ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำน้ำหมัก

โดย : นายไพฑูรย์ พันโท วันที่ : 2017-08-15-16:18:33

ที่อยู่ : 10/1 ม.9 ต.โพนโก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมในชุมชนมีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว  โดยมีกระบือเป็นเครื่องมือทางการเกษตร  โดยใช้โคเป็นเครื่องมือในการขนผลผลิตทางการเกษตร  โดยใช้เกวียน  เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าโค-กระบืออยู่กับชีวิตชาวนามาตั้งแต่อดีต  จึงมีแนวคิดว่าถ้าเราปลูกข้าวอย่างเดียว  ไม่มีรายได้อื่น  ในปัจจุบันจะอยู่เลี้ยงชีพไม่ได้  จึงมีแนวคิดในการเลี้ยงโค-กระบือ  เพื่อเป็นรายได้เสริมของชาวนา  โดยอยู่กับชาวนาตลอด  จึงยึดอาชีพเสริมในการเลี้ยงโค-กระบือ  โดยมีบิดาเป็นผู้ให้แนวคิด  วิธีการเลี้ยงรักษาโค-กระบือ โดยที่ให้มีผลผลิตสู่ตลาดอย่างสมบูรณ์

วัตถุประสงค์ ->

1.      ลดการใช้สารเคมี

2.      ใช้วัตถุดิบเหลือใช้ในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- เศษซากพืชสด อาทิ พืชอวบน้ำอวบน้ำ ผัก ผลไม้ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้ ฯลฯ 
- เศษซากสัตว์สด อาทิ หอยเชอรี่ ปลา ปู ฯลฯ 
- พืชสุมนไพรเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ สะเดา ไหลแดง หนอนตายอยาก ตะไคร้หอม- ฟาง

อุปกรณ์ ->

1.     ถังน้ำหมักที่มีฝาปิดสนิท ควรเป็นถังพลาสติก หรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ถังประเภทโลหะหรือปูนซิเมต์เพราะน้ำหมักจะเข้าไปกัดกร่อนภาชนะ 

2.     . น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาทิ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล ฯลฯ โดยเฉพาะกากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมน้ำตาล นอกจากนี้อาจใช้พืชจำพวกอ้อยได้เช่นกัน 

3.     ส่วนผสมกับน้ำตาล 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สูตรที่ 1 สำหรับพืชกินใบ

 

วัสดุประกอบด้วย

1) พืชสด และ 2) กากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1

วิธีทำ

 ใช้พืชที่มีลักษณะสด ใหม่ สมบูรณ์ อวบน้ำ โตเร็ว ไม่มีโรค (เน่า) ทุกส่วนๆ ละไม่มากนัก จากพืชหลายๆ ชนิด ทั้งพืชที่กินได้และวัชพืช

นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดละเอียดให้ได้ปริมาณ 3 ก.ก. แล้วบรรจุเศษพืชที่ได้ลงในภาชนะ และเติมกากน้ำตาลลงไป 1 ลิตร คนหรือเขย่าให้เข้ากัน

ให้เศษพืชจมอยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะ เก็บไว้ในที่มืด อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้

 

การปฏิบัติระหว่างการหมัก เขย่าภาชนะที่หมักพร้อมกับเปิดฝา วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่น ถ้าหอมหวานแสดงว่า "ดี"

สามารถนำไปได้ ถ้าบูดเปรี้ยวแสดงว่า "ไม่ดี" ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล หรือของที่ใส่ครั้งแรกแล้วหมักต่ออีก 3 วัน ถ้ามีกลิ่นหอมหวานก็แสดงว่า "ดี" ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมน้ำตาลอีกแล้วหมักต่อไปจนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน เมื่อได้น้ำหมักที่ดีแล้วให้เก็บไว้ในที่มืดภายใต้อุณหภูมิห้อง

เก็บได้นาน 6 เดือน - 1 ปี ระหว่างเก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ำตาลลงไป

 

อัตราและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ

1) พืชผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผลยืนต้น ให้ทางใบ อัตราส่วน 15-20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5-7 วัน ควบคู่กับให้ทางราก 30-50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 15-20 วัน 
2) เตรียมดินแปลกปลูก หรือหลุมปลูกไม้ผล อัตราส่วน 30-50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 
3) ใช้แทนสารเร่งปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 75-100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร พรมลงบนวัสดุทำปุ๋ยหมัก 
4) กำจัดน้ำเสียโดย อัตราส่วน 75-100 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณน้ำเสียหรือในคอกปศุสัตว์ 
5) เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ อัตราส่วน 15-20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์พอท่วมก่อนเพราะเป็นเวลา 12 ชั่วโมง

 

การต่อเชื้อน้ำหมักชีวภาพ ใช้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำสะอาด 10 ส่วน ผสมให้เข้ากันดี ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ในที่มืด ภายใต้อุณหภูมิห้อง นาน 3 วัน ตรวจสอบกลิ่นตามครั้งแรก

 

เคล็ดลับ เรื่องน้ำหมักชีวภาพ หลังการหมัก 3 วันแรก เปิดฝาออกดูถ้ามีแก๊สพุ่งออกมาแสดงว่า มีส่วนผสมดีพยายามเปิดฝาระบายแก๊สบ่อยๆ ถ้าไม่เปิดภาชนะที่หมักอาจระเบิดได้ กรณีถ้าไม่มีกากน้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลทรายแดงได้ โดยเพิ่มปริมาณน้ำตาลแดงเป็น 1 ส่วน : เศษพืช 1 ส่วน การใช้น้ำหมักชีวภาพทางราก ควรใช้ควบคู่ไปกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเสมอ โดยการใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก 6 เดือน/ครั้ง

สูตร 1 เหมาะสำหรับพืชกินใบ ตัวอย่างพืชสดสูตร 1 ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักขม ผักเสี้ยน หน่อไม้ฝรั่ง ยอดชะอม ยอดกระถิน ยอดมันเทศยอดมะม่วง ยอดมะยม ผักตำลึงและผล เถาขี้กาและผล เงาะป่าและผล ใบยอและผล ฯลฯ


สูตรที่ 2 สำหรับพืชผักกินดอกผล

 

วัสดุประกอบด้วย

1) ผลไม้สุก (ฟักทองแก่, มะละกอทั้งเนื้อและเมล็ด กล้วยน้ำว้า บวบเหลี่ยม มะเขือเทศ) 2) พืชสด (ช่วงใบแก่อ้วนเอาทั้งปลายยอดและปลายราก) และ 3) กากน้ำตาล อัตราส่วน 2 : 1 : 1

วิธีทำและการปฏิบัติ

กระทำเช่นเดียวกับสูตรที่ 1 แต่ให้ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนด

อัตราและวิธีการใช้

1) สูตร 2 เหมาะสำหรับพืชผักที่ใช้กินดอกผล เช่น กะหล่ำดอก แตงโม แตงกวา แตงเทศ แคนตาลูป ถั่วฝักยาว ถั่วแปบ ถั่วพี ถั่วเหลือง มะรุม น้ำเต้า กุ๋ยช่าย บวบต่างๆ มะเขือต่างๆ ฟักทอง ฟักเขียว พริกต่างๆ 
2) ใช้อัตราส่วน 0.5 - 20 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุก 5 - 7 วันต่อครั้ง 
3) ใช้อัตราส่วน 30 - 50 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร ราดทางดินสลับการฉีดทางใบ 5 - 7 วันต่อครั้ง จะทำให้ดินร่วนซุย 
4) สูตร 2 นี้ ใช้จนถึงระยะออกดอกติดผลก็ได้

 

สูตร 2 เหมาะสำหรับพืชผักกินดอก กินผล ตัวอย่างผลไม้สุก สูตร 2 สับปะรด แตงโม กล้วย ละมุด มะเขือเทศ บวบ ขนุน มะม่วง ฝรั่ง มะละกอดิบและสุก มะระดิบและสุก มะเฟือง มะกรูดผ่าซีก ฯลฯ


สูตรที่ 3 สำหรับพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ นาข้าว

วัสดุ

ประกอบด้วย 1) พืชสด (สูตร 1) 2) พืชสดและผลไม้สุก (สูตร 2) 3) ปลาเป็นๆ หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ กระดูกป่น 4) ตัวเสริม (ขี้เด็กทารก ขี้ไก่ค้างคอน ขี้นกปากห่าง ขี้เป็ดกินหอย ยาคูลท์ โยเกิร์ต กระทิงแดง ระลำเอียด) และ 5) กากน้ำตาล ผสมในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : เล็กน้อย : พอท่วม

วิธีทำ

เตรียมวัสดุในการทำนำหมักสูตร 1 และ สูตร 2 ตามอัตราส่วนที่กำหนด นำปลาสด (ทั้งตัว) หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ มาบด โขลก สับให้ละเอียด เพื่อง่ายในการย่อยสลาย บรรจุเศษพืช เศษปลา เศษหอยที่บด โขลก สับละเอียดแล้วลงภาชนะ (ควรเป็นโอ่งหรือภาชนะพลาสติกไม่แนะนำให้ใช้โลหะ) แล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คลุกเคล้าพอคลุกคลิก เติมนำมะพร้าวอ่อน คลุกเคล้าลงไปอีกเพื่อให้มีน้ำมากขึ้นพอท่วมเศษวัสดุ คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ให้เศษพืชจม อยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ที่มืดอุณหภูมิห้องนาน 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

การปฏิบัติต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพระหว่างการหมัก ปฏิบัติตามสูตร 2 จนถึงขั้นตอนสุดท้าย


สูตรที่ 4 สำหรับไม้ผล

วัสดุ/อัตราส่วน ประกอบด้วย

1) พืชสด 5 ส่วน 2) ผลไม้ผล 1 ส่วน 3) ผลไม้สุก 1 ส่วน 4) ปลาน้ำจืด 1 ส่วน 5) ไข่หอยเชอรี่ 1 ส่วน และ 6) เหง้ากล้วย 1 ส่วน

วิธีทำ

 เติมกากน้ำตาลพอท่วม เติมขี้ไก่ค้างคอน 2 ส่วน เติมน้ำมะพร้าวอ่อน/รำละเอียด/อุจจาระเด็กทารกในปริมาณเล็กน้อย โดยห้ามนำไปฉีดผัก เพราะจะทำให้ผักกระด้าง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา