ความรู้สัมมาชีพชุมชน

วิธีการมัดหมี่

โดย : นางบุญถิน งามสะอาด วันที่ : 2017-09-19-13:05:58

ที่อยู่ : เลขที่ 7 หมู่ที่ 13 ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าไหม มีหลายรูปแบบ ทั้งทอแบบพื้นเรียบและทอแบบมัดหมี่ ซึ่งการทอแบบมัดหมี่จะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป สอดรับกับความปราณีตและสวยงามบนผืนผ้าให้ดูสวยและแปลกตา ตรึงตากับผู้สวมใส่

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเพิ่มความสวยงามและหลากหลาย

2.เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เส้นไหม

2.เชือก/เชือกฟาง

อุปกรณ์ ->

โฮงหมี่ (ใช้สำหรับมัดหมี่)

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการมัดหมี่  หลังจากลอกลายตามรอยฉลุแล้ว ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึม เข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่พิมพ์มาจากคอมพิวเตอร์ทันที

1. มัดกลุ่มไหมแต่ละลูกหมี่ด้วยเชือกฟาง จนครบหลักหมี่ ทำเป็นเชิงผ้า
2. การเริ่มต้นลายมัดหมี่ อาจมัดจากด้านบนไล่เรียงลงข้างล่าง หรือมัดข้างล่างก่อนจึงไล่เรียงขึ้นข้างบน บางคนอาจเริ่มมัดจากตรงกลางก่อน จึงขยายออกไปเต็มหลักหมี่
3. เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลูกหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับกันให้แน่นเพื่อไม่ให้สีย้อมซึมเข้าข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยาวตามลายหมี่แล้ว มัดปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่นเช่นกัน โดยเหลือปลายเชือกไว้ เมื่อเวลาแก้ปอมัดจะทำได้ง่าย

4. เอาเชือกเส้นหนึ่งสอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ข้างใดข้างหนึ่ง ผูกกลุ่มเส้นไหมไว้เป็นวงไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับเวลาย้อม ถอดเส้นไหมมัดหมี่ออกจากหลักหมี่

 การมัดโอบหมี่

 การมัดโอบคือ การมัดหมี่ครั้งที่สองเพื่อเก็บสีลายจากการมัดครั้งที่หนึ่งไว้ หลังจากการมัดโอบเสร็จแล้วนำหัวหมี่มาย้อมเป็นครั้งที่ 2 เพื่อจะให้หมี่เป็นลายอีก  สีหนึ่งขั้นตอนการย้อมโอบ จะทำอยู่หลายครั้งเมื่อต้องการลวดลายหลากหลายสี ขึ้น  อยู่กับลายที่จะนำมามัดหรือสีสันที่ต้องการ  

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา