ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดฟาง

โดย : นายเสาร์ มีนาม วันที่ : 2017-06-09-16:42:52

ที่อยู่ : ม.4 ต.กระโพ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เห็ดฟาง เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นพืช มีโปรตีนสูงพอๆ กับถั่วเหลือง อาหารที่ทุกคนนิยมบริโภคนี้ เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ให้ผลผลิตเร็วมาก คือ ให้ผลผลิตภายใน 2 สัปดาห์เท่านั้น เห็ดฟางเพาะง่าย มีวิธีการเพาะหลายวิธี สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น เพาะแบบกองสูง เพาะในโรงเรือน การเพาะแบบกองเตี้ย การเพาะในถุง การเพาะแบบโรงเรือนอบไอน้ำ แล้วแต่สภาพความพร้อมของพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก และความพร้อมของเกษตรกรผู้เพาะ วัสดุที่ใช้เพาะ ก็สามารถใช้ได้หลากหลายอย่าง ตามที่มีในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว ผักตบชวา ต้นกล้วยแห้ง ใส่นุ่น เปลือกถั่ว หรือกากมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า สร้างอาหารในครอบครัว สร้างงาน สร้างรายได้เสริม ในช่วงว่างจากฤดูการทำนา และวัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ดก็สามารถนำกลับลงในแปลงนาเพื่อบำรุงดิน หรือทำเป็นปุ๋ยหมักใส่พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น ก็ได้ และที่เราอยากเสนอคือ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ซึ่งการเลือกชื้ออุปกรณ์การทำเห็ดนั้นหาไม่ยาก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เป็นรูปแบบการเพาะเห็ดฟางอีกแบบหนึ่งที่ทำได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อยขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ทุกครัวเรือนสามารถทำได้เพื่อบริโภคในครัวเรือน ดอกเห็ดสามารถทยอยออกได้เรื่อยๆ เป็นการลดรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือน และสามารถทำเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย โดยวัสดุที่ใช้เพาะก็สามารถใช้วัสดุเศษเหลือในไร่นาได้เกือบทั้งหมด เช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ สามารถนำก้อนเชื้อเห็ดถุงที่เก็บดอกหมดแล้วทั้งเห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม มาเป็นวัสดุเพาะได้อีกด้วย วัสดุอุปกรณ์การเพาะปลูกเห็ดฟางตะกร้า ตะกร้าพลาสติกสูงประมาณ 1 ฟุต ตาห่างประมาณ 1 ตารางนิ้ว เชื้อเห็ดฟาง ขี้เลื่อย / ฟางแห้ง อาหารเสริม (มูลสัตว์ผสมรำ อัตรา 1: 1) หรือปุ๋ยหมัก แป้งข้าวสาลี ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เริ่มด้วยการนำขี้เลื่อย หรือฟางแห้งมาใส่ในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ ให้มีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว และใช้มือหรือไม้กดให้แน่น จากนั้นนำเอาอาหารเสริมโรยให้ชิดด้านในของตะกร้าเป็นวงกลม บริเวณที่โรยให้มีความกว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ซึ่งใช้ประมาณ 1 ลิตร ต่อชั้น จากนั้นให้นำเชื้อเห็ดฟางออกจากถุง นำไปคลุกกับแป้งข้าวสาลีพอติดผิวนอก แป้งสาลีนี้จะเป็นอาหารเสริมระยะแรก ที่จะช่วยกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญเติบโตได้ดี แล้วโรยทับอาหารเสริมอีกชั้นหนึ่ง ทำเป็นชั้นๆ ลักษณะนี้จนเต็มตะกร้าพลาสติก รดน้ำซ้ำให้ชุ่ม หากก้อนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังชุ่มอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ แต่หากแห้งก็รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้น ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมสำหรับการเกิดดอกเห็ดโดยการปิดโรงเรือนให้มิดชิด ให้อยู่ในอากาศร้อนชื้น เช่น ด้านล่างควรใช้อิฐทับผ้าพลาสติกไว้ เพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออก ภายในโรงเรือนควรติดเทอร์โมมิเตอร์ สำหรับวัดอุณหภูมิ ในช่วงวันที่ 1 ถึง 4 วันแรกต้องควบคุมอุณหภูมิในกระโจมหรือในโรงเรือนให้อยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงเกินไป ให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนออกเพื่อระบายอากาศร้อนออก ใช้วัสดุพรางแสงคลุมหรือรดน้ำรอบๆ โรงเรือน เมื่อครบกำหนด 4 วัน ให้เปิดผ้าพลาสติกหรือประตูโรงเรือนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศสะดวก เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างใยเชื้อเห็ด ถ้าวัสดุแห้งเกินไปให้รดน้ำซ้ำ ในระหว่าง วันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส ซึ่งในช่วงนี้จะมีการรวมตัวของเส้นใยเป็นดอกเล็กๆ จำนวนมาก เมื่ออายุได้ 9-12 วันก็สามารถที่จะเก็บดอกเห็ดจำหน่ายได้
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา