ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอผ้าไหม

โดย : นางสุวรรณี กระแสโสม วันที่ : 2017-09-22-10:21:47

ที่อยู่ : 5 หมู่ 2 ต.เพี้ยราม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม การผลิตเส้นไหมน้อย และยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชานาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่ ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า และสามารถใช้เป็นอาชีพในการเลี้ยงดูครอบครัวได้มาโดยตลอด

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการเลี้ยงไหม
วงจรชีวิตของไหมหรือหนอนไหมใช้เวลาประมาณ 45 – 52 วัน เส้นใยของหนอนเกิดจากการขับของเหลวชนิดหนึ่ง มีสารโปร่งแสงเป็นองค์ประกอบใยไหมที่เห็นแต่ละเส้นจะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆสองเส้นรวมกัน สามารถฉีกแยกออกจากกันได้ ทั้งนี้รังไหมแต่ละรังจะให้สายไหมที่มีขนาดแตกต่างกัน ชั้นนอกสุดของรังจะมีความละเอียดพอสมควร ชั้นกลางจะเป็นเส้นหยาบและชั้นในสุดจะเป็นเส้นไหมที่ละเอียดที่สุด ซึ่งหนอนไหมแต่ละตัวจะชักใยยาวไม่เท่ากัน อาจสาวได้ยาวตั้งแต่ 350 – 1,200 เมตร ซึ่งผู้เลี้ยงจะคัดไหมที่สมบูรณ์ไว้ทาพันธุ์ ส่วนที่เหลือนาไปสาวไหมก่อนที่ผีเสื้อจะเจาะรังออกมา ซึ่งเส้นจะขาดและทาเส้นไหมไม่ได้
ขั้นตอนการสาวไหม
เมื่อได้รับไหมสดจะต้องนาไปอบให้แห้ง จากนั้นนาไหมที่อบแห้งไปต้มในน้าที่สะอาดที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง รังไหมจะเริ่มพองตัวออก ใช้ปลายไม้เกี่ยวเส้นใยออกมารวมกันหลายๆเส้น การสาวต้องเริ่มต้นจากขุยรอบนอกและเส้นใยภายใน(ชั้นกลาง) รวมกันเรียกว่า “ไหมสาว” หรือ “ไหมเปลือก” ครั้นสาวถึงเส้นใยภายใน(ชั้นในสุด) แล้วเอารังไหมที่มีเส้นภายในแยกไปสาวต่างหาก เรียกว่า “เส้นไหมน้อย” หรือ “ไหมหนึ่ง” ผู้สาวไหมต้องมีความชานาญและทักษะจึงจะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดี เมื่อเติมรังไหมลงไปอีกรังไหมใหม่สามารถรวมเส้นกับรังไหมเก่าได้ โดยไม่ทาให้เส้นไหมขาด แล้วนาไปตีเกลียว การตีเกลียวเส้นไหมจะช่วยทาให้ผ้าที่จะทอมีความหนา

ขั้นตอนเตรียมเส้นไหม
การเตรียมเส้นไหม จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. การเตรียมเส้นไหมพุ่ง จะเป็นการเตรียมเส้นไหมเพื่อตรียมพร้อมสาหรับการนาไปมัดหมี่โดยใช้เครื่องมือในการการค้นลาหมี่ โดยการนาเส้นไหมที่กวักเรียบร้อยแล้ว มาทาการค้นปอยหมี่เพื่อให้ได้ลาหมี่พร้อมสาหรับการไปมัดหมี่ในกระบวนการต่อไป
2. การเตรียมไหมเครือ (ไหมเส้นยืน) โดยการค้นหูกหรือค้นเครือ คือ กรรมวิธีนาเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สาหรับเป็นไหมเครือไปค้น (กรอ) ให้ได้ความยาวตามจานวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ
ขั้นตอนการมัดหมี่
การมัดหมี่ คือ การทาผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่างๆตามแบบหรือลายที่ได้ออกแบบไว ซึ่งปัจจุบันมีทั้งแบบลายที่เป็นแบบลายโบราณและแบบที่เป็นลายประยุกต์ โดยการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งด้วยเชือกฟางมัดลายแล้วนาไปย้อมสี แล้วนามามัดลายอีกแล้วย้อมสีสลับกันหลายครั้ง เพื่อให้ผ้าไหมมีลวดลายและสีตามต้องการ เช่น ผ้าที่ออกแบบลายไว้มี 5 สี ต้องทาการมัดย้อม 5 ครั้ง เป็นต้น
ขั้นตอนการย้อมสี
การย้อมสีไหมจะต้องนาไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม จะทาให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนาไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ ที่หาซื้อง่ายตามร้านขายเส้นไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้าจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูกทนต่อการซักค่อนข้างดี การย้อมด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงทาให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ การคั้นเอาน้าจากพืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้เดือด จากนั้นนาไหมชุบน้าให้เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้าย้อมสีที่เตรียมไว จากนั้นนาไปผึ่งให้แห้งจะได้เส้นไหมที่มีสีตามต้องการ
ขั้นตอนการแก้หมี่
การแก้หมี่ คือ การแก้เชือกฟางที่มัดหมี่แต่ละลาออกให้หมดหลังจาการย้อมในแต่ละครั้ง
ขั้นตอนการทอผ้า
ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืน คือการทอผ้าไหมจะประกอบไปด้วยเส้นไหม 2 ชุด คือชุดแรกเป็น “เส้นไหมยืน” จะขึงไปตามความยาวผ้าอยู่ติดกับกี่ทอ(เครื่องทอ) หรือแกนม้วนด้านยืน อีกชุดหนึ่งคือ “เส้นไหมพุ่ง” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนาเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะทาให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน ส่วนลวดลายของผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบของผู้ทอที่ได้ทาการมัดหมี่ไว้

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา