ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอผ้าไหม

โดย : นางทองพาย ละอองดี วันที่ : 2017-05-25-15:54:37

ที่อยู่ : 15 หมู่ 8 ตำบล หนองเรือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้ามัดหมี่ของชาวชุมพลบุรีใช้ลายเก่าแก่ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆกันมา   และมีการพัฒนาลายใหม่

ๆ ขึ้นเพื่อความแปลกใหม่และสวยงาม เหมาะกับความต้องการของตลาด  แต่ไม่ว่าจะพัฒนาลายไปมากน้อยเพียงใด  ลายดั้งเดิมยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญของลายประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นอยู่นั่นเอง  จากการสอบถามผู้สูงอายุที่มีอาชีพทอผ้าในท้องถิ่นถึงที่มาของลายผ้า  พบว่าต้นแบบมาจากพืช  ส่วนของพืช   สัตว์ และเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน  ซึ่งบางอย่างสูญหายไปแล้ว  เนื่องจากไม่มีการสืบทอด  แต่ยังปรากฏต้นเค้าอยู่บนลายมัดหมี่   แสดงถึงวิถีชีวิตของคนพื้นเมือง  แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้างตามความต้องการของตลาด     

               นางทองพาย  ละอองดี   เป็นผู้บุกเบิกกลุ่มทอผ้าไหมบ้านยางขามเฒ่า  เป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้าไหม  ซึ่งเป็นอาชีพที่มีการทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  สมัยบรรพบุรุษสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น  ปัจจุบันในหมู่บ้านชุมชนยังมีการทอผ้าเพื่อเป็นอาชีพเสริมของชุมชน  และการสร้างโรงทอผ้าไหมเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน  โดยมีการบริหารจัดการแบบกลุ่ม

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทอเป็นผ้าผืน : นำเส้นไหมไกวใส่อัก   นำไปคนไหม   ต่อเข้าฟืม,เข้ากี่ ทอไหมที่ย้อมสีแล้ว นำไปไกวใส่อัก แล้วคนไหมตามขนาดของฟืม ต่อเข้าฟืม เสร็จแล้วนำไปเข้ากี่ทอผ้าไหมทอเป็นผ้าผืนต่อไป

การทอผ้ามัดหมี่จะมีอยู่ทั่วไป 2 ลักษณะ คือ

1. การทอผ้ามัดหมี่ 2 ตะกรอ เป็นลายขัดธรรมดา ผ้าจะใช้ได้เพียงหน้าเดียว

                   2. การทอผ้ามัดหมี่ 3 ตะกรอ เป็นการทอผ้าลายสอง เนื้อผ้าจะแน่น สามารถใช้ผ้าได้ทั้ง 2 ด้าน โดยด้านหน้าจะให้สีสดใส และลวดลายชัดกว่าด้านใน

การแปรรูปผลิตภัณฑ์

                  ผ้าไหมที่เป็นผืนผ้า  สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์โดยการนำเศษผ้าไหมที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้ามาประดิษฐ์คิดค้น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋า ย่าม กล่องทิชชู  หมอนอิง ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้าม่าน ดอกไม้ผ้าไหม   กระเป๋าโทรศัพท์  เป็นต้น 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา