ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงปลาดุก

โดย : นางเกษร ถิ่นที่ วันที่ : 2017-03-22-16:26:01

ที่อยู่ : 5 ม.12 ต.กกแรต

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม จึงความคิดริเริ่มในการรวมกลุ่มเลี้ยงปลาดุก เพื่อเสริมรายได้ให้กับครัวเรือนและสามารถสร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชน ทำให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาความยากจน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมวิถีการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

1  เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน

2  เพื่อสร้างการทำงานในรูปแบบกลุ่ม เพื่อส่งเสริมความสามัคคี การแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง พร้อมกับเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านอย่างถาวร และยั่งยืน

3   เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ทำให้หมู่บ้านมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

4   เพื่อเป็นการส่งเสริมวิถีการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.พันธ์ปลาดุก

2.อาหาร

3.บ่อดิน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
2. ใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 – 100 กก./ไร่
3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรมชาติสำหรับลูกปลาในอัตราประมาณ 40 – 80 กก./ไร่
4. นำน้ำในบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนมีระดับน้ำลึก 30 – 40 ซม. หลังจากนั้นรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลา และเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลา หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาพปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่า ๆ กันก่อนโดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า

ข้อพึงระวัง ->

โรคของปลาดุกเลี้ยง
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. อาการ ติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือดมีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิกกกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลง หรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลาจะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินซี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อดิน ไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อยหนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัวอนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินในการเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา
5. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา