ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นายพงศกร จองป๋อ วันที่ : 2017-06-04-11:28:47

ที่อยู่ : 25 บ.ตระแบก ม.6 ต.โชคเหนือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าไหมมัดหมี่เป็นที่รู้จักและใช้สอยกันมาช้านานแล้วลวดลายของผ้าไหมมัดหมี่เกิดจากจินตนาการ ของผู้มัดเส้นไหมซึ่งอาจคิดลายขึ้นตามสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ได้พบเห็นทุกวัน เช่น ลาย สัตว์ลายใบไม้ ลายดอกไม้ หรือลายเครื่องใช้ไม้สอยบางอย่าง เช่น ลายบายศรี ลายโคมห้า ลายโคมเจ็ดเป็นต้น อนึ่ง ลายและสีของผ้าไหมมัดหมี่ก็ยังแตกต่างกันไปเป็นแบบอย่างของหมี่อิสานเหนือหมี่อิสานใต้

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นไหมพุ่ง

เส้นไหมยืน

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ที่ใช้
               ๑. กี่ หรือ หูก เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ
                   ๒. ฟันหวี หรือ ฟืม มีลักษณะเป็นกรอบโลหะ ภายในเป็นซี่ถี่ๆ คล้ายหวี แต่ละเส้นจะใช้เส้นด้านยืนสอดเข้าไปช่องละเส้น เรียงลำดับตามความกว้างของหน้าผ้า เส้นยืนให้อยู่ห่างกันตามความละเอียดของผ้า
                  ๓. ตะกอ หรือ เขา มีลักษณะเป็นกรอบไม้ หรือโครงเกล็กภายในทำด้วยลวด หรือซี่โลหะเล็กๆ มีรูตรงกลางสำหรับร้อยด้ายยืน ปกติมี 2 ชุด ถ้าเพิ่มตอกอมากขึ้นจะสามารถสลับลายได้มากขึ้น
                  ๔. กระสวย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่ด้ายเส้นพุ่ง และนำด้ายพุ่งผ่านช่องว่างของฟันหวี แยกหมู่เส้นยืนออกแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งกลับเมื่อเส้นด้ายยืนขัดสับกัน โดทยทำสลับกับการกระทบฟืมเพิ่อให้เส้นด้ายเรียงเข้าด้วยกันเรียบแน่นเป็นระเบียบ
                  ๕. ไม้ไขว้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเส้นด้วยให้เป็นระเบียบ
                  ๖. ไม้ค้ำ เป็นไม้ที่ใช้สอดด้ายยืนไว้ หลังจากนับด้ายเส้นยืน เพื่อทำให้เกิดลวดลายในการทอ ด้วยเทคนิคพิเศษ
                  ๗. ไม้หาบหูก ใช้ประโยชน์ในการดึงเส้นด้ายให้ตึง
                  ๘. ไม้ดาบ หรือไม้หลาบ มีคงามยาว ๒-๓ นิ้ว ลักษณะแบนยาวใช้สอดผ่านด้ายยืน แล้วพลิกขึ้นทำให้เกิดช่องว่างให้กระสวยพุ่งผ่าน
                  ๙. ไม้แป้นกี่ ที่นั่งสำหรับผู้นั่งทอผ้า 
                  ๑๐. เชือกเขา ใช้ดึงเขากับไม้หูกให้ตึง
                  ๑๑. แกนม้วนผ้า เป็นแกนที่อยู่ตรงกันข้ามกับแกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว
                  ๑๒. แกนม้วยด้ายยืน เป็นแกนสำหรับม้วนด้ายยืนจัดเรียงเป็นระเบียบ จำนวนเส้นจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความกว้างของหน้าผ้า และความละเอียดของผ้า ความยาวของเส้นด้ายยืนเท่ากับความยาวของผ้าพับนั้น แกนม้วนเส้นด้ายยืน จะมีที่สำหรับปรับความตึง-หย่อน ของด้ายยืน ซึ่งอยู่ด้านหลังเครื่องทอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการย้อม
                 การย้อมนั้นแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การย้อมเย็นและการย้อมร้อน 
                   การย้อมเย็น นั้นจะนิยมย้อมในหม้อดิน โดยการเตรียมน้ำสีใส่ไว้ในหม้อ จากนั้นนำเส้นฝ้ายไปจุ่มลงในหม้อ ใช้มือคน บีบ จนกระทั่งได้สีตามต้องการ หรือจะทำการหมักไว้เพื่อให้สีที่ได้เข้มขึ้น 
                     การย้อมร้อน เป็นการนำเส้นฝ้ายไปต้มในหม้อที่ใส่น้ำสี ใช้ไม้คนเพื่อให้ฝ้ายโดนน้ำสีอย่างทั่วถึง เมื่อได้สีตามต้องการจึงนำไปซักและตากแห้งซึ่งการย้อมร้อนมีขั้นตอนดังนี้ 
                    1.นำเส้นฝ้ายที่จะไปทำการย้อม มาซักด้วยน้ำสะอาดเพื่อขจัดฝุ่นผงและไขต่าง จากนั้นบีบน้ำออกให้หมาดเพื่อให้สีที่ ย้อมติดเส้นฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ 
                  2.นำเส้นฝ้ายที่บีบหมาดแล้วลงไปต้มในหม้อน้ำสี คนฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สีเข้าไปในเส้นฝ้ายอย่างทั่วถึงประมาณ 30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาย้อม)
                    3.เมื่อได้สีตามต้องการ นำเส้นฝ้ายขึ้นจากหม้อต้ม บิดให้หมาด นำไปซักด้วยน้ำ สะอาด แล้วตากให้แห้ง ถ้าต้องการให้สีเข้มขึ้นสามารถนำมาต้มอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะได้สีตามต้องการ

หมายเหตุ : วัตถุดิบแต่ละชนิดให้สีเหมือนกันแต่คนละโทนสี

สี ชนิดของวัตถุดิบ
           แดง ตัวครั่ง, รากยอ, เปลือกก่อ
             แดงเลือกนก (ส้ม) ผลสะตี
             เขียว เปลือกมะม่วง, เปลือกลิ้นฟ้า, ใบหูกวาง, เปลือกสมอ, สัก
             เหลือง ขมิ้นชัน, แก่นแข, เปลือกขนุน
             ดำ ผลมะเกลือ, ผลกระจาย
             น้ำตาล เปลือกประดู่, เครือโก่ย, ผลหมาก
             เทา เปลือกบก, เหง้ากล้วย
             ม่วงเทา เปลือกหว้า
             ม่วงอ่อน ผลหว้า
             คราม, น้ำเงิน, ฟ้า ต้นคราม

(ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000)

วิธีการทอผ้า
              ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฎ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติ ศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ในโลกงานหนึ่ง
              หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืน และอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัด หรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามีลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา

ขั้นตอนในการทอผ้า 
                 1.
สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
                     2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ 
                     3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา 
                     4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ

การทอผ้าพื้น
                เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น ที่นำเอาด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น

เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
                   การขิด ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆ 
                   การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้ หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสีเดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากๆ มักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า "ซิ่นตีนจก” 
               การทอมัดหมี่
ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่น จะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาด เคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็น อย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ 
                       1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
                       2. มัดหมี่เส้นยืน
                       3. มัดหมี่เส้นยืนและเส้นพุ่ง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา