ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายน้อย นิราศภัย วันที่ : 2017-05-13-16:33:48

ที่อยู่ : 47 หมู่ที่ 3 ตำบลปราสาททนง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดีสอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานานซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบทและไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

การมีรายได้เพิ่มขึ้น

ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งตนเอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

รำ  ปลายข้าว  ข้าวเปลือก

อุปกรณ์ ->

โรงเรือน ภาชนะใส่น้ำ และอาหาร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เทคนิคการเพาะพันธุ์ไก่พื้นเมืองให้ได้ลูกดก

             1. ในการผสมพันธุ์ ไก่ตัวผู้ 1 ตัว   ต่อตัวไก่ตัวเมีย 5 ตัวและขังแยกตัวผู้กับตัวเมีย

             2. จากนั้นปล่อยให้ตัวผู้มาผสมพันธุ์กับตัวเมียในช่วงเย็นเวลา 16-18.00 น. ให้เว้นระยะ 3-5วันต่อครั้ง สำหรับข้อดีในการผสมพันธุ์ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะทำให้น้ำเชื้อไก่พ่อพันธุ์แข็งแรง สามารถง่ายในการจัดการและไม่มีต้นทุน ให้อัตราการออกไข่สูงสุด 10-15 ฟอง อัตราการฟักประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์

            3. หลังจากนั้นเมื่อจะทำการผสมพันธุ์ต่อเนื่อง หลังจากแม่ไก่ฟักออกเป็นตัวแล้ว นำลูกไปอนุบาลให้แม่ไก่ไปอาบน้ำจนเปียกแล้วขังให้ไก่ แห้งอทำต่อเนื่อง 2 – 3 วัน แล้วนำไปผสมพันธุ์ต่อ จะได้การขยายพันธุ์ รวดเร็ว ประหยัดเวลา ได้กำไร

 

เทคนิคและวิธีการให้อาหารไก่พื้นเมือง
1.ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่
2.การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหาร
3. สำหรับไก่ใหญ่ ควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือนข้าวแห้งเพื่อลดต้นทุนการผลิต
4.ควรให้อาหารไก่เป็นเวลาเช้ากลางวังเย็นหรืออย่างน้อยเช้าและเย็น
5. น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไปซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย
6. ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน  ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด
7. ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

ข้อพึงระวัง ->

1. ปัญหาที่เกิดจากโรคระบาดไก่ที่สำคัญๆ เช่น นิวคาสเซิล อหิวาต์ไก่ โรคหวัด โรคฝีดาษ ฯลฯ ทำให้ไก่ตายปีละมากๆหรือเรียกว่าไก่ตายยกเล้าซึ่งสามารถสรุปหาสาเหตุที่สำคัญได้คือ 

-เกษตรกรให้ความสนใจต่อไก่น้อยไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรค
-ไก่พื้นเมืองประเปรียวจับได้ยากเพราะระบบการเลี้ยงแบบปล่อย
- วัคซีนป้องกันโรค หาได้ยากในท้องถิ่นและไม่สะดวกในทางปฏิบัติระดับท้องถิ่น

2. ปัญหาที่เกิดจากไก่พื้นเมืองให้ผลผลิตต่ำ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงไก่เพื่อการค้าต้องใช้เวลานาน ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ที่หวังรวยเร็วเกิดความไม่ทันใจ แต่ประการสำคัญที่สุดคือ แม้ไก่พื้นเมืองจะให้ผลผลิตต่ำ แต่กำไรที่ได้นั้นนับเป็นกำไรที่แท้จริงอย่างไรก็ดี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา