ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนา/เลี้ยงปลา

โดย : นายยัน เนียมหอม วันที่ : 2017-04-12-13:48:26

ที่อยู่ : 189/1 หมู่ 2 ตำบลกง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความหมายคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชน เมือง รัฐ หรือประเทศ ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ โดยรู้จักการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ และไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตอื่น ที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี เพื่อนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ภายหลังเมื่อได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนรอดพ้นและสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ว่า

“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานจากมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงโดยลำดับต่อไป…”

ใน พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง เพื่อแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ

“…การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตนเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก…”

คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า

“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”

“…ให้เพียงพอนี้หมายความว่ามีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือยไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือยแต่ก็ทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ…”

“…Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นอยู่ได้ด้วยตนเอง…”

วัตถุประสงค์ ->

สร้างงานสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ที่ดิน ปุุ๋ย ข้าว ปลา แหล่งน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้
การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” พื้นที่ดอนส่วนมากเช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้น ชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก แล้วใช้หลักไม้ปลาย แหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที่หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขัง และไม่มี การชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการ ปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝนและแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่น กำจัด วัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูก มากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก
การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอน ที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า Indirect Seeding ซึ่งต้องเตรียม ดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร
การไถดะ หมายถึง การถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนาตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปร แล้วทำการคราดได้ทันที การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็น ที่ราบจะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก
การปักดำ คือการนำต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ จะต้องสลัดดินโคลนที่รากออก แล้วนำไปปักดำในพื้นที่นา ที่ได้เตรียมไว้ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้ง พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าว อาจถูกลมพัดจนพับลงได้เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนั้นลึกมากต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และ ข้าวจะต้องยืดต้น มากกว่าปกติ จนผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่ได้ผลผลิตสูงจะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร
การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ ชาวนาจะทำการไถดะและไถแปร แล้วจึงนำเมล็ดที่ยังไม่ได้เพาะ ให้งอกหว่านลงไปทันทีแล้ว คราด หรือไถเพื่อกลบเมล็ดที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากดินมี ความชื้นอยู่แล้วเมล็ดจะเริ่ม งอกทันทีหลังจากหว่านลงดิน การ ตั้งตัว ของต้นกล้าจะตั้งตัวดีกว่า การหว่านสำรวย เพราะเมล็ดที่หว่านถูกกลบฝังลึกลงในดิน
การหว่านน้ำตม การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีน้ำขังประมาณ 3-5 เซนติเมตร และพื้นที่นา เป็นผืนใหญ่ขนาด ประมาณ 1-2 ไร่มีคันนากั้นเป็นแปลงการเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียม ดินสำหรับนาดำ ซึ่งมีการไถดะ ไถแปร และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออก จากพื้นนาแล้วจึงทิ้งให้ดิน ตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่านลงนาและไขน้ำออก เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าวและเจริญเติบโตอย่างข้าวอื่นๆ ตามปกติการหว่านแบบนี้นิยมทำกันใน ท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทราที่ทำการปลูกข้าวนาปรัง

ขั้นตอนการเลี้ยงปลา (บ่อดิน)
การเลือกสถานที่
1. ควรเลือกสถานที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง รวมถึงพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเข้าถึง
2. ควรเลือกสถานที่ที่มีปริมาณน้ำพอใช้ได้ตลอดทั้งปี เช่น มีบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ และควรเป็นสถานที่ที่น้ำไม่ท่วมถึง โดยเฉพาะในฤดูฝน และไม่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
3. ควรเลือกสถานที่ที่เป็นดินดินเหนียว ซึ่งจะอุ้มน้ำได้ดี ป้องกันการซึมผ่านของน้ำออกบ่อ
4. ควรเลือกสถานที่ใกล้แหล่งพันธุ์ปลา และการคมนาคมเข้าถึงสะดวก
5. ควรเลือกสถานที่ที่อยู่ใกล้ตลาดหรือชุมชน เพื่อความสะดวก และมีความรวดเร็วสำหรับการส่งปลาจำหน่าย

การสร้างบ่อเลี้ยง/การเตรียมบ่อ
1. ออกแบบ และวางผังบ่อ โดยควรออกแบบสำหรับการเพิ่มหรือขยายบ่อในอนาคต
2. ขุดบ่อ และยกคันบ่อ โดยให้สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดบริเวณโดยรอบในรอบปีที่มีน้ำท่วมสูง ซึ่งต้องให้เผื่อสูงไว้เกินประมาณ 30 เซนติเมตร
3. สร้างประตูระบายน้ำ บริเวณจุดต่ำสุดของคันบ่อ โดยประกอบด้วยตะแกรงตาถี่ที่ทำจากไม้ไผ่หรือเหล็ก
4. บ่อปลาที่ขุด ควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพื้นด้านล่างควรลาดเทไปด้านใดด้านหนึ่งในทิศทางการไหลของน้ำ
5. เมื่อขุดบ่อเสร็จให้โรยปูนขาวให้ทั่วก้นบ่อ ขอบบ่อ  และตากทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จึงจะปล่อยน้ำเข้า อีกประมาณ 7 วันต่อมาจึงถ่ายน้ำออกเพื่อรับน้ำใหม่ หากน้ำไม่เพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนท่ายออก
6. หว่านโรยมูลสัตว์ เพื่อให้เกิดอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืช และไรน้ำ สำหรับระยะที่ปล่อยปลาขนาดเล็ก
7. พื้นที่คันบ่อโดยรอบ ควรปลูกต้นไม้ไว้เป็นร่มเงาแก่ปลา ทั้งนี้ ควรเลือกปลูกไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งด้านสมุนไพร ผลไม้ เครื่องเทศ รวมถึงการให้เนื้อไม้

การเตรียม และปล่อยพันธุ์ปลา
การเตรียมพันธุ์ปลา สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ชนิดปลา อัตราการเลี้ยงที่เหมาะสมกับบ่อเลี้ยง
1. ชนิดปลาที่จะเลี้ยง ควรพิจารณาที่ความเข้าใจ และความชำนาญของผู้เลี้ยงเป็นสำคัญ รวมถึง การตลาด และราคาปลา

2. อัตราการปล่อยที่เหมาะสมกับบ่อเลี้ยง พิจารณาระดับการเลี้ยงแบบเข้มข้นน้อย ปานกลาง และสูงซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น คุณภาพน้ำ อาหาร การจัดการ และเงินทุน

3. ลักษณะการกินอาหารปลา
– ประเภทกินพืช หมายถึงปลาที่กินพืชเป็นอาหารเป็นหลัก ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาจีน ปลาประเภทนี้ชอบกินรำข้าว ปลายข้าว เศษพืชผัก หญ้า และเศษอาหารในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังอาจแบ่งปลากินพืชออกย่อยเป็นปลากินตะไคร่น้ำ สาหร่ายหรือพืชสีเขียว ในน้ำ ได้แก่ ปลายี่สกเทศ ปลาสลิด ปลาจีน เป็นต้น
– ประเภทกินเนื้อ หมายถึง ปลาที่กินเนื้อเป็นอาหารเป็นหลัก ได้แก่ ปลาบู่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาประเภทนี้ชอบกินเศษปลาบดผสมกับรำเป็นอาหาร รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็ก
– ประเภทกินได้ทั้งพืช และเนื้อ หมายถึง ปลาที่กินทั้งพืช และเนื้อเป็นอาหารหลัก ได้แก่ ปลาสวาย ปลายี่สก

การปล่อยพันธุ์ปลา ควรปล่อยในตอนเช้าหรือตอนเย็น โดยนำถุงพันธุ์ปลาวางในบ่อประมาณ 30 นาที ก่อนปล่อยให้นำน้ำจากบ่อไหลเข้าในถุงพันธุ์ปลาก่อน ก่อนที่จะปล่อยปลาออกลงบ่อ

อาหาร และการให้อาหาร
การเลี้ยงปลาเพื่อจำหน่าย โดยทั่วไปนิยมใช้อาหารสำเร็จรูป เพราะจะทำให้ผลผลิตสูง การให้อาหารปลาต้องคำนึงถึงชนิดปลา ว่าเป็นปลากินพืชหรือปลากินเนื้อ ส่วนอาหารที่ให้ ต้องคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อปลา และใช้ปริมาณเท่าใด

การจัดการคุณภาพน้ำ
1. ด้านกายภาพ
– อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิของน้ำจะอยู่ที่ประมาณ 25 – 32 องศาเซลเซียส อุณหภูมิในตัวปลาต่ำกว่าอุณหภูมิน้ำประมาณ 0.5 ถึง 1 องศาเซลเซียส การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เพราะปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิให้คงที่เหมือนสัตว์เลือดอุ่นได้หากอุณหภูมิเปลี่ยนสูงขึ้นมากปลามักขาดออกซิเจน และตายได้ง่าย

– ความขุ่น (Turbidity) ความขุ่นของน้ำจะเกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ เช่น อนุภาคดินทรายแพลงก์ตอน แบคทีเรีย แร่ธาตุ ทำหให้ปริมาณแสงที่ส่องลงไปในน้ำลดลง หน่วยวัดความขุ่น คือ FTU (Formazin turbidity unit) หรือ JTU (Jackson turbidity unit) ความขุ่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาไม่ควรเกิน 50 FTU

– การนำไฟฟ้า (Conductivity) คือ ความสามารถในการเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าของน้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นขของสารประกอบอนินทรีย์ที่ละลายในน้ำ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส จะทำให้ค่าการนำไฟฟ้าเเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาประมาณ 1,500 ไมโครโมห์/เซนติเมตร

– สี (Color) เป็นตัวบ่งชี้ชนิดของสิ่งมีชีวิตหรือสารที่อยู่ในน้ำ ได้แก่

สีที่บ่งบอกชนิดแพลงก์ตอนในน้ำ เช่น น้ำสีเหลืองหรือน้ำตาล เป็นกลุ่มไดอะตอม (Diatom) น้ำสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue green algae) น้ำสีเขียว เป็นสาหร่ายสีเขียว น้ำสีน้ำตาลแดง เป็นไดโนแฟกเจลเลท (Dinoflagellate) หรือกลุ่มไพโรไฟตา (Pyrophyta) ส่วนสีที่บ่งบอกสารแขวนลอยในน้ำ เช่น น้ำที่มีสีเหลืองหรือสีแดงมักเป็นน้ำจากดิน น้ำที่มีสีฟ้าใสมักมีแคลเซียมหรือแมกนีเซียมมาก

2. ด้านเคมี
– ความเป็นกรดด่าง (pH) สำหรับค่าความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลา ควรมีค่าประมาณ 7 น้ำที่มี pH สูง จะเกิดพิษของแอมโมเนียต่อปลา

– ความกระด้าง (Hardness) ความเข้มข้นของแคลเซียม และแมกนีเซียมที่ละลายในน้ำ เป็นตัวช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำ

– ความเป็นด่าง (Alkalinity) ส่วนใหญ่เป็นไอออนของคาร์บอเนต ไบคาร์บอเนต และไฮดอกไซด์ แหล่งน้ำธรรมชาติมีค่าความเป็นด่างประมาณ 25 – 400 มิลิกรัม/ลิตร ค่าที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาประมาณ 100 – 120 มิลลิกรัม/ลิตร

– คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbondioxide) ถ้าอยู่ในรูปคาร์บอนไดออกไซด์อิสระ ไบคาร์บอเนต และคาร์บอเนต จะช่วยให้ pH ของน้ำเปลี่ยนแปลงได้ช้าลง

– ปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved oxygen หรือ DO) คือ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ DO สำหรับการเลี้ยงปลาควรมีค่ามากกว่า 5 มิลิกรัม/ลิตร และไม่ควรต่ำกว่า 3มิลิกรัม/ลิตร

– ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulphide) หรือเรียกว่า ก๊าซไข่เน่า ที่เกิดจากการหมักหมม และการเน่าสลายของสารอินทรีย์ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ค่านี้ไม่ควรเกิน 0.002 พีพีเอ็ม การแก้พิษจะใช้เกลือแกง 300 – 400 กิโลกรัม/ไร่ หรือปูนขาว 30 กรัม/ลูกบาศก์เมตร

– ความเค็ม (Salinity) น้ำจืดมีค่าความเค็ม 0 – 3 พีพีเอ็ม น้ำกร่อย 15 – 25 พีพีเอ็ม และน้ำเค็ม มากกว่า 30 พีพีเอ็มขึ้นไป ดังนั้น การเลี้ยงปลาน้ำจืดหรือน้ำกร่อยควรพิจารณาค่าความเค็มร่วมด้วย

– สารประกอบไนโตรเจน ได้แก่ แอมโมเนีย ไนไตร ไนเตรท น้ำในบ่อปลาควรมีรค่าแอมโมเนียไม่เกิน 0.02 พีพีเอ็ม

– ฟอสฟอรัส (Phosphorus) มีความสำคัญในการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช มาตรฐานกำหนดไว้ไม่ควรเกิน 0.3 มิลลิกรัม/ลิตร หากมีค่ามากจะทำให้เกิดปรากฎการยูโทรฟิเคชั่น

โรคสัตว์น้ำ
โรคที่เกิดกับปลาที่สำคัญ และพบบ่อย ได้แก่ โรคท้องบวม โรคที่เกิดจากพาราสิตภายนอก เช่น เห็บปลา เหาปลา และโรคที่เกิดจากพยาธิ เช่น ปลิงใส เห็บ โรคจุดขาว

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
วิธีการเก็บปลามีหลายวิธี เช่น การดูดน้ำหรือปล่อยน้ำออกบ่อ การใช้อวนล้อมจับ การใช้แห (ปลาบ่อ) การใช้สวิง (ปลากระชัง)

ข้อพึงระวัง ->

ทำแบบพอประมาณ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา