ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สานสุ่มไก่

โดย : นายทองดี สมศรี วันที่ : 2017-03-15-22:00:41

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๔๘ หมู่ ๑๓ . ซอย - ถนน - ตำบล โนน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คุณพ่อทองดี  สมศรี ได้รับการสืบทอดวิธีการสานสุ่มไก่ยาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ เดิมผลิตเพียงแค่ใช้เองในครัวเรือนและในชุมชนเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการกักขังไก่ แต่ด้วยฝีมือที่ประณีต สุ่มไก่ที่มีความคงทนสวยงาม ทำให้เริ่มมีคนจากต่างหมู่บ้านมาขอซื้อเพื่อไปใช้งาน และเริ่มมีกลุ่มพ่อค้ามารับซื้อเพื่อไปจำหน่าย จนผลิตไม่ทัน จึงได้มีการสืบทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและคนในหมู่บ้านได้ช่วยกันสานสุ่มเพื่อให้ทันตามความต้องการของตลาด จนในปัจจุบันอาชีพสานสุ่มไก่ ได้เป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ้

 

อุปกรณ์ ->

มีด

มีดจักตอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นที่ 1 หาไม้ไผ่ขนาดพอดีไม่แก่หรืออ่อนเกินไป

ขั้นที่ 2 ผ่าลำไผ่ออกเป็นเส้นๆ

ขั้นที่ 3 เหลาตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน ความกว้างของตอก แต่ละแบบโดยประมาณ ตอกยืน 1.3-1.7 เซนติเมตร ตอกยาว 0.8 เซนติเมตรและ ตอกไผ่ตีน 1.6-2.0 เซนติเมตร

ขั้นที่ 4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูปหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่มขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป

ขั้นที่ 5 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูปใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

ขั้นที่ 6 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น

ขั้นที่ 7 การเลื่อยตัดปลายตอกยืนตีนสุ่มไก่ที่ยื่นยาวทิ้งไป

ขั้นที่ 8 ได้สุ่มไก่ที่เสร็จสมบรูณ์

ข้อพึงระวัง ->

- การเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนการผลิต หากสานผิดต้องรีบดำเนินการแก้ไขทันที ไม่ปล่อยให้ผ่านไป

- การเลือกวัสดุในการสาน เลือกไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา