ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำขวัญนาค

โดย : นายณรงค์ ช่างหิรัญ วันที่ : 2017-04-11-11:43:04

ที่อยู่ : 182 หมู่ที่ 9 ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          นายณรงค์  ช่างหิรัญ เป็นคนตำบลหนองอ้อ ได้เรียนรู้การทำขวัญนาคมาตั้งแต่เด็ก จึงมีความสนใจอยากที่จะเรียนรู้ จึงได้ฝึกฝนการทำขวัญนาคจากผู้ที่มีความรู้ในหมู่บ้านประกอบกับตนเองมีความตั้งใจและชอบที่จะทำขวัญนาคจึงได้ทำขวัญนาคจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบในพิธีทำขวัญนาค ได้แก่           

1. บายศรี 5-7 ชั้น  ไม้ไผ่ผ่า 3 ซีก สำหรับขนาบบายศรี           

2. ใบตอง (ตัดทั้งก้าน)  3 ก้าน  สำหรับหุ้มบายศรี          

3. ผ้าแพร หรือผ้าสี หุ้มบายศรี  1 ผืน         

4. เทียนเวียน  9 เล่ม เทียนทำพิธี 2-3  เล่ม           

5. ขันน้ำมนต์ 1 ขัน  ขันใส่ข้าวสาร 1 ขัน ใบพลู  7 ใบ             

6. เครื่องกระยาบวช (ขนมต้มแดง ต้มขาว ข้าวปากหม้อ ไข่ต้ม)ใสถ้วยที่มีบายศรีปากชาม  1 สำรับ         

7. มะพร้าวอ่อน  1 ผล   แป้งหอม น้ำหอมเจิมหน้านาค         

8. พานกำนล ประกอบด้วย พานดอกไม้ หมาก 5 คำ ยาสูบ (บุหรี่)  เหล้าขาว 1 ขวด เงิน 12 บาท

      9. ธูป 3 ดอก หรือ 5-7 ดอกก็ได้

ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีทำขวัญนาค จะต้องสวมชุดขาว และทำจิตใจให้สบาย ตั้งใจให้แน่วแน่แล้ว เริ่มทำน้ำมนต์ โดยจุดเทียนไว้ที่ขันน้ำมนต์ ว่าบท สักเค ไปจนจบบทสวด อิติปิโส แล้วหยดเทียนลงในขันน้ำ แล้วนำใบพลูทั้ง 7 ใบมาลงคาถา “พุทธะสังมิ” ลอยลงไปในขันน้ำมนต์ ต่อไปนำสำรับขนมต้มแดง ต้มขาว ข้าวปากหม้อ ไข่ (อาจมีหมูนอนตอง 1 ชิ้น และกล้วยน้ำว้า 1 หวี) ด้วยก็ได้ เทเหล้าใส่แก้ว เปิดซองบุหรี่วางในพาน      จุดเทียนธูป บอกเส้นสังเวยครู ว่าคาถา นะโม นมัสการ ไปจนจบบทคาถา รอสักครู่เมื่อสมควรแก่เวลา จึงกล่าวคำลาเครื่องสังเวยครู ด้วยคาถาบท เสสัง มังคะลัง ยาจามิ แล้วหยิบขนมต้มแดง ต้มขาวข้าวปากหม้อใส่บายศรี ส่วนไข่ต้มใส่ไว้ที่ยอดบายศรี และวางเทียนชัยเอาไว้ที่บนยอดบายศรี 1 เล่ม  เอาไม้ 3 ซีกขนาบบายศรีไม่ให้เซนำใบตองมาหุ้มบายศรีมัดด้วยด้ายสายศีลติดกับไม้ขนาบ และหุ้มด้วยผ้าสีอ้อมด้วยมือซ้ายรับด้วยมือขวา (พันเวียนขวา) เอาพวงเงินพวงทองมาคล้องบายศรี  นำเอาแว่นเวียนเทียนมาติดเทียนแว่นละ 3 เล่ม ปักไว้ในขัน

ข้าวสาร นำเอาแป้งหอม น้ำหอมมาเสกว่าคาถา นะเมตตา แล้วเข่าสู่พิธีการทำขวัญนาค ตามขั้นตอน ได้แก่ ว่าบทไหว้ครู บทคาถาสักเค ชุมนุมเทวดา เข้าสูบทที่ 1 เคารพคุณ (ทำนองธรรมวัตร) บทที่ 2 ปฏิสนธิ กำเนิดคน ว่าได้หลายทำนอง รวมทั้งบทร้องแทรก  บทที่ 3 นามนาค ที่มาของคำว่านาค  บทที่ 4 สอนนาค  ว่าเป็นทำนองแหล่เตือนใจนาค  บทที่ 5 เรียกขวัญนาค เมื่อจบแต่ละบทจะตามด้วยการลั่นฆ้องและโห่รับ 3 ลา ทุกตอน จนถึงพิธีการเวียนเทียนเปิดบายศรี อันเป็นตอนสำคัญของการทำขวัญนาค โดยให้บิดา มารดาของเจ้านาค มานั่งทางด้านซ้ายมือของหมอขวัญ จุดเทียนชัย แล้วร้องส่งด้วยทำนอง นางนาค จุดเทียนแว่นที่ 1 ว่าบท ชะยันโต กระทุ่มเทียน 3 ครั้ง ส่งต่อให้บิดา มารดาเวียน จนครบ 3 แว่น และเวียนขวาจนครบ 3 รอบ แกะผ้าหุ้มบายศรีมาห่อใบตองมอบให้นาคถือไว้ นำมะพร้าวอ่อนมาเวียนรอบบายศรี และใส่เครื่องกระยาบวชลงไป ตักน้ำมะพร้าวให้นาคดื่ม 3 ครั้ง เมื่อเวียนเทียนครบ 3 รอบ ให้พรมน้ำมนต์ แล้วรวมเทียนทั้ง 3 แว่นเป่าควันเทียนใส่หน้านาค 3 ครั้ง (ให้นาคอ้าปากรับควันเทียน) จบแล้วเอาเทียนชัยมาเจิมหน้านาค ว่า คาถา และเขียนยันต์ มะ อะ อุ ไว้ที่หน้าผาก  เรียกบิดา มารดามารับบายศรีจากนาค ให้นาคกราบ 3 ครั้ง แล้วรับบายศรีกลับคืน นำเอาไปเก็บไว้ในที่อันสมควร ดนตรีเชิด  

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา