ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายสำลี แจ่มใส วันที่ : 2017-05-09-12:51:02

ที่อยู่ : 2 หมู่ที่ 2 ต.บึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมู่ 2 ตำบลบึง มีแหล่งน้ำที่สำคัญชื่อว่า ลำห้วยระวี มีน้ำเพียงพอสำหรับใช้ในการเกษตรตอลดทั้งปี ชาวบ้านจึงมีการปลูกผักเป็นอาชีพเสริม

วัตถุประสงค์ ->

1. ศึกษาหาความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์

2. การรวมกลุ่มฯ

3. มีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การผลิตแบบไร่นาสวนผสม  หรือการทำเกษตรแบบผสมผสาน

                    เป็นวิธีทำการเกษตรที่มีการเพาะปลุกหรือเลี้ยงสัตว์หลายๆๆชนิดอยู่พื้นที่เดียวกัน  มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตหนึ่ง  เพื่อใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร  โดยทั่วไปการผลิตแบบนี้มักเป็นรูปแบบการเกษตรประเภททำเพื่อพอกินพอใช้  ทำโดยสมาชิกในครัวเรือน  พอมีเหลือจึงขาย  ซึ่งการเกษตรแบบนี้จัดว่าเป็นการเกษตรแบบดั้งเดิม  ที่เกษตรกรสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง  แต่อาจไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน  เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องมีรายได้หลักเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว  รวมทั้งเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน  ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย  หลักหารสำคัญของการผลิตแบบนี้คือ  การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ  ลดการใช้สารเคมีการเกษตรหรือใช้แนวทางเลือกอื่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งการเกษตรแบบนี้ถ้าได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรทำให้มีงานทำตลอดปี  มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวและลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากส่วนภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลางได้

ขั้นตอนการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์

•  การไถพรวนและเตรียมแปลง ต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะทำการวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชไม่ทันให้เอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะมาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะมาวางไข่ในพงหญ้าด้วย

•  ปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลง ให้ปลูกก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) พืชสมุนไพรที่กันแมลงรอบนอกเช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้ หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำโดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมาเช่น ดาวเรือง กระเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่างๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุกๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย

•  การแยกแปลงปลูกยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องมีการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ที่ตากแห้งแล้วจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ห้ามใช้มูลสัตว์สด) ทำการพรวนคลุกดินให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก

ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลง ให้ปลูกที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ๋ยฉ่าย คื่นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกระเพรา โหระพา พริกต่างๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วัน พรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่านแต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีจึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน (50-55 C ) วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วมือจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาที แล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดา หรือ สะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ

การเตรียมน้ำสมุนไพรไล่แมลง ก่อนรดน้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบ ตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็กๆ ตีใบกระเพรา โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3-7 กันก่อนแก้ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้ว จะแก้ไขไม่ทัน เพราะว่าไม่ใช้สารเคมี ควรดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

การเก็บเกี่ยว เมื่อถึงอายุควรเก็บเกี่ยวทันทีถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสารสมุนไพรในการปลูกพืชอินทรีย์ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยกว่าพืชเคมี ประมาณ 34.40 % ผลดีคือทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้องเสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชโดยใช้สารเคมีเลย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา