ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

โดย : นางนิลรัตน์ โพธิ์ขำ วันที่ : 2017-04-12-15:03:38

ที่อยู่ : 40 หมู่ 8 ตำบลหนองตูม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความหมายคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชน เมือง รัฐ หรือประเทศ ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ โดยรู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตอื่น ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ภายหลังเมื่อได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ว่า

“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานจากมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงโดยลำดับต่อไป…”

ใน พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เพื่อแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ

“…การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตนเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”

คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า

“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”

“…ให้เพียงพอนี้หมายความว่ามีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…”

“…Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง…”

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ไก่ โรงเลี้ยง อาหาร ยา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเลือกไม่ไก่ไข่ การเลือกแม่ไก่ที่จะทำหน้าทีผลิตไข่ทองคำให้เรานั้นมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆด้วยกันนั้นก็คือ การเลี้ยงลูกไก่ และการเลี้ยงไก่ที่โตเตรียมฟักไข่แล้ว

1.1 การเลี้ยงลูกไก่ เป็นวิธีแรกๆที่ชาวเกษตรกรเลือกทำกันเพราะเป็นวิธีที่ลงทุนน้อย แต่เชื่อเถอะครับถ้าหากว่าคุณยังไม่มีความรู้มากเพียงพอละก็ วิธีนี้เป็นวิธีที่เสี่ยงอย่างมาก ไหนจะลูกไก่ตาย ไหนจะโรคระบาด ซึ่งเกิดได้ง่ายในลูกไก่ซะด้วย ต้นทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30-35 บาทต่อตัว

1.2 การเลี้ยงไก่วัยสาว ถ้าหากเกษตรกรมีเงินลงทุนที่นาพอละก็ผมขอแนะนำวิธีนี้ครับเพราะความเสี่้ยงต่ำ ให้ผลตอบแทนเร็ว  ต้นทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 80-100 บาทต่อตัวครับ

 

การเลี้ยงไก่

2. โรงเรือน ในการสร้างโรงเรือนเลี้ยงแม่ไก่ไข่ ขนาดกลางนั้นใช้ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 50,000-200,000 บาท แต่ถ้าหากเกษตรกรยังไม่กล้าที่จะลงทุนในจำนวนเงินขนาดนี้ ก็อาจใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่าถูกสุขลักษณะด้วยนะครับ

 

3. อุปกรณ์การเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นชั้นฟักไข่ รังไข่ รางน้ำ รางอาหาร ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000-50,000 เกษตรกรสามารถใช้สิ่งของเหลือใช้ในครัวเรือนแทนก็ได้ครับ จะช่วยลดต้นทุนได้มากพอสมควร

 

การเลี้ยงไก่

4. อาหารไก่ ไข่ไข่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มากเพียงพอที่จะทำให้ออกไข่ได้อย่างสมบูรณ์ ราคาค่าอาหารไก่สำเร็จรูปอยูที่ประมาณ กก. 5 บาท

 

5. สุดท้าย ค่ายใช้จ่ายจิปาถะ ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อย แต่เลี่ยงไม่ได้ เช่นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ายารักษาโรค  ยังไงก็อย่าให้ขาดละครับเตรียมไว้เผื่อเหลือเผื่อขาดครับ

ข้อพึงระวัง ->

โรค แมลง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา