ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกเผือก

โดย : นางสาวสมจิต อ้นนา วันที่ : 2017-04-12-14:44:38

ที่อยู่ : 388/2 หมู่ 2 ตำบลหนองตูม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความหมายคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชน เมือง รัฐ หรือประเทศ ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ โดยรู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตอื่น ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ภายหลังเมื่อได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ว่า

“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานจากมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงโดยลำดับต่อไป…”

ใน พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เพื่อแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ

“…การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตนเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”

คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า

“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”

“…ให้เพียงพอนี้หมายความว่ามีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…”

“…Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง…”

วัตถุประสงค์ ->

สร้างงานสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ที่ดิน เผือก แหล่งน้ำ ปุ๋ย ยา

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีชำต้นเผือก
เมื่อได้พันธุ์เผือกมาแล้ว นำมาวางบนดินที่เปียกชุ่มในที่ร่มให้วางเป็นแถวๆ ปิดคลุมด้วยฟางรดน้ำให้ชุ่มประมาณ 5-6 วัน เผือกจะเริ่มผลิหน่อเติบโตเป็นต้นอ่อนสูงประมาณ 10-12 ซม. ถ้าลูกเผือกแตกหน่อหลายยอด ควรเด็ดให้เหลือเพียงยอดเดียวแล้วทำการย้ายไปปลูกได้

การเตรียมดินแปลงปลูก
ยกร่องทำแปลงปลูกกว้างประมาณ 5 ม. ยาวไปตามพื้นที่ดิน ระยะห่างของร่องห่างกันประมาณ 1-1 ½ เมตร เมื่อฝนตกหนักน้ำจะได้ไม่ขังบนแปลงปลูก ขุดหลุมปลูกกว้าง 50 เซนติเมตร หากดินในท้องที่มีสภาพเป็นกรดสูง ควรแก้ไขด้วยการใส่หินปูนหรือปูนขาวคลุกเคล้าขณะทำการไถพรวน ประมาณไร่ละ 500 กิโลกรัม หรือคลุกประมาณ 1 กระป๋องนมข้นในหลุมปลูก หากปลูกไม่มากสามารถใช้ขี้เถ้าแทนปูนขาวได้ เพราะถ้าดินมีสภาพเป็นกรดสูง พืชจะไม่สามารถดูดสารอาหารและแร่ธาตุไปเลี้ยงลำต้นได้

วิธีปลูกเผือกหอม
ย้ายต้นอ่อนที่ชำไว้ปลูกลงในหลุมให้ลำต้นตั้งตรง กลบดินพอมิดหัวเผือก ควรปลูกในตอนเย็น ต้องหมั่นรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ เมื่อเผือกตั้งตัวได้ค่อยเว้นระยะห่างออกไป การรดน้ำใช้ฝักบัวให้น้ำพุ่งออกเป็นฝอย ทำให้สะดวกในการรดน้ำต้นเผือกมาก ไม่นานเผือกจะแตกหน่อเป็นกอ ควรตัดหน่อที่แตกออกทิ้งเสียให้เหลือไว้เพียงต้นเดียว เพราะถ้ามีหลายหน่อเผือกจะมีหัวเล็ก ขายไม่ได้ราคา
เผือกจะมีหัวและโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุประมาณ 4-5 เดือน ระยะนี้ให้พูนดินคลุมโคนเผือก หัวเผือกจะดูดอาหารจากดินคลุมโคนได้ง่ายขึ้น จึงทำให้เผือกมีหัวป้อมใหญ่ น้ำหนักดี

การใส่ปุ๋ย
ดินปลูกเผือกต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารสูง ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรทำดังต่อไปนี้

1. ก่อนทำการปลูกเผือกให้ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หรือคลุกในหลุมปลูก หลุมละ 2-3 กำมือ

2. ใส่เดือนละ 1 ครั้งหลังจากปลูกเผือกแล้ว ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์รวมกัน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ควรเป็นปุ๋ยน้ำ เพราะมีธาตุไนโตรเจนสูง ใส่ต้นละ 1 ช้องแกง ปุ๋ยคอกต้นละ 1 กำมือ โดยผสมปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดให้เข้ากัน ขุดร่องรอบต้น ห่างต้น 1 ฝ่ามือ โรยปุ๋ยใส่ลงไปกลบดินรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้ง

3. ใส่ปุ๋ยบำรุงหัวที่มีส่วนผสมของธาตุโปแตสเซียมอยู่ด้วยเมื่อเผือกอายุได้ 2-4 เดือน วิธีสังเกตในการซื้อปุ๋ยรวมหรือปุ๋ยผสมว่ามีธาตุโปแตสเซียมอยู่ด้วยหรือไม่ ให้ดูตัวเลขบนกระสอบ เช่น ถ้าบนกระสอบพิมพ์ไว้ว่า 8-10-12 ตัวเลขหลังสุดคือ 12 แสดงว่ามีปุ๋ยโปแตสเซียมใช้บำรุงหัว แต่ถ้าพิมพ์ว่า 16-20-0 ตัวเลขหลังสุดเป็น 0 แสดงว่าไม่มีปุ๋ยโปแตสเซียม ถ้าร้านค้ามีเฉพาะปุ๋ยโปแตสเซียมขาย จะเป็นโปแตสเซียมคลอไรด์ หรือโปแตสเซียมซัลเฟตก็ได้ โรยรอบต้นๆ ละ 1 ช้อนแกง พูนดินกลบ รดน้ำให้ชุ่ม

ศัตรูของเผือกหอม
1. เพลี้ยอ่อน มักจะรบกวนใบเผือกเสมอ ทำให้ต้นเผือกไม่เจริญเติบโต แคระแกร็น ป้องกันกำจัดโดยใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
-ไดเมทโธเอท
-ไดเมครอน
-มาลาไธออน
2-4 ช้อนสังกะสี ต่อน้ำ 1 ปี๊บฉีดพ่นใบให้ทั่ว

2. หนอนกัดกินใบ  เมื่อต้นเผือกถูกหนอนกัดกินใบจะชะงักการเจริญเติบโต ควรใช้ยาเซฟวิน 85 หรือมาลาไธออน อัตราส่วน 2-4 ช้อนสังกะสี ต่อน้ำ 1 ปี๊บฉีดพ่น

3. โรคหัวเน่า เกิดจากเชื้อรา ป้องกันการลุกลามและกำจัดโดยใช้ยาเธอราคลอ หรือไดโพลาแทน อัตรา 1-2 ช้อนสังกะสี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หยอดโคนต้น

ข้อควรระวังในการปลูกเผือกหอม
ไม่ควรใช้ยาชนิดเม็ดหยอดบริเวณหัวเผือกในการป้องกันโรคหัวเน่า เช่น ยาเทมมิค 10 จี ไทเมค 10 จี และ บี.เอส.ซี. เพราะมีฤทธิ์ตกค้างยาวนานถึง 120 วัน หรือมากกว่านั้น ถ้าเกษตรกรเก็บเผือกไปขายแก่ผู้บริโภคอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ หากจำเป็นต้องใช้ยานี้ควรใช้ก่อนวันเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป

การเก็บเกี่ยวเผือกหอม
เมื่อเผือกอายุใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ ใบจะค่อยๆ เป็นสีเหลือง ตั้งแต่ใบล่างขึ้นไปจนเหลือตรงส่วนยอด 2-3 ใบ แสดงว่าหัวเผือกแก่จัดควรขุดได้แล้ว ซึ่งนับจากวันปลูกถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 7 เดือน ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานกว่านี้น้ำหนักของหัวเผือกจะลดลง

วิธีขุดหัวเผือก ใช้จอบหรือเสียมขุดใกล้ต้นเผือกแล้วงัดต้นเผือกขุดกองรวมกันไว้ หลังจากเก็บหัวเผือกแล้ว ให้เก็บลูกเผือกหรือลูกซอหาฟางหรือหญ้าคลุมดินไว้กันความร้อนจากแสงแดด จะสามารถเก็บปลูกไว้ในดินได้นานสำหรับทำพันธุ์คราวต่อไป ถ้าฝนตกชุกต้องเก็บลูกเผือกขึ้นจากดิน เพราะลูกเผือกจะเน่าเสียหายได้ ให้นำไปวางไว้ในที่ร่มอากาสถ่ายเทได้สะดวก

ส่วนต้นเผือกที่ขุดมาต้องลอกกาบแห้งๆ ออกให้หมด ตัดลูกเผือก ตัดราก และส่วนยอดทิ้งเหลือแต่หัวเผือก สำหรับลูกเผือกจะเก็บไว้ทำพันธุ์หรือขายก็ได้ เผือกหอมเป็นพืชที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ดีอีกพืชหนึ่ง ในเนื้อที่ 1 ไร่จะได้ผลผลิตเผือกหอมประมาณ 1,400-2,000 กิโลกรัม

ข้อพึงระวัง ->

โรค แมลง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา