ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นางสมบัติ สุภิษะ วันที่ : 2017-05-16-21:47:34

ที่อยู่ : 147 ชุมชนศาลปู่จันทร์ ม.3 ต.ลำดวน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันมาก เนื่องจากการเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย ไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

 

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

รำ  ปลายข้าว  ข้าวเปลือก

อุปกรณ์ ->

โรงเรือนหรือเล้า  สุ่ม  รางอาหาร  ภาชนะใส่น้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ไก่พื้นเมือง เป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย กินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้ เริ่มต้นจากซื้อลูกไก่อายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไปมาเลี้ยง สร้างโรงเรือนหรือเล้าให้ไก่นอนแบบง่ายๆ โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่นำมากั้นเป็นเล้า มุงหลังคาด้วยแฝกหรือจาก พื้นเล้าต้องไม่ชื้นแฉะ อาจปูด้วยแกลบ ขี้เลื่อย หรือฟางแห้ง หนาอย่างน้อย 4 ซ.ม. และต้องเปลี่ยนทุกๆ 3 เดือนให้หนาเท่าเดิมอยู่เสมอ เล้าไก่ต้องมีประตูเปิด-ปิดได้ เพื่อให้ไก่ออกหาอาหารกินเอง  ภายนอกได้

การให้อาหารไก่

1. มีน้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และเปลี่ยนน้ำทุก ๆวัน

2. ให้อาหารหลายๆ ชนิดผสมกันทุกเช้า-เย็น ได้แก่ ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว เป็นต้น หรือใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมกับรำข้าวหรือปลายข้าวก็ได้ ที่สำคัญควรมีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่น และผักสด เช่น ใบกระถิน ใบแค ให้ไก่กินทุกวัน เพื่อเสริมสร้างแร่ธาตุและไวตามิน

อุปกรณ์

ข้อพึงระวัง ->

1. ปัญหาที่เกิดจากโรคระบาดไก่ที่สำคัญๆ เช่น นิวคาสเซิล อหิวาต์ไก่ โรคหวัด โรคฝีดาษ ฯลฯ ทำให้ไก่ตายปีละมากๆหรือเรียกว่าไก่ตายยกเล้าซึ่งสามารถสรุปหาสาเหตุที่สำคัญได้คือ 

-เกษตรกรให้ความสนใจต่อไก่น้อยไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรค
-ไก่พื้นเมืองปราดเปรียวจับได้ยากเพราะระบบการเลี้ยงแบบปล่อย
- วัคซีนป้องกันโรค หาได้ยากในท้องถิ่นและไม่สะดวกในทางปฏิบัติระดับท้องถิ่น

2. ปัญหาที่เกิดจากไก่พื้นเมืองให้ผลผลิตต่ำ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงไก่เพื่อการค้าต้องใช้เวลานาน ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ที่หวังรวยเร็วเกิดความไม่ทันใจ 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา