ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงปลาหมอชุมพร

โดย : นายนิธิกร รอดมา วันที่ : 2017-03-20-17:07:44

ที่อยู่ : 14 ม.6 ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีอาชีพสเสริมนอกภาคการเกษตร

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ลักษณะดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทราย หรือ ดินปนกรวด

2. ลักษณะน้ำ พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัย น้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย

3. แหล่งพันธุ์ปลา เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งพันธุ์ปลา

4. ตลาด แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิต เพื่อการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด สามารถนำมาใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยได้

การเตรียมบ่อเลี้ยง

การเตรียมบ่อเลี้ยงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อหลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะ ที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินกำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็น อุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลาการตากบ่อ การตากบ่อจะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรู ปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์สูบน้ำเข้าบ่อ สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้อง ใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย โดยเฉพาะ ในช่วงที่ฝนตกการปล่อยปลาลงเลี้ยงการปล่อยปลาปลาหมอไทยลงเลี้ยงทำได้ 2 วิธี คือ

- การปล่อยปลานิ้ว ปล่อยปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงบ่อในช่วงเช้า หรือเย็นระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร โดยก่อนปล่อยลูกปลาออกจากถุงที่บรรจุ ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อ ป้องกันปลาตายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระทันหัน ทำได้โดยการแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 20 นาที แล้วเปิดปากถุงวักน้ำในบ่อเลี้ยงผสมกับน้ำในถุง แล้วค่อยๆ เทลูกปลาออกจากถุงหลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ 1-1.50 เมตร

- การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ทำโดย การคัดเลือกพ่อแม่ พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูมเมื่อใช้มือบีบเบาๆ จะมีไข่สีเหลืองออกมา ส่วนตัวผู้เมื่อใช้มือบีบที่ท้อง จะมีน้ำเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนมออกมา เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราความเข้มข้น ฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม จำนวน 1ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้ผสมพันธุ์วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวรอยู่ในบ่อที่ระดับน้ำไม่ น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ในอัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผุ้เท่ากับ 1:1 ปริมาณน้ำหนักพ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่/ไร่วันรุ่งขึ้นเมื่อ ปลาวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้นปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผงหรือ อาหารพวกรำละเอียดผสมปลาป่น อัรา1:1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดปลาดุกใหญ่เมื่อปลามีขนาดใหญ่จนได้ขนาดตลาดอย่างไรก็ตาม สามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีน้ำเชื้อและไข่สมบูรณ์ลงในบ่อที่เตรียมไว้แล้วได้เช่นกัน โดยให้มีระดับน้ำในบ่อ 30-50 เซนติดมตร พร้อมทั้งใช้ทางมะพร้าวปักคลุมทำเป็นที่หลบซ่อนและอนุบาลลูกปลาวัยอ่อย

อาหารและการให้อาหาร

ปลาหมอไทยเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ในอัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการเลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็นเวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อ ปลามีขนาดใหญ่ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลาด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้ น้อยลง เพราะอาจทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียอีกด้วย

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ

ถึงแม้ว่าปลาหมอเป็นปลาที่มีความอดทนทนทาน และสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำที่มีคุณภาพต่ำกว่าปกติก็ตาม แต่ก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพราะการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้นส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกครั้งต้องแน่ใจว่าคุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ ไม่แตกต่างจากคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก และสะอาดเพียงพอที่จะไม่ทำให้ปลาในบ่อเป็นโรคได้ ในช่วงเดือนแรกไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่ม ระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้วจึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้งโดยเปลี่ยนถายน้ำครั้งละ 1ใน3 ของน้ำในบ่อหรือขึ้นอยุ่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อ ด้วย

ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ

ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดย ทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้าน หนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้นใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้งเพื่อเตรียม บ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป ทั้งนี้ การเลี้ยงปลาหมอไทยในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มีการเจริญเติบโตและผลผลิต

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุโขทัย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา