ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นางมณี เดชพมรัมย์ วันที่ : 2017-05-16-14:18:09

ที่อยู่ : 99 ม.4 ต.บ้านแร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมู่ 4 บ้านแร่ มีการประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทั้งด้านการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองจึงเป็นอาชีพที่เสริมรายได้ และลดรายจ่ายในชุมชนเป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไก่พื้นเมือง อายุ 2 สัปดาห์ 

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด
2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด
4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต

เลี้ยงไก่พื้นเมืองให้มีประสิทธิภาพดี เทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญ

 

สำหรับรูปแบบการเลี้ยง ก็คล้ายกับไก่พื้นเมืองทั่วไป สามารถปล่อยเลี้ยงให้ไก่หาอาหารกินได้อย่างอิสระ ดังนั้นเกษตรกรที่อยู่ตามชนบทสามารถเลี้ยงติดบ้านไว้ 10-20 ตัว เพื่อเป็นอาหารหรือไว้จำหน่ายในท้องถิ่นก็ทำได้ แต่ทว่าถ้าต้องการให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดโอกาสสูญเสีย ควรมีการจัดการที่เป็นระบบและแยกส่วนเลี้ยงไก่กับที่อยู่อาศัยออกจากกัน อย่างชัดเจน

วิธีการเลี้ยง

สำหรับโรงเรือนที่ เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไก่พื้นเมืองในปัจจุบัน สามารถก่อสร้างตามต้นทุนหรือวัสดุที่มีในท้องถิ่น ให้เป็นที่อยู่อาศัย หลบแดด ลม ฝนได้ดี ภายในโรงเรือนมีรังไข่ มีขอนสำหรับให้ไก่เกาะนอนตอนกลางคืน มีอุปกรณ์ให้น้ำ ให้อาหาร ขณะเดียวกันรอบ ๆ โรงเรือนจำเป็นต้องมีอาณาบริเวณให้ไก่สามารถออกมาคุ้ยเขี่ย และแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติได้ตามปกติ เนื่องจากปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ ต้องให้สัตว์มีสวัสดิภาพที่ดี ซึ่งทำให้ไก่ไม่เครียด ยิ่งถ้าบริเวณที่ปล่อยออกมาเป็นแปลงหญ้าหรือสวนก็ยิ่งดี เพราะไก่จะได้จิกกินหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดี ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของไก่โดยตรง ทว่าบริเวณที่ปล่อยนั้น จำเป็นต้องมีรั้วหรือตาข่ายล้อมรอบให้มิดชิด เพื่อป้องกันสัตว์พาหะที่นำโรคมาสู่ไก่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่เข้ามาทำลายไก่ด้วย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา