ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายสมศักดิ์ เจริญรัตน์ วันที่ : 2017-03-03-15:21:51

ที่อยู่ : 73 ม. 2 ต.หนองระฆัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายสมศักดิ์  เจริญรัตน์  ปัจจุบันอายุ  71  ปี  จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  เคยดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน  ปี  พ.ศ.  2535-2543  เคยเป็นประธานสหกรณ์การเกษตร  10  ปี  ทำงานเกี่ยวกับการเกษตร  ให้ความรู้กับสมาชิกสหกรณ์ในการทำการเกษตร  เคยเข้าอบรมการปลูกข้าวมะลิ  105  ที่กรุงเทพมหานคร    ปัจจุบันประกอบอาชีพหลัก  ทำนา  มีพื้นที่จำนวน  10  ไร่  แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา  และทำอาชีพเสริม  คือการปลูกพืชผสมผสาน  เพื่อจำหน่าย  ซึ่งได้แก่  ตะไคร้  สาระแหน่  มะนาว  มะเขือ  ถั่วฝักยาว  แตงกวา  มะละ  ดอกพุด  และใบเตย โดย  นายสมศักดิ์มีความตั้งใจที่จะดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งตนเอง  และช่วยเหลือสังคมได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

                                                นาย สมศักดิ์  ได้เริ่มดำเนินการตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่ปี 2540 - 2541 ได้ศึกษาว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร ก็ได้รับทราบว่า ต้องพยายามลดรายจ่ายในครอบครัวให้มากที่สุด เมื่อศึกษาแล้วจึงทราบว่าจริงๆ แล้วค่าใช้จ่ายประจำวัน คือ อาหารที่ต้องกินต้องใช้ แล้วมาคิดต่ออีกว่าอาหารที่ต้องซื้อเขากินมีอะไรบ้าง จึงมาเริ่มคุยกันในครอบครัวว่าเราต้องปลูกทุกสิ่งทุกอย่างที่เราซื้อกินทุก วัน ดังนั้นทุกอย่างที่เคยซื้อจะต้องปลูกเองทั้งหมด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากที่วันหนึ่งเคยซื้อ 20 - 30 บาท ก็ไม่ต้องซื้อ และยังมีเงินไว้เก็บออมอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

นายสมศักดิ์  เจริญรัตน์  ได้บริหารจัดการชีวิตและครอบครัวโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นกรอบแนวทางในการดำรงชีวิต กล่าวคือ ครอบครัวนี้ปลอดอบายมุข  ไม่กินเหล้า  ไม่เล่นการพนัน ทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายๆ เป็นกรอบแผนใช้จ่าย  เป็นเกษตรกรไม่มีหนี้สิน  เน้นการพึ่งพาตนเอง การใช้แรงงานครอบครัวทุกอย่างโดยวางแผนการผลิตดังทั้งนี้มองเรื่อปากท้องก่อน ลงมือปลูกผักกินได้ก่อน เช่น พริก มะเขือ หอม กระเทียม  ตะไคร้ ขิง ข่า และผักสวนครัวต่าง เหลือก็นำไปจำหน่าย ที่  อ. ท่าตูม  ซึ่งบุตรสาวเป็นผู้นำไปจำหน่ายให้  ประมาณวันละ  300-400 บาท  ทำให้ นายสมศักดิ์  สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว  ไม่ต้องติดหนี้อีกต่อไป                                                      

ความมีเหตุผล

                นายสมศักดิ์  ได้ใช้หลักธรรมชาติในการบริหารครอบครัว และวางแผนการผลิต มีการเรียนรู้วิชาการใหม่ๆ ที่เจ้าหน้าที่ทางราชการแนะนำ หรือจากประสบการณ์ศึกษาดูงานจากที่ต่าง ๆ นำมาปรับใช้ในสวนผสมผสานกับหลักการนิเวศน์ธรรมชาติที่ทั้งคน พืช สัตว์ อยู่ร่วมกันได้ หลีกห่างสารเคมี ยาฆ่าแมลง  ใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สะดา และอื่น ๆ

ภูมิคุ้มกัน

            ครอบครัวของนายสมศักดิ์    เป็นกองทุนหมู่บ้าน (กทบ.)เน้นการออม การมีส่วนร่วมกับหมู่บ้านชุมชนโดยตลอด เช่นการประชุมประจำเดือน/ประชุมกลุ่มต่าง ๆ ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษา/ปราชญ์ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน ในการปลูกพืชผสมผสาน ด้านเงินทุนไม่ได้กู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆ  และไม่มีหนี้สินแต่อย่างใด เนื่องจากมองเห็นว่า การไม่มีหนี้เป็นสุขในโลก  และการพึ่งพาตนเองได้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของความพอเพียงจริง “ ให้ปลูกทุกอย่างที่อยากกิน  และกินทุกอย่างที่ตัวเองปลูก”  ส่วนที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนก็นำมาจำหน่าย และแบ่งปัน เพื่อนบ้าน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา