรือ บ่อซีเมนต์ นาน 1-2 เดือน ก็สามารถนำไปใช้ได้

3. ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหาร และขยะ
ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หากมีเฉพาะเศษอาหารที่เป็นพืชมักจะไม่มีปัญหา เพราะเวลาเน่าจะมีกลิ่นเหม็นไม่รุนแรง เราสามารถนำไปคลุกกับปุ๋ยคอกในรางทำปุ๋ยหมักได้เลย แต่หากมีเนื้อสัตว์จะมีกลิ่นเหม็นรุนแรง

สำหรับบางครัวเรือนที่มีข้อจำกัดปริมาณเศษอาหารที่เกิดน้อย หากต้องการทำปุ๋ยหมักจำเป็นต้องทำรางหมักหรือหลุมหมัก แต่หากจะหมักในถังจะมีข้อจำกัดที่เต็มเร็ว

การทำรางหมัก ควรหาพื้นที่ว่างบริเวณหลังบ้าน ขนาดพื้นที่ประมาณ 1 เมตร x 1 เมตร ลึกประมาณ 20-40 เซนติเมตร หรืออาจน้อยกว่า หรืออาจมากกว่าตามความต้องการ แต่ควรให้รองรับเศษอาหารให้ได้ประมาณ 1 เดือน และควรทำ 2 ชุด พร้อมฉาบด้านข้างด้วยปูนซีเมนต์ แต่หากไม่มีปัญหาเรื่องน้ำฝนหรือน้ำไหลเข้า ก็อาจขุดเป็นบ่อดินก็เพียงพอ ทั้งนี้ ควรทำร่องด้านข้าง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้า และควรเตรียมผ้าใบคลุมเมื่อฝนตก

วัสดุ และส่วนผสม
– ปุ๋ยคอก 1 ใน 4 ส่วนของรางหมัก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา