ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายบุญชู เอนกดี วันที่ : 2017-08-15-16:20:29

ที่อยู่ : 66 ม. 5 ต.หนองอียอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 

นายบุญชู  อเนกดี  เกษตรกร/ปราชญ์ชาวบ้านหัวเสือ ผู้มีความเพียรพยายามในการพลิกฟื้นผืนนาและแปลงเกษตรในพื้นที่ 7 ไร่ให้มีการผสมผสานและพึ่งพาตนเอง โดยการใช้แรงงานของตนเองและครอบครัวเป็นหลัก และมีการปรับพื้นที่นาและแหล่งน้ำให้เหมาะสม ,เป็นบ่อเลี้ยงปลา,ปลูกไม้ผลยืนต้น,ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อการใช้ในครัวเรือนและจำหน่าย เช่น พริก,ถั่วฝักยาว,แตงกวา,มะเขือ, และอื่นๆโดยปลูกสลับตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการรู้จักผสมผสานในการปรับปรุงดินให้มีอินทรีย์วัตถุเน้นการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ,การเกษตรแบบพอเพียงมีรายได้จากปลูกพืชผักสวนครัวระยะสั้น,พอกิน-พอใช้ในครัวเรือน เหลือใช้ก็ได้ขาย,และมีการปลูกอย่างต่อเนื่องไม่ขาดระยะ  และมีผู้คนสนใจแวะมาซื้อขายและเรียนรู้อยู่เนืองๆ

                   นอกจากปลูกพืชผักสวนครัวแล้ว  ยังเป็นผู้ริเริ่มในการปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหมามุ่ยอินเดียและอัญชัญ  ซึ่งเป็นพืชชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมจากตลาด   เมื่อทำแปลงเกษตรของตนเองสำเร็จระดับหนึ่งแล้ว ก็ขยายผลมาสู่เพื่อนบ้านที่สนใจมาเรียนรู้ และแบ่งปันพันธุ์พืช, โดยไม่ได้หวงวิชา เพราะยึดหลักตามแนวทางขอในหลวงท่าน ในการเป็นผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก  รวมทั้งอยากเห็นเกษตรกรในพื้นที่รักหวงแหนในสิ่งที่ทำ และค่อยเป็นค่อยไปไม่ติดยึดกับวัตถุนิยม เช่นปัจจุบันมากนัก

วัตถุประสงค์ ->

การมีรายได้เพิ่มขึ้น  ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งตนเอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.     ที่ดิน

อุปกรณ์ ->

 1.  จอบ  เสียม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หลักการและเงื่อนไขของเกษตรผสานผสาน   มีหลักการที่สำคัญ 2 ประการ คือ

             1) มีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และกิจกรรมการเกษตรทั้งสองชนิดต้องทำเวลาและสถานที่เดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าให้เกิดกำไรสูงสุด

             2) เกิดการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรม

เกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ซึ่งลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง หรือที่เรียกว่า เป็นการประหยัดทางขอบข่าย(Ecomomy of Scope) และลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกในที่สุด

             ในด้านเทคนิคและการจัดการไร่นานั้น เกษตรผสมผสานให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้าง ความหลากหลายของพืช สัตว์ และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายระดับ มีแหล่งน้ำในไร่นาซึ่งจะไม่เน้นหนักว่าต้องมีการปฏิบัติ เช่นสามารถใช้พืชคลุมดิน ไถพรวนดิน หรือปุ๋ยเคมีก็ได้

            การพัฒนารูปแบบเกษตรผสมผสาน

มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานมานานแล้ว จากรูปแบบการผลิตที่ง่ายๆเช่นการเลี้ยงปลาในนาข้าว และหลังจากที่หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในด้านการส่งเสริมและวิจัยมากขึ้น รูปแบบการผลิตจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น มีการผสมผสานระหว่างพืช สัตว์และปลา

       โดยทั่วไปรูปแบบของการผลิตซึ่งประกอบด้วยชนิดและขนาดของกิจกรรมการผลิตในไร่นาจะแตกต่างกันไป ปัจจัยที่กำหนดรูปแบบการผลิตมี 3 ประการคือ

        (1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ แหล่งน้ำ สภาพลมฟ้าอากาศและอื่นๆ

        (2) สภาพแวดล้อมทางชีวภาพของพื้นที่ ได้แก่ ชนิดของพืช สัตว์และปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

         (3) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ขนาดของพื้นที่ถือครอง จำนวนแรงงานในครัวเรือน เงินออม ตลาด พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น

                   รูปแบบของเกษตรผสมผสานจะคิดสมมติจากรายได้รวมจากฟาร์มเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

    1) การผสมผสานโดยยึดพืชเป็นหลัก รายได้จากพืชจะเป็นรายได้หลักของครัวเรือน ส่วนรายได้จากกิจกรรมอื่นเช่น ปลา และเลี้ยงสัตว์ จะเป็นรายได้รอง

    2) การผสมผสานโดยยึดสัตว์เป็นหลัก จะได้รายได้หลักจากสัตว์เลี้ยงส่วนรายได้จากพืชและปลาจะเป็นรายได้รอง

    3) การผสมผสานโดยยึดปลาเป็นหลัก รายได้หลักมาจากการเลี้ยงปลา ส่วนรายได้จากพืชและสัตว์จะเป็นรายได้รอง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา