ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลาร้าบอง

โดย : สังวาลย์ เนตรน้อยนาง วันที่ : 2017-05-23-17:41:27

ที่อยู่ : 16 หมู่9 ตำบลกระเบื้อง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำปลาร้าบอง  หรือการแปรรูปอาหารจากปลาเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น  ที่มีการแปรรูปเพื่อบริโภคหรือเก็บรักษาให้อาหารคงไว้ได้นาน  เนื่องจากอำเภอชุมพลบุรี  เป็นอำเภอที่มีลำน้ำมูลไหลผ่าน  มีการทำนาเป็นอาชีพหลัก  ทำให้มีปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย  เช่น ปลาช่อน  ปลาดุกนา  ปลาสร้อย  ปลาขาว  ปลากด  ปลาหมอ  เป็นต้น  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2542 มีการรวมกลุ่มสตรีทำปลาร้าบองเพื่อจำหน่าย  เนื่องจากขณะเดียวกันผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่เคยผลิตปลาร้าบริโภคเองหันไปซื้อปลาร้ารับประทานมากขึ้น โดยกลุ่มได้ทำตามสูตรที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ  รวมทั้งผู้ผลิตปลาร้าเริ่มมีการพัฒนาสูตรการผลิตปลาร้าจนเป็นที่นิยมของตลาด ทำให้ในปัจจุบันสมาชิกภายในกลุ่มมีรายได้หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1. เนื้อปลาร้าบด

2. หอมแดง

3. กระเทียม

4. ปลาย่าง

5. พริกแห้ง

6. ข่า

7. ตะไคร้

8. มะขามเปียก

9. ใบมะกรูด

10. น้ำตาลทรายแดง

11. เกลือไอโอดีน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง กระเทียม ล้างให้สะอาด จากนั้นนำข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด ไปหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปคั่วด้วยไฟปานกลางจนเหลืองสุก และนำมาโขลกให้ละเอียดพักไว

2. นำปลาย่าง ไปย่างไฟอ่อน ๆ แล้วโขลกให้ละเอียดพักไว้

3. นำพริกแห้ง คั่วไฟปานกลางพร้อมใส่เกลือไอโอดีน ประมาณ 15 นาที  แล้วนำมาโขลกให้ละเอียด

4. นำมะขามเปียก มาสับให้ละเอียดพักไว้

5. นำปลาร้าไปล้างให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ นำไปสับให้ละเอียด

6. นำส่วนผสมตามข้อ 1 - 5 ผสมรวมกันโขลกให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วปรุงรสด้วยเกลือและน้ำตาลทราย

7. นำส่วนผสมที่ปรุงรสแล้วไปคั่วด้วยไฟปานกลางให้สุกพักให้เย็น แล้วบรรจุใส่ภาชนะ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา