ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงปลาดุก

โดย : นายเสนาะ สุขจ้อย วันที่ : 2017-04-12-14:10:57

ที่อยู่ : 45 หมู่ 7

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความหมายคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชน เมือง รัฐ หรือประเทศ ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ โดยรู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตอื่น ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ภายหลังเมื่อได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ว่า

“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานจากมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงโดยลำดับต่อไป…”

ใน พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เพื่อแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ

“…การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตนเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”

คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า

“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”

“…ให้เพียงพอนี้หมายความว่ามีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…”

“…Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง…”

วัตถุประสงค์ ->

สร้างงานสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ปลาดุก บ่อปลา ยา อาหารปลา แหล่งน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

ในบรรดาปลาดุกทั้ง 3 ชนิด (ปลาดุกอุย ปลาดุกด้าน และปลาดุกยักษ์) และบิ๊กอุยนั้น ปลาดุกอุย นับว่าเป็นชนิดที่เลี้ยงยากที่สุด แต่ถ้านับตั้งแต่ช่วงอนุบาล ปลาดุกด้านจะมีปัญหามากที่สุด ส่วนปลาดุกยักษ์ และบิ๊กอุยนั้นเลี้ยงง่ายที่สุด วิธีการเลี้ยงโดยหลักการเหมือนกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยา

 

ปลาดุกอาจเลี้ยงในบ่อดิน บ่อคอนกรีต ร่องสวนนา หรือแม้แต่ในกระชัง แต่ที่เลี้ยงได้ผลดีที่สุด คือบ่อดิน ซึ่งกว่า 90% ของผลผลิตปลาดุกได้มาจากการเลี้ยงในบ่อดินทั้งสิ้น

 

บ่อดิน

ควรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพี่อความสะดวกในการตีอวนจับปลา หรือการจัดโดยการระบายน้ำออกหมด ขนาดของบ่อไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะจะดูแลยาก การให้อาหารไม่ทั่วถึง เมื่อเกิดปัญหาโรค-ปรสิค การลงยาจะสิ้นเปลืองมาก เมื่อน้ำเสียการถ่ายน้ำไม่สามารถทำได้ทันที ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเล็กเกินไปก็จะเสียพื้นที่คันบ่อมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นขนาดของบ่อที่เหมาะสมก็คือ 800-1,600 ตารางเมตร (0.5-1 ไร่)

 

อย่างไรก็ตามควรจะพิจารณาสภาพพื้นที่เป็นหลัก ว่าใช้บ่อขนาดใดจึงจะใช้เนื้อที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการขุดบ่อ ควรขูดผิวดินประมาณ 15-20 เซนติเมตร ควรราดน้ำและอัดดินให้แน่นเพื่อทำให้คันบ่อแข็งแรงขึ้น ระดับน้ำในบ่อควรอยู่ในระดับ80-100 ซ.ม. ดินบ่อควรสูงกว่าระดับน้ำอย่างน้อย 50 ซ.ม. เพื่อป้องกันปลาหนี เพื่อป้องกันการพังทลายของดินบ่อ คันบ่อต้องมีส่วนลาดเอียงอย่างน้อย 1 : 2(ด้านใน) ด้านนอกควรลาดเอียง 1: 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของดินด้วย ถ้าไม่ใช่ดินเหนียว ความลาดเอียงของดินบ่อควรมากกว่านี้ ความกว้างของสันดินบ่อกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ถ้ากว้างกว่านี้จะสะดวกต่อการทำงานมากขึ้น 

 

การเตรียมบ่อ

การเลี้ยงในบ่อดินจำเป็นต้องมีการเตรียมบ่อที่ดี มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหากันบ่อเน่า ทำให้น้ำในบ่อเสีย และทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพปลาในที่สุด บ่อปลาดุกที่เลี้ยงมานานหลายๆ ปี โดยไม่มีการดูแลบ่อจะพบปัญหาปลาเป็นโรคบ่อยๆ ยากต่อการแก้ไข การเตรียมบ่อใหม่และบ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลามาก่อน มีขั้นตอนการเตรียมแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้

 

บ่อขุดใหม่

บ่อขุดใหม่ไม่มีปัญหาเรื่องเลน และศัตรูในบ่อ แต่จะมีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดให้โรยปูนขาวตามพี-เอชของดิน (อย่างน้อย 30-50 กิโลกรัมต่อบ่อ 800 ตารางเมตร) ควรจะคลุกปูนให้ผสมกับหน้าดินลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นสูบน้ำเข้าบ่อจนได้ระดับน้ำ 30 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 5-7 วัน แล้วจึงวัดพี-เอช ค่าที่พอเหมาะควรอยู่ระหว่าง 7-8.5 ถ้าจะปล่อยปลาตุ้ม ก็ควรใส่ปุ๋ยเช่นเดียวกับที่ทำในบ่ออนุบาล ถ้าจะปล่อยปลานิ้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมใส่ปุ๋ย แต่ถ้าจะใส่เพื่อเตรียมไรแดงให้ลูกปลาก็จะช่วยให้อัตรารอดสูงขึ้น โดยทำวิธีการเดียวกับการเตรียมบ่ออนุบาล

 

บ่อเก่า

เตรียมบ่อเช่นเดียวกับการเตรียมบ่ออนุบาล ดังนี้

- ลดน้ำแล้วตีอวนจับปลาเก่าออกให้หมด

- สูบน้ำออกเหลือเล็กน้อย

- ลงไซยาไนด์ 3-5 กรัม/ลูกบาศก์เมตร เก็บซากสัตว์ขึ้นให้หมด

- ถ้าเลนหนาควรลอกเลน

- โรยปูนขาว 30-50 กิโลกรัม/800 ตารางเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน จนดินก้นบ่อแห้งหมาดๆ

- สูบน้ำเข้าจนได้ระดับน้ำ 30 เซนติเมตร

- ถ้าจะใส่ปุ๋ยก็ทำเช่นเดียวกับการเตรียมบ่ออนุบาล

ข้อพึงระวัง ->

โรค การให้อาหาร น้ำเสีย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา