ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก

โดย : นางมนรัตน์ ระหาร วันที่ : 2017-03-16-16:50:10

ที่อยู่ : 136 ม.7 ต.อาโพน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นางมนรัตน์ ระหาร ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีการทำเกษตรผสมผสาน และการเลี้ยงปลาดุกใสบ่อพลาสติกก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นกิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1.   เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2.   เพื่อเป็นการเสริมรายได้ ลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. หัวอาหารปลา

2. หญ้าเนเปียร์สับหมัก

อุปกรณ์ ->

- บ่อพลาสติก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เลือกพันธุ์ปลาดุกที่จะนำมาเลี้ยง ปลาดุกที่เลี้ยงใช้ พันธุ์บิ๊กอุย ขนาดยาว 5 – 7 ซม. จำนวน 1,000 – 2,0000 ตัว เลี้ยงประมาณ 2 – 3 เดือน ก็สามารถจับบริโภคได้
               การนำปลาดุกมาเลี้ยง

                1. ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
                2. อัตราการเลี้ยง ปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร
                3. การปล่อยปลา แช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลง การปรับสภาพน้ำในบ่อปลา
               การเตรียมน้ำ
                น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแหล่งน้ำลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้ น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3 วัน ก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้

               การปรับสภาพน้ำ
   เปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม และแร่แม๊กนีเซียม จำนวน 3 กิโลกรัม

ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการเน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้
                การให้อาหารปลา
                  - เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก
                  - อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้
                  - ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน
                  - ให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า - เย็น
                การถ่ายเทน้ำ
                 - ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย
                 - ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3
                 - เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
                - น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้

ข้อพึงระวัง ->

1. ราคาขึ้นอยู่กับกลไกการตลาด

2. ปริมาณการเลี้ยงที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา