ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นางประคอง ก่อแก้ว วันที่ : 2017-06-02-19:04:27

ที่อยู่ : 126 บ.ตาปุม ม.5 ต.ตระเปียงเตีย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวเป็นกลุ่มชนใหญ่ของภาคอีสาน กระจายกันอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และมีวัฒนธรรมการทอผ้าอันเป็นประเพณีของผู้หญิงที่สืบทอดกันมาช้านานเกือบทุกชุมชน แต่ละกลุ่ม แต่ละเผ่า ก็จะมีลักษณะและลวดลายการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ ผ้าแพรวา ผ้าขิต ผ้าปูม และผ้าไหมหางกระรอก

วัตถุประสงค์ ->

สร้างรายได้ให้แก่สตรีในหมู่บ้าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  ผ้าไหม

อุปกรณ์ ->

๑. กี่ หรือ หูก เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ
                   ๒. ฟันหวี หรือ ฟืม มีลักษณะเป็นกรอบโลหะ ภายในเป็นซี่ถี่ๆ คล้ายหวี แต่ละเส้นจะใช้เส้นด้านยืนสอดเข้าไปช่องละเส้น เรียงลำดับตามความกว้างของหน้าผ้า เส้นยืนให้อยู่ห่างกันตามความละเอียดของผ้า
                  ๓. ตะกอ หรือ เขา มีลักษณะเป็นกรอบไม้ หรือโครงเกล็กภายในทำด้วยลวด หรือซี่โลหะเล็กๆ มีรูตรงกลางสำหรับร้อยด้ายยืน ปกติมี 2 ชุด ถ้าเพิ่มตอกอมากขึ้นจะสามารถสลับลายได้มากขึ้น
                  ๔. กระสวย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่ด้ายเส้นพุ่ง และนำด้ายพุ่งผ่านช่องว่างของฟันหวี แยกหมู่เส้นยืนออกแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งกลับเมื่อเส้นด้ายยืนขัดสับกัน โดทยทำสลับกับการกระทบฟืมเพิ่อให้เส้นด้ายเรียงเข้าด้วยกันเรียบแน่นเป็นระเบียบ
                  ๕. ไม้ไขว้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเส้นด้วยให้เป็นระเบียบ
                  ๖. ไม้ค้ำ เป็นไม้ที่ใช้สอดด้ายยืนไว้ หลังจากนับด้ายเส้นยืน เพื่อทำให้เกิดลวดลายในการทอ ด้วยเทคนิคพิเศษ
                  ๗. ไม้หาบหูก ใช้ประโยชน์ในการดึงเส้นด้ายให้ตึง
                  ๘. ไม้ดาบ หรือไม้หลาบ มีคงามยาว ๒-๓ นิ้ว ลักษณะแบนยาวใช้สอดผ่านด้ายยืน แล้วพลิกขึ้นทำให้เกิดช่องว่างให้กระสวยพุ่งผ่าน
                  ๙. ไม้แป้นกี่ ที่นั่งสำหรับผู้นั่งทอผ้า 
                  ๑๐. เชือกเขา ใช้ดึงเขากับไม้หูกให้ตึง
                  ๑๑. แกนม้วนผ้า เป็นแกนที่อยู่ตรงกันข้ามกับแกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว
                  ๑๒. แกนม้วยด้ายยืน เป็นแกนสำหรับม้วนด้ายยืนจัดเรียงเป็นระเบียบ จำนวนเส้นจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความกว้างของหน้าผ้า และความละเอียดของผ้า ความยาวของเส้นด้ายยืนเท่ากับความยาวของผ้าพับนั้น แกนม้วนเส้นด้ายยืน จะมีที่สำหรับปรับความตึง-หย่อน ของด้ายยืน ซึ่งอยู่ด้านหลังเครื่องทอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
                     2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ 
                     3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา 
                     4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา