ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เตาประหยัดพลังงาน

โดย : นายสกุลชัย มะลิซ้อน วันที่ : 2017-06-27-15:47:31

ที่อยู่ : 92 ม.8 ต.กาเกาะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง

พลังงานที่ใช้ในการหุงต้มภาคครัวเรือนในประเทศ สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล โดยเฉพาะจากถ่านไม้และฟืน ซึ่งคณะที่ปรึกษาได้ทำการสำรวจการใช้เตาหุงต้มในประเทศ สปป.ลาว ซึ่งได้แสดงข้อมูลไว้แล้วในบทที่ 3 การหุงต้มอาหารในครัวเรือนส่วนใหญ่นิยมใช้เตาหุงต้มที่ใช้เชื้อเพลิงเป็น ถ่านไม้หรือไม้ฟืน ซึ่งได้มีการใช้มาตั้งแต่ในอดีต เตาหุงต้มดังกล่าวมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนไปน้อยมาก เมื่อเทียบกับเตาสมัยใหม่เช่น เตาหุงต้มใช้น้ำมันก๊าด เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊สชีวภาพ เตาหุงต้มที่ใช้ถ่านไม้หรือไม้ฟืนที่ใช้กันอยู่ที่เรียกว่า “เตาหุงต้มแบบดั้งเดิม” นั้นมีประสิทธิภาพเพียง 20% เท่านั้น ในขณะที่เตาแก๊สมีประสิทธิภาพสูงถึง 45-48% วิวัฒนาการของเตาหุงต้มประเภทต่างๆนี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ ระยะแรก หลายพันปีมาแล้ว การพัฒนาของเตาหุงต้มชีวมวลในระยะนี้เป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากไม้ฟืนยังมีมาก จึงมีใช้อย่างเหลือเฟือ เตาหุงต้มในระยะแรกนี้เป็นแบบกงฟืน ประกอบด้วยไม้ขาตั้งแขวนภาชนะ และเตาแบบหินสามก้อน ระยะที่ 2 ประมาณ 100 ปีมาแล้ว จึงมีผู้คิดค้นทำเตาหุงต้มใช้น้ำมันก๊าด แก๊สหุงต้ม และเตาไฟฟ้าซึ่ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศตะวันตก

แต่เนื่องจากประเทศไทย ยังจำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงชีวมวลอยู่ ดังนั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงการพัฒนาเตาหุงต้มจากเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งเรียกว่า เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง เรียกว่า “ซูเปอร์อั้งโล่” มีประสิทธิภาพสูงถึง 29% เพื่อให้สามารถนำเชื้อเพลิงชีวมวลมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


 หลักสำคัญๆในการออกแบบเตา “ซูเปอร์อั้งโล่” คือการลดความร้อนสูญเสียที่เกิดขึ้นบริเวณปากเตา และทำให้การเผาไหม้ดีขึ้นโดยการทำรังผึ้งและรูรังผึ้งให้มีการไหลของอากาศดี ขึ้น ซึ่งทำให้เตานี้มีประสิทธภาพสูงขึ้นและมีการได้หลักวิชาการมาช่วยในการออก แบบได้อย่างเหมาะสม


สืบเนื่องจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) ณ ประเทศสหภาพพม่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จึงได้เลือก “ซูเปอร์อั้งโล่” เป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงานชนิดหนึ่ง ที่จะนำไปประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สู่ ประเทศ สปป.ลาว

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเพิ่มรายได้กับสมาชิกที่ผลิต

2.เป็นการลดการใช้พลังงาน

3.มีอาชีพเสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ดินเหนียว

2.ถังสวมเตา

3.แกลบดำ

4.ปูนซีเมนต์

อุปกรณ์ ->

1. พิมพ์แม่แบบ

2.เตาอบ

3.พิมพ์ทำรังผึ้ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การเตรียมดิน

โดยต้องลงไปตักหรือ ขุด เอาดินที่อยู่ ก้นบึง ซึ่งจะเป็นดินเหนียวและมีขนาดเม็ดดินที่ละเอียด เหมาะแก่การนำมาผลิตเตา โดยจะผสมดินเหนียวนี้ กับ ขี้เถ้าแกลบดำ ในอัตรา  ส่วน 1:2 โดยปริมาตร ส่วนดินทำรังผึ้งเตา จะผสมดินเหนียว ต่อ ขี้เถ้าแกลบดำในอัตราส่วน 1:3 โดยปริมาตร โดยใช้เครื่องผสมดินที่สร้างขึ้น พบว่าเครื่องสามารถทำงานได้ดี ไม่ปัญหาใดๆ และสามารถเตรียมดินได้มากพอที่ปั้นเตา ประมาณ 80 ใบ ในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น อนึ่ง ดินที่นำมาจากก้นบึงนี้ สามารถนำมาใช้ผสมกับขี้เถ้าแกลบดำได้เลย ไม่ต้องทำการหมักดินก่อน เพราะ การที่ดินแช่อยู่ก้นบึงอยู่แล้ว

2 การปั้นเตา

การปั้นเตาจะเริ่มด้วยการเรียนรู้หลักการต่างๆ ก่อน และ มีการสาธิตโดยผู้เชี่ยวชาญให้ดูก่อน 2-3 รอบ และให้ผู้เข้าอบรม ถามคำถามหาก มีข้อสงสัย แล้วจึงให้ผู้เข้าอบรมลองปฏิบัติจริง จนกว่าจะสามารถปั้นเตาที่ผ่านมาตรฐานได้ โดยเตาที่ปั้นได้ ต้องมีขนาดรูปร่าง ถูกต้องตามของจริง และสามารถเอาไปใช้งานได้จริง ทุกคน ต้องสามารถปั้นเตา และ คว่ำเตาวางกับพื้นโดยไม่เสียหายได้ อย่างน้อย 4-5 หลัง และเตา เหล่านี้ จะถูกนำไปใช้ในการฝึกตัดแต่ง หาก ตัดแต่งแล้ว ขนาดอยู่ในมาตรฐานก็ จะนำไปเผาและบรรจุใส่ถังสังกะสี

3. การตัดตกแต่งเตา

หลังจากปั้นเตาเสร็จแล้ว ตั้งเตาทิ้งผึ่งลมไว้ ในร่ม ประมาณ 2-3 วัน เตาก็จะแห้งหมาดๆ ดีพอที่ตัดตกแต่งได้ การตกแต่ง จะทำโดยให้ผู้เข้าอบรม เข้ามาฝึกปฏิบัติที่ละกลุ่ม โดยก่อนลงมือปฏิบัติ ช่างผู้เชี่ยวชาญจะอธิบายและสาธิตวิธีการตัดแต่ง ตั้งแต่การจับมีด การดึงมีด การลูบด้วยน้ำ เพื่อความเรียบและความสวยงามของผิว การตัดแต่ง จะให้ผู้เข้าอบรมทำจนชำนาญในระดับหนึ่ง หลังจากนั้น จะให้ตัดแต่งให้ได้ขนาดที่มาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญจะมาตรวจสอบอีกครั้ง และให้คำแนะนำในการปรับปรุง จนเห็นว่าได้ขนาดที่ดีแล้ว จึงจะนำไปใช้ในการเผาต่อไป

4.การทำถังสังกะสี

ผู้เข้าอบรมทุกคนได้เข้ารับการฝึกให้ทำถังสังกะสีได้ ด้วยตัวเอง โดย ครูผู้เชี่ยวชาญ จะอธิบายขั้นตอนการผลิต เครื่องมือ ต่างๆ ขนาดของชิ้นงานที่จะต้องตัด และ ข้อควรระวังในการทำถังสังกะสี แล้วให้ผู้เข้าอบรม แยกย้ายปฏิบัติ ทำถังสังกะสี คนละ 1 ใบ ส่วนใหญ่แล้ว ผู้เข้าอบรม สามารถทำถังสังกะสีได้สำเร็จเป็นรูปร่างที่ถูกต้อง แข็งแรง ทนทาน และ สามารถ นำไปใช้งานได้

5. การทำรังผึ้ง

ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทำรังผึ้ง จนเชี่ยวชาญ โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินสำหรับทำรังผึ้ง การขึ้นรูปรังผึ้ง และ การเจาะรูรังผึ้ง เพราะ สามารถทำได้ง่าย และ ใช้เวลาสั้น หลังจากขึ้นรูปรังผึ้งแล้ว จะผึ่งตากลมไว้ ประมาณ 2-3 วัน แล้ว จึงสามารถนำมาเจาะรูได้ ขั้นตอนการเจาะรู นี้ ผู้เข้าอบรมต้อง ฝึกจนชำนาญ และ ใช้ความปราณีตพอสมควร ไม่เช่นนั้น แผงรังผึ้งอาจจะเสียหาย ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ หลังจากเจาะรูแล้ว ตากผึ่งลม หรือ ตากแดด ประมาณ 2-3 วัน ก็สามารถนำไปเผา (รวมกับเตา

4.3.6 การตากผึ่งลม

การตากผึ่งลมเป็นตอนที่ง่ายที่สุด แต่ผู้เข้าฝึกอบรมก็ได้ฝึก การนำเตา ลิ้น เข้าเก็บ และ ตาก ทั้งในร่ม และ ตากแดด จนชำนาญ และได้ศึกษา ความเหมาะ ในเหมาะสมในการตากเตา หรือ ลิ้น ว่าควรจะตากลักษณะใด ตากนานเท่าไร ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถพิจารณาได้ว่า เตาหรือ ลิ้น นั้น แห้งดีพอ ที่จะนำไปเผาได้หรือไม่ หาก นำเตาหรือ ลิ้น ที่ไม่แห้งดีพอไปเผา อาจจะเกิดการแตกร้าว หรือ ชำรุด เสียหายได้

การเผาเตา

การเผาเตาถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการเผลิตเตา ซึ่งไม่ควรเกิดการผิดพลาดในขั้นตอนนี้ ไม่เช่นนั้นเตาที่เตรียมไว้ส่วนใหญ่ อาจจะเสียหายได้ ผู้เข้าอบรมได้ เรียนรู้ ตั้งแต่การ สร้าง ออกแบบ เตาที่ดี การเตรียมเตา เพื่อนำเตาและลิ้นเข้าไป เรียง การเรียงเตาและลิ้น การใส่แกลบ และการเผา จนสามารถบอกได้ว่าเตาที่เผานั้นสุกพอที่นำมาใช้งานได้หรือยัง รวมทั้งการนำเตาเตาออกจากเตาเผา รอให้เย็นตัว และนำไปบรรจุลงถังสังกะสีต่อไป รูปที่ 4.19 แสดงบรรยากาศการฝึกอบรมขณะทำการเผาเตา

การบรรจุเตาลงถัง

การบรรจุเตาลงถังสังกะสีจะทำในสองลักษณะ คือ การใช้ขี้เถ้าขาวเป็นฉนวน แล้วใช้วิธียัดและตำขี้เถ้าลงข้างๆ ให้แน่น หรือ การใช้วิธีโบกดินเหนียวที่ผสมขี้ถ้าแกลบดำ (อัตราส่วน 1:10) ซึ่งจะสามารถทำงานได้เร็วกว่า และ แข็งแรงกว่า วิธีแรก หลังจากนั้นจึงเจาะปากเตาด้วยมีดเจาะ แล้วจึงทำการโบกปูน ที่ขอบปากเตา และ ขอบถังสังกะสีทั้งหมด หลังจากนั้นจึงทำการใส่ลิ้นเตา และ ยาขอบลิ้นเตาด้วยดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบดำ

ข้อพึงระวัง ->

ต้องใช้ความสามารถเฉพาะ ความประณีต

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา