ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำน้ำยาอเนกประสงค์

โดย : นางสมจิตร จันดากุล วันที่ : 2017-07-04-14:43:35

ที่อยู่ : 110 หมู่ที่ 8 บ้านหนองเสือ ตำบลศรีสุข

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

"น้ำยาเอนกประสงค์สูตรน้ำหมักชีวภาพผลไม้รสเปรี้ยว" มรดกทางภูมิปัญญาของไทย: มีคุณสมบัติเด่นคือ มีความเป็นกรดสูงใช้สำหรับการทำความสะอาดในรูปแบบต่างๆ ได้ดี ใช้ได้ทั้งล้างจาน ซักผ้า ขัดห้องน้ำ ล้างรถ ถูบ้าน ล้างเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ทำจากทั้งจากโลหะหรืออโลหะ ฯลฯ ข้อดี ก็คือค่อนข้างจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะมีจุลินทรีย์ชนิดดีจากน้ำหมักผลไม้รสเปรี้ยวเป็นตัวช่วยย่อยสลายและขจัดสิ่งสกปรกทั้งสารเคมี สีและกลิ่น เช่น ถ้านำไปซักผ้า จะช่วยป้องกันเชื้อราได้ ขัดห้องน้ำก็จะช่วยกำจัดกลิ่นได้ น้ำที่เหลือจากการล้างจาน ซักผ้า ก็สามารถนำไปรดต้นไม้ ช่วยย่อยสลายสารอาหารในดินให้เป็นปุ๋ยต่อไปได้อีก นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตก็ถือว่าต่ำมาก สามารถทำใช้ได้เองอย่างง่ายๆ รวดเร็ว

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

Texopon N70     1 กิโลกรัม (สารที่ช่วยให้เกิดฟอง)
• เกลือป่น     1 กิโลกรัม
• น้ำหมักชีวภาพผลไม้รสเปรี้ยว     5 ลิตร
• น้ำเปล่า     10 ลิตร (ถ้าเป็นน้ำประปาควรตั้งผึ่งอากาศไว้ให้คลอรีนระเหยออกไปก่อนอย่างน้อย 1 วัน เพราะคลอรีนเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ อาจจะมีผลต่อจุลินทรย์ในน้ำหมักได้)
 

อุปกรณ์ ->

• กะละมังก้นเรียบ (ถ้าเป็นกะละมังก้นไม่เรียบจะทำให้การคนไม่ทั่วถึง น้ำยากับเกลือจะไปติดอยู่ในร่อง)
• ไม้พาย ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ไม้หรือทัพพีอะไรก็ได้

ขวด ( PET) บรจุน้ำยาอเนกประสงค์ ขนาด 600 cc.

ถังพลาสติก ขนาดความจุ 32 ลิตร

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

• ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำสะอาดในถังพลาสติก คนให้น้ำตาลละลาย จากนั้นหั่นผลไม้รสเปรี้ยวให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงในถังที่ละลายน้ำตาลไว้  คนให้เข้ากันควรเลือกใช้ถังขนาดที่เมื่อใส่วัตถุดิบทั้งหมดแล้วเหลือที่อากาศเพียงเล็กน้อย (เหลือที่ประมาณ 1 ใน 10 ส่วน) แล้วปิดฝาถังให้สนิท หมักไว้ประมาณ 1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับว่าจะนำน้ำหมักนั้นมาใช้ประโยชน์อะไร? เวลาจะใช้ ให้กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาน้ำมาใช้ บรรจุใส่ขวดที่เตรียมไว้ พร้อมใช้งานหรือจำหน่ายต่อไป

• การหมักในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกจะเกิดฟองอากาศขึ้นมาจำนวนมาก มีฝ้าสีขาวขึ้นที่ผิวด้านบนน้ำหมัก และมีกลิ่นหอมคล้ายไวน์ นั่นถือว่าการหมักได้ผลดี แต่ถ้าที่ผิวหน้ามีราสีดำขึ้นและมีกลิ่นเหม็นเน่า แสดงว่าเกิดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ตัวร้ายไม่ควรนำไปใช้งาน ถ้านำไปเททิ้งที่ใดที่นั่นก็จะมีกลิ่นเหม็นเน่ามากๆ ไปนานเลย กลิ่นเหมือนส้วมแตก ถ้าเทบนลานปูนซีเมนต์ที่ถูกแสงแดดจัดๆ ส่องตลอดวันก็จะหายเหม็นเร็วขึ้นหน่อย แต่ก็มีบางคนนำไปใช้กำจัดวัชพืชโดยใช้ชนิดเข้มข้นฉีดพ่นไปบนใบวัชพืช ใบวัชพืชจะแห้งเหี่ยวเฉาตาย แต่ขอบอกว่า "เหม็นมาก" และเหม็นนานกว่าจะหาย และเมื่อวัชพืชตายแล้วต้องฉีดพ่นซ้ำด้วย EM เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้ฟื้นกลับคืนมา 
 
• ถ้าจะนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้งานโดยตรงเพื่อทำความสะอาดและใช้ประโยชน์จากการทำงานของจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ (เช่น นำไปถูพื้น ล้างพื้น โดยไม่นำไปผสมในผลิตภัณฑ์) ก็ไม่ต้องหมักนานถึง 3 เดือน เริ่มนำมาใช้งานได้หลังจากหมัก 1-2 สัปดาห์ หรือเห็นฟองจำนวนมากผุดขึ้นมาจากน้ำหมัก แสดงว่าจุลินทรีย์ชนิดดีกำลังทำงานอย่างเต็มที่ 
 
• ถ้าจะนำน้ำหมักฯ ไปผสมเพื่อทำผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน (ทำสบู่ น้ำยาสระผม น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน) จะต้องหมักไว้อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้กระบวนการหมักสิ้นสุดอย่างสมบูรณ์ หากหมักไม่ถึง 3 เดือน กระบวนการหมักยังดำเนินต่อไป เมื่อผสมเป็นผลิตภัณฑ์แล้วเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ระยะหนึ่ง จะทำให้กลิ่นของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนไปไม่น่าใช้ (จะมีกลิ่นคล้ายผลไม้ดอง) 

• น้ำหมักผลไม้บางสูตรโดยเฉพาะที่จะใช้กับผิว เช่น น้ำหมักชีวภาพมะเฟือง (ที่จะใช้ทำโลชั่นมะเฟืองหรือโทนเนอร์มะเฟือง) ต้องหมักนานถึง 1 ปี เพื่อให้กรดอินทรีย์แตกตัวเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุด ซึ่งมีหลายคนบอกว่าเมื่อใช้แล้วจะให้ผลดีกว่าน้ำหมักที่หมักในระยะเวลาสั้นๆ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา