ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

โดย : นายนรินทร์ กิ่งแก้ว วันที่ : 2017-06-09-16:33:46

ที่อยู่ : ม.8 ต.โพนครก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพ  คือ  ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง  ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถผลิตได้ง่ายใช้เวลาน้อย  โดยการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ผสมคลุกเคล้าหมักรวมกับมูลสัตว์ แกลบดำ      รำละเอียดคลุมด้วยกระสอบป่าน ใช้เวลาประมาณ 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้

วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

1.             มูลสัตว์แห้งละเอียด                  1 ส่วน

2.             แกลบดำ                                       1 ส่วน

3.             รำละเอียด                                    1 ส่วน

4.             น้ำสกัดชีวภาพ

5.             กากน้ำตาล

6.             วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง ถั่วเขียว ขุยมะพร้าว ฯลฯ     อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ส่วน

วิธีทำ

                 1.   ผสมวัสดุเข้าด้วยกัน

2.             รดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาล (ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้)

               อัตราส่วน น้ำ       10           ลิตร

               น้ำสกัดชีวภาพ     2            ช้อนแกง

               กากน้ำตาล            2             ช้อนแกง

3.           เคล้าจนปุ๋ยขึ้นปั้นเป็นก้อนได้เมื่อแบมือ

4.           กองปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์มีความหนาประมาณ 1 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 3 วัน และควรกลับ

5.           กองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อนทิ้งไว้อีก  2 – 4 วัน จึงนำไปใช้ได้ (ลักษณะปุ๋ยที่ดีจะมีราขาว และมี

6.           กลิ่นของราหรือเห็ด ไม่ร้อน มีน้ำหนักเบา)

วิธีใช้

1.  ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพผสมดินแปลงปลูกผักทุกชนิด อัตราปุ๋ย 1 กก. ต่อ พื้นที่ 1 ตร.ม. ถ้าพืชผักอายุเกิน  2 เดือน ใช้ปุ๋ยรองก้นหลุม ประมาณ  1 กำมือ (ไม้กระถางใส่ 1 กำมือทุก 7 วัน

2.             ไม้ผล รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพผสมเศษหญ้าหรือใบไม้ 1 – 2 บุ้งกี๋

ประโยชน์

1.             เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน รักษาความชุ่มชื้นและช่วยถ่ายเทอากาศได้ดี

2.              เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้กับดิน และไม่เป็นอันตรายต่อดินในการใช้ไปนานๆ

3.             ปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น ผลิตง่าย ลงทุนต่ำ ใช้เวลาน้อย

การเก็บรักษา

ใส่กระสอบเก็บในที่ร่มและแห้ง ได้นาน 1 ปี

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา