ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นางมาลัย นามสกุล กุลรัมย์ วันที่ : 2017-09-22-16:00:54

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 272 หมู่ที่ 2 ตา บลส าโรง อ าเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของ พื้นที่ จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผล ต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และยังมีกรรมวิธีการทอที่ สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความช านาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่ ผ้าไหม ที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า และสามารถใช้เป็นอาชีพในการเลี้ยงดูครอบครัวได้มาโดยตลอด 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 ขั้นตอนการเลี้ยงไหม  วงจรชีวิตของไหมหรือหนอนไหมใช้เวลาประมาณ 45 – 52 วัน เส้นใยของหนอนเกิดจากการขับ ของเหลวชนิดหนึ่ง มีสารโปร่งแสงเป็นองค์ประกอบใยไหมที่เห็นแต่ละเส้นจะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆสองเส้น รวมกัน สามารถฉีกแยกออกจากกันได  ้ ทั้งนี้รังไหมแต่ละรังจะให้สายไหมที่มีขนาดแตกต่างกัน ชั้นนอกสุดของ รังจะมีความละเอียดพอสมควร ชั้นกลางจะเป็นเส้นหยาบและชั้นในสุดจะเป็นเส้นไหมที่ละเอียดที่สุด ซึ่งหนอน ไหมแต่ละตัวจะชักใยยาวไม่เท่ากัน อาจสาวได้ยาวตั้งแต่ 350 – 1,200 เมตร ซึ่งผู้เลี้ยงจะคัดไหมที่สมบูรณ์ไว้ ท าพันธุ์ ส่วนที่เหลือน าไปสาวไหมก่อนที่ผีเสื้อจะเจาะรังออกมา ซึ่งเส้นจะขาดและท าเส้นไหมไม่ได้  ขั้นตอนการสาวไหม  เมื่อได้รับไหมสดจะต้องน าไปอบให้แห้ง จากนั้นน าไหมที่อบแห้งไปต้มในน้ าที่สะอาดที่มีคุณสมบัติเป็น กลาง รังไหมจะเริ่มพองตัวออก ใช้ปลายไม้เกี่ยวเส้นใยออกมารวมกันหลายๆเส้น การสาวต้องเริ่มต้นจากขุย รอบนอกและเส้นใยภายใน(ชั้นกลาง) รวมกันเรียกว่า “ไหมสาว” หรือ “ไหมเปลือก” ครั้นสาวถึงเส้นใยภายใน (ชั้นในสุด) แล้วเอารังไหมที่มีเส้นภายในแยกไปสาวต่างหาก เรียกว่า “เส้นไหมน้อย” หรือ “ไหมหนึ่ง” ผู้สาว ไหมต้องมีความช านาญและทักษะจึงจะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดี เมื่อเติมรังไหมลงไปอีกรังไหมใหม่สามารถรวม เส้นกับรังไหมเก่าได้ โดยไม่ท าให้เส้นไหมขาด แล้วน าไปตีเกลียว การตีเกลียวเส้นไหมจะช่วยท าให้ผ้าที่จะทอมี ความหนา  
 
 
 
 
 

 
 
ขั้นตอนเตรียมเส้นไหม  การเตรียมเส้นไหม จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. การเตรียมเส้นไหมพุ่ง จะเป็นการเตรียมเส้นไหมเพื่อตรียมพร้อมส าหรับการน าไปมัดหมี่โดยใช้เครื่องมือใน การการค้นล าหมี่ โดยการน าเส้นไหมที่กวักเรียบร้อยแล้ว มาท าการค้นปอยหมี่เพื่อให้ได้ล าหมี่พร้อมส าหรับการ ไปมัดหมี่ในกระบวนการต่อไป 2. การเตรียมไหมเครือ (ไหมเส้นยืน) โดยการค้นหูกหรือค้นเครือ คือ กรรมวิธีน าเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้ส าหรับ เป็นไหมเครือไปค้น (กรอ) ให้ได้ความยาวตามจ านวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ ขั้นตอนการมัดหมี่  การมัดหมี่ คือ การท าผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่างๆตามแบบหรือลายที่ได้ออกแบบไว ซึ่งปัจจุบันมี ทั้งแบบลายที่เป็นแบบลายโบราณและแบบที่เป็นลายประยุกต์ โดยการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งด้วย เชือกฟางมัดลายแล้วน าไปย้อมสี แล้วน ามามัดลายอีกแล้วย้อมสีสลับกันหลายครั้ง เพื่อให้ผ้าไหมมีลวดลายและ สีตามต้องการ เช่น ผ้าที่ออกแบบลายไว้มี 5 สี ต้องท าการมัดย้อม 5 ครั้ง เป็นต้น ขั้นตอนการย้อมสี  การย้อมสีไหมจะต้องน าไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม จะท า ให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงน าไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติ เริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ ที่หาซื้อง่ายตามร้านขายเส้นไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้ าจะ แตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูกทนต่อการซักค่อนข้างดี การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงท าให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะ ติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ การคั้นเอาน้ าจากพืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้เดือด จากนั้นน าไหมชุบน้ าให้ เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้ าย้อมสีที่เตรียมไว จากนั้นน าไปผึ่งให้แห้งจะได้เส้นไหมที่ มีสีตามต้องการ ขั้นตอนการแก้หมี่  การแก้หมี่ คือ การแก้เชือกฟางที่มัดหมี่แต่ละล าออกให้หมดหลังจาการย้อมในแต่ละครั้ง ขั้นตอนการทอผ้า  ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืน คือการทอผ้าไหมจะประกอบไปด้วยเส้นไหม 2 ชุด คือชุด แรกเป็น “เส้นไหมยืน” จะขึงไปตามความยาวผ้าอยู่ติดกับกี่ทอ(เครื่องทอ) หรือแกนม้วนด้านยืน อีกชุดหนึ่งคือ “เส้นไหมพุ่ง” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวน าเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอ สลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะท าให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน ส่วนลวดลายของผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบของผู้ทอที่ได้ ท าการมัดหมี่ไว้ 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา