ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ช่างไม้

โดย : นายชลิต เอี่ยมสอาด วันที่ : 2017-04-18-15:01:09

ที่อยู่ : 98 หมู่ 2 ตำบลท่าชัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 อาชีพช่างไม้เป็นอาชีพที่สามารถหางานทำได้ไม่ยาก เนื่องจากในงานก่อสร้างและการทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆก็มีความต้องการช่างไม้ที่มีฝีมือดีอยู่เสมอ ซึ่งในการทำอาชีพช่างไม้นั้น ผู้ประกอบอาชีพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการทำงานไม้ สามารถอ่านแบบได้ และมีความขยัน อดทนและเอาใจใส่ชิ้นงานไม้ทุกชิ้น เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด นอกจากนี้แล้วช่างไม้ยังต้องรู้จักเลือกสรรเครื่องมือที่ใช้ทำงานไม้ที่เหมาะสม และดูแลเครื่องมือในการทำงานอย่างถูกวิธีเพราะเครื่องมือนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของช่างไม้ เครื่องมือของช่างไม้โดยทั่วไป สามารถแบ่งออกได้เป็นสามชนิด คือ เครื่องมือช่างไม้ประเภททั่วไป เช่น เครื่องมือวัดขนาดและกำหนดตำแหน่ง ฉาก ตลับเมตร ดินสอ ขอขีด เป็นต้น,กลุ่มเครื่องมือช่างไม้ที่ใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องมือกล เช่น เครื่องทริมเมอร์,เครื่อง router ที่ใช้ในการตีบัว ทำลวดลาย,เครื่องเลื่อยวงเดือน ที่ใช้ในการตัดไม้ ซอยไม้ เป็นต้น เครื่องมือช่างไม้อีกชนิดหนึ่งคือ เครื่องมือที่ใช้ลม เช่น ปั๊มลม,ปืนลมที่ใช้ในการยิงตะปูหรือลวดลงไปบนชิ้นงาน,กาพ่นสี,สว่านลม

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้มีข้อมูลอาชีพที่สร้างรายได้และตรงกับความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ไม้ หรือเศษไม้

2.เครื่องมือ

อุปกรณ์ ->

1.      ตลับเมตร  ใช้สำหรับวัดหรือกะส่วน  มีความยาว    23 เมตร  บนเทปมีมาตราวัดทั้งระบบอังกฤษและระบบเมตริก

การบำรุงรักษา

1.      ไม่ควรดึงตลับเมตรเล่นหรือทำตกจากโต๊ะฝึกงาน

2.      ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้ว

3.      ตรวจดูสภาพของตลับเมตรก่อนหรือใช้งานทุกครั้ง

2.    ฉากตาย  ใช้สำหรับหาเส้นฉากและทำมุม   45  องศา

การบำรุงรักษา

1.      ทำความสะอาดแล้วเช็ดด้วยน้ำมันกันสนิมก่อนเก็บทุกครั้ง

2.      ไม่ควรนำฉากไปใช้ที่ไม่เหมาะสมกับงาน

3.      ระวังไม่ให้ฉากตกจากโต๊ะทำงาน

3.    ฉากเป็น   ใช้บอกหรือวัดมุมต่างๆ  ที่ไม่ใช่มุม  45  หรือ  90 องศาประกอบด้วยด้ามและใบบริเวณที่ต่อกัน  ส่วนใบจะมีร่อง  วิธีใช้จับด้ามให้สนิทกับงานต้านที่เรียบจะใช้มากช่วยรับใบให้สนิทกับงานอีกด้านหนึ่งของมุมที่จะวัด  และนำไปเทียบองศาก็จะบอกมุมได้ตามต้องการ

 การบำรุงรักษา   หลังใช้งานเสร็จแล้วต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆ บนส่วนที่เป็นโลหะ

4.   ฉากใหญ่  ใช้วัดขีดมุมฉาก  ตรวจฉากของการเข้าไม้ฉากเป็นเหล็กชิ้นเดียวกัน  ทำมุม  90  องศา  ขนาดหนา  1/8  นิ้วเท่ากันตลอด  ความยาวอาจเป็น   16  X   24  หรือ  18 X  24

         วิธีใช้  -    ใช้วัดขีดมุมฉาก  ให้วางฉากลงบนไม้  โดยให้ขอบแนบสนิทกับผิวไม้ด้านเรียบ  แล้วจึงขีดเส้นฉากตามต้องการบนอีกด้านหนึ่ง

                  -    ใช้ตรวจฉากของการเข้าไม้  โดยจับให้ฉากเข้ากับบริเวณที่เข้าไม้  ถ้าขนกับแนบชนิดแสดงว่า   การเข้าไม้ได้ฉากตามต้องการ  งานที่มักจะใช้ฉากใหญ่  คือ  งานชิ้นใหญ่   เช่น  ตู้  ฯลฯ

การบำรุงรักษา  หลังจากใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆ

            5.   ฉากรวม   เป็นฉากที่ใช้ตรวจมุมฉาก  และมุม  45 องศา  อาจมีระดับน้ำหรือเหล็กขีดเพื่อให้ใช้งานได้กว้างขวางขึ้น    ฉากประกอบ ด้วย ส่วนหัวและใบ   ซึ่งถอดแยกกันได้  ส่วนหัวสามารถวิ่งไปบนร่องของใบได้ด้วย

             วิธีใช้  เนื่องจากช่วงระหว่างใบกับหัวจะเป็นมุม  90 องศา  และ  45  องศา  จึงสามารถใช้ฉากรวมนี้วัดมุมได้  ทั้งมุม  90 องศา  และ  45  องศานอกจากนี้ส่วนหัวเมื่อถอดออกจากใบแล้ว  สามารถวัดฉากของการเข้าไม่ได้อีกด้วย

    การบำรุงรักษา    หลังจากใช้งานต้องทำความสะอาดและใช้ชโลมน้ำมันบางๆ บนส่วนที่เป็นโลหะ

            6.   ขอขีดไม้   ใช้ขีดทำแนวเพื่อการเลื่อย  ผ่า หรือทำรูเดือย ประกอบด้วยส่วนหัวและแขนยึดกันแน่นด้วยสลักหรือลิ่ม  ปลายของแขนข้างหนึ่งจะมีเข็มปลายแหลม

               วิธีใช้  คลายสลักหรือลิ่มออกแล้ววัดระยะห่างจากปลายเข็มกับด้ามของหัวที่อยู่ทางปลายเข็มให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วล็อกให้แน่น จับขอขีดด้ามที่มีเข็มให้แนบสนิทกับไม้และกดดันไปข้างหน้าโดยให้ปลายเข็มขีดผิวไม้ตลอดเวลา
การบำรุงรักษา  หลังใช้งานควรทำความสะอาดชโลมน้ำมันส่วนที่เป็นโลหะแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำโต๊ะงานไม้ มีขั้นตอนที่ค่อนข้างต้องใช้เวลา แต่ก็พอจะแบ่งได้เป็นกลุ่มง่าย3กลุ่มคือ

ขนาดโต๊ะ    :    กว้าง 70 ซม. ยาว 150 ซม. สูง 80 ซม.

ประเภทไม้  :    ไม้ยางพารา

1 แผงขา - 2แผง

2 ยันขา - 2ตัว

3 หน้าโต๊ะ - 1ชุด

การทำชุดแผงขา

      นำขาทั้ง4ขามาทำเดือย โดยใช้เครื่องเลื่อย หรือใช้สิ่วและเลื่อยก็สามารถทำเดือยได้เช่นเดียวกันขึ้นอยู่กับว่ามีเครื่องมือใด เจาะรู12มม ที่ขาเพื่อร้อยน็อตยึดยันขาเข้ากับแผงขา(ทำรอไว้ก่อน)และบากร่องเพื่อเป็นบ่ารับยันขาเอาไว้ก่อนเลย นำขาล่างมาแต่งโค้งตามรูปทรงด้วยเครื่องขัดกระดาษทราย จากนั้นก็มาทำร่องเดือยด้วยสิ่วหรือเครื่องเจาะเหลี่ยม หรือเร้าเตอร์ก็ทำได้เช่นกัน ก็จะได้ชิ้นส่วนครบและพร้อมเพื่อประกอบ

 ทดลองประกอบแบบยังไม่ต้องใส่กาวเพื่อตรวจเช็คว่ามีปัญหาใดบ้าง เพื่อสามารถแก้ไขได้ทัน

   เมื่อได้เดือยและทำร่องเดือยแล้วก็นำมาประกอบเข้าด้วยกัน(ควรทดลองสวมดูก่อน) การทากาวทาให้ทั่ว และไม่มากจนเลอะเทอะใช้กาวลาเท็กซ์หรือกาวผงก็ตามสะดวกประกอบเข้าด้วยกันด้วยแม่แรง วัดเส้นทแยงมุมจับฉาก และเช็ดกาวออกทันทีด้วยผ้าชุบน้ำแห้งหมาดมั่นใจว่าได้ฉาก ก่อนตอกสลักเดือยจากนั้นเป็นการยึดเดือยให้แข็งแรงโดยการเจาะเพื่อตอกสลักเดือยป้องกันเดือยหลุดหรือโยก  ตอกสลักเดือยเส้นผ่าศูนย์กลาง 10มม ทะลุผ่านและตัดออกด้วยเลื่อยลอจะได้แผงขาที่ประกอบแล้ว 2 แผง

การทำชุดหน้าโต๊ะ

   เตรียมกรอบ พนังยาว-สั้น และทำการยึดเข้าด้วยกันด้วยเกลียวปล่อย 1 1/2นิ้ว #8 ทากาวลาเท็กซ์ และเช็ดกาวออกด้วยผ้าชุบน้ำหมาดทั้งนี้ต้องเช็คขนาดหน้าโต๊ะก่อนที่จะประกอบจริง เจาะดอกผ่านเพื่อยึดคานเข้ากับหน้าโต๊ะ พร้อมกับผายปากด้วยสว่าน 10มม (เพื่อให้หัวเกลียวปล่อยฝังเข้ายังด้านใน)ทาด้วยกาวลาเท็กซ์และทำการยึดเข้ากับหน้าโต๊ะ ดลอดแนวไสปรับขอบโต๊ะด้วยกบผิว แล้วขัดแต่งให้เสมอด้วยเครื่องขัดกระดาษทราย #60

 การติดปากกาไม้

    เตรียมก้อนปากกาที่ต้องเพลาะไม้ให้หนา 5-6 ซม และชุดปากกาเหล็กเตรียมเจาะเหล็กประคอง (บางที่ใช้ตัวประคองไม้)โดยใช้ดอกใบพายให้มีระยะหลวมเล็กน้อย(อย่าให้คับเกินไป)ตอกเหล็กประคองเข้ากับก้อนปากกา(สวมอัด)ส่วนที่เห็นเป็นรูนั่นคือรูที่ใส่ปากกาเหล็กยึดปากกาโดยไขตะปูเกลียวที่เหล็กประกับ เข้ากับก้อนปากกาไม้นำชุดก้อนปากกาประกอบกับชุดประคองปากกาเหล็ก ทดลองหมุนดูก่อนนำมาประกอบกับชุดหน้าโต๊ะทดสอบการทำใช้ปากกา เช่นการไสกบก็จะได้โต๊ะทำงานไม้ หรือโต๊ะเอนกประสงค์ที่มีความแข็งแรงมาก ส่วนสีก็เลือกทำกันตามใจชอบ สีธรรมชาติ สีย้อม หรือลงน้ำมันรักษาเนื้อไม้ ก็ตามใจชอบ

ข้อพึงระวัง ->

  เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และเข้าใจกฎความปลอดภัยของเครื่องมือและเครื่องจักรที่ซื้อมา ตลอดจนเรียนรู้คำเตือนจากป้ายสัญญาณ เช่น ป้ายหยุดดังรูปที่ 2.4

2.   เครื่องตัดไม้ที่คมจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายและดี ส่วนใบมีดที่ไม่คมจะทำให้ลื่นและอาจพลาดไปถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้

3.      ไม่ควรทดสอบความคมของเครื่องมือด้วยอวัยวะของร่างกาย แต่ควรใช้ไม้หรือกระดานแทน

4.      นิ้วมือควรจะให้ห่างจากคมมีดของเครื่องมือ และใช้ไม้หรือวัสดุอื่นตัด ดังรูป 2.5

5.      ต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อใช้นิ้วหรือมือในการสตาร์ตเครื่องจักร

6.   ต้องมั่นใจว่าเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในสภาพดี ควรตรวจสอบความเรียบร้อยว่าไม่แตกหักหรือหลวม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

7.   ต้องไม่ใช้เครื่องมือผิดวิธี เช่น ไม่ควรใช้สิ่วเปิดกล่องไม้หรือกระป๋อง ต้องใช้เครื่องมือให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายเฉพาะอย่าง

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา