ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงไก่ลูกผสม

โดย : นายบัณฑิต โสรเนตร วันที่ : 2017-08-28-11:09:02

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 36 บ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 10 ต.สังขะ อ.สังขะ จ.สุรินทร์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เกษตรกรประสบปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ประสบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งมีแนวโน้มยาวนาน ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สิน รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย  จึงได้หันมาประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ โดยการเลี้ยงไก่สามสายเลือด ซึ่งเป็นไก่ที่มีคุณสมบัติทนโรค ทนแล้ง ใช้เวลาเลี้ยงเพียงแค่ 2 เดือน จะมีน้ำหนัก 1.2 กก. จับขายได้ ด้วยการเลี้ยงง่ายๆ แบบพื้นบ้าน นอกจากจะโตไว คุณสมบัติด้านรสสัมผัสของเนื้ออยู่ระหว่างกลางของไก่เนื้อกับไก่พื้นเมืองไม่นุ่มเละเหมือนไก่เนื้อ ไม่เหนียวแข็งเหมือนไก่พื้นเมือง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในชุมชนและนอกชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อาหารไก่  พืชผัก

อุปกรณ์ ->

รางอาหาร รางน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) การให้อาหาร ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่ การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหารและควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือน ข้าวแห้ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต  ควรให้อาหารไก่เป็นเวลา เช้า กลางวัง เย็น หรืออย่างน้อย เช้า และเย็น

2) การให้น้ำ น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน  ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

3) โรงเรือนไก่ แบบของโรงเรือนควรเป็นแบบที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก ราคาค่อนข้างต่ำ เพราะทำจากวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว ระบายอากาศร้อนได้ อากาศถ่ายเทสะดวก กันลมโกรก และกันฝนสาดได้ดี อากาศในโรงเรือนควรเย็นสบาย ไม่อับชื้น ทำความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง สะดวกต่อการเข้าไปปฏิบัติดูแลไก่ ต้องหมั่นตรวจดูรังฟักอยู่เสมอว่ามีตัวหมัด เหา ไร หรือไม่ หากมีให้เผาไฟเสียป้องกันไม่ให้มันแพร่พันธุ์ต่อไป เพราะไรเป็นศัตรูสำคัญในการบั่นทอนสุขภาพของไก่ หากมีเหา ไรเหลืออยู่ในรัง เมื่อลูกไก่กะเทาะเปลือกออกมา จะถูกตัวเหา ไรกัดกินเลือด ทำให้ลูกไก่เสียสุขภาพไปตั้งแต่ยังเล็กๆ

4) การทำวัคซีนป้องกันโรคตามอายุไก่ เช่น นิวคาสเซิล ฝีดาษ อหิวาต์ โดยให้ถูกต้องทั้งชนิดของวัคซีน ความรุนแรงของเชื้อ และวิธีการทำวัคซีน  นอกจากนี้ควรมีการถ่ายพยาธิกับไก่รุ่นและไก่ใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และควรกำจัดหรือทำลายต้นตอของพยาธิภายนอก เช่น หมัด ไร เห็บ ฯลฯ ทุกครั้งที่พบ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา