ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงเป็ดไข่

โดย : นางสุวรรณี หมายกลิ่่น วันที่ : 2017-08-29-10:49:34

ที่อยู่ : บ้านเลขที่165 บ.โนนเจริญ ม.5 ต.ทับทัน อ.สังขะ จ.สุรินทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

   ไข่เป็ด” เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง และนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี แต่ในปัจจุบัน ไข่เป็ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค เพราะเป็ดไข่เลี้ยงค่อนข้างยาก หากเป็ดเกิดอาการตกใจหรือดูแลไม่ดีพอก็จะไม่ยอมไข่ แต่สามารถเลี้ยงเป็ดไข่เป็นอาชีพเสริมร่วมกับอาชีพอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีในบริเวณเดียวกัน และเป็ดไข่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง การเลี้ยงเป็ดไข่สามารถให้อาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่ผลิตเอง หรือหาซื้อเพิ่มเติม เช่น รำข้าว ปลายข้าว หรือเศษอาหารที่เหลือ และเสริมด้วยอาหารธรรมชาติ หรือเศษเหลือจากอาชีพการเกษตร เช่น ต้นกล้วย หญ้าสด จอก แหน เศษผัก ผักตบชวา เป็นต้น  ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตเป็ดไข่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็ดไข่จะเริ่มให้ไข่เมื่อมีประมาณอายุ ๕ เดือน

วัตถุประสงค์ ->

1.ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

2.เพื่อสามารถนำไข่เป็ดมาทำเป็นอาหารรับประทานได้

3.สามารถจำหน่ายสู่ตลาดได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 - เป็ดพันธ์ไข่               - อาหารเป็ดไข่            - แกลบ           - รำ              - ปลายข้าว

 - ข้าวโพด                  - เศษพืชผัก                - ใบกระถิน

 

อุปกรณ์ ->

- รางน้ำ                    - รางอาหาร               - หลอดไฟ        - ภาชนะใส่น้ำให้เป็ดลงเล่น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การย้ายเป็ดสาวที่จะเข้าเลี้ยงในคอกเป็ดไข่ ควรย้ายก่อนที่เป็ดจะเริ่มไข่ประมาณ 2-3 อาทิตย์ เพื่อให้เป็ดเคยชินกับคอกใหม่

2. การให้น้ำเป็ดไข่ควรมีน้ำสะอาด ให้กินตลอดเวลา ที่ให้น้ำควรทำเป็นลานคอนกรีต ป้องกันพื้นคอก ชื้นแฉะ เพราะเป็ดเวลากินน้ำชอบใช้ทำให้พื้นคอกเปียก ที่ให้น้ำควรมีที่รองพื้นและมีที่ระบายน้ำได้ดี

3. การให้อาหาร ถ้าเลี้ยงแบบในน้ำหรือลำคลองเป็ดสามารถหาลูกกุ้ง ลูกปลา และหอยเล็กๆ กินได้ ก็ให้อาหารพวก รำหยาบ รำละเอียด ปลายข้าว หรือข้าวเปลือกผสมให้กินหรือถ้าอยู่ในแหล่งที่มีปลาเป็ด ใช้ปลาเป็ดต้มหรือสับหรือบดผสมกับรำหยาบ รำละเอียด ปลายข้าวหรือ ข้าวโพดให้กิน หรืออาจจะให้อาหารผสม หรือซื้อหัวอาหารเป็ดมาผสมกับพวกรำ ปลายข้าว ข้าวโพด ให้เป็ดไข่กินก็ได้เช่นกัน

4. การให้แสงสว่าง ในระยะเป็ดไข่ ควรให้แสงสว่างวันละ 16-18 ชั่วโมง เพื่อช่วยในการทำให้เป็ดไข่ดีขึ้น โดยใช้แสงไฟนีออนหรือหลอดไฟธรรมดา หรือใช้แสงสว่างตามธรรมชาติประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วตอนหัวค่ำเปิด แสงไฟนีออนประมาณ 2 ชั่วโมง และเช้ามืดเปิดอีก 2-3 ชั่วโมง หลอดไฟแสงสว่างควรติดสูงจากพื้นดินประมาณ 2.4 เมตร หรือ 8 ฟุต ควรแขวนหลอดไฟให้กระจายทั่วคอก

5. ควรมีรังไข่ ขนาดกว้าง 12 x 14 นิ้ว สูง 12 นิ้ว ด้านบนและด้านหน้าเปิด ใช้ฟางหรือแกลบรองพื้น รังไข่ ใช้อัตรา 1 รังต่อเป็ด 3-5 ตัว

พื้นที่สำหรับเลี้ยงเป็ดไข่

ใช้ตาข่ายเขียวล้อมให้เป็นคอกสี่เหลี่ยมสำหรับให้เป็ดนอนช่วงกลางคืน และควรเป็นพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อให้เป็ดได้ลงอาบน้ำเพื่อคลายร้อนและคลายเครียด

การเลี้ยงเป็ดไข่ในระยะต่างๆ

          1. ลูกเป็ดที่มีอายุระหว่าง 1 วัน – 3 สัปดาห์ ควรให้ความอบอุ่นให้เพียงพอ ซึ่งสามารถใช้หลอดไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความอบอุ่นได้

          2. ในระยะแรกที่เริ่มเลี้ยงอย่าให้ลูกเป็ดเล็กลงเล่นน้ำ ภาชนะสำหรับใส่น้ำควรมีที่กั้นเพื่อไม่ให้เป็ดลงไปเล่นเพราะอาจจะทำให้ลูกเป็ดหนาวและปอดบวมได้ง่าย

          3. เมื่อลูกเป็ดมีอายุ 2 – 6 วัน ควรให้อาหารอ่อนๆ ที่สามารถย่อยง่ายๆ ซึ่งทำได้โดยการใช้ข้าวสุกผสมกับอาหารลูกไก่ในอัตรา 2 : 1 คลุกน้ำเล็กน้อยพอหมาดใส่รางอาหารให้ลูกเป็ดกิน

4. เมื่อลูกเป็ดมีอายุ 1 – 4 สัปดาห์ จะเติบโตแข็งแรงสามารถหั่นผักสดหรือหญ้าขน (วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น) หั่นฝอยผสมเข้าไป และค่อยๆ ลดจำนวนข้าวสุกลง นอกจากนี้ยังสามารถให้อาหารผสมมากขึ้น โดยจะให้รำละเอียดผสมกับเศษวัสดุ ซึ่งเป็นสูตรอาหารที่คิดขึ้นเอง

5. สำหรับอาหารเป็ดช่วงอายุระหว่าง 1 – 4 เดือน ระยะนี้เป็นระยะของการเจริญเติบโตเร็ว อาหารที่ให้ควรจะเป็นอาหารที่ผสมเอง ซึ่งให้วัสดุเศษเหลือทางการเกษตร ผสมกับน้ำหมักจากปลา ระยะนี้สามารถปล่อยให้เป็ดไข่ลงเล่นน้ำและหาอาหารเองในธรรมชาติได้แล้ว โดยธรรมชาติของเป็ด สามารถหาลูกกุ้ง ลูกปลา หรือหอยเล็กๆ กินได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา