ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายกระจอม วิยาสิงห์ วันที่ : 2017-07-04-14:22:42

ที่อยู่ : 29 หมู่ที่ 5 บ้านขาม ตำบลศรีสุข

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ มีกลุ่มอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

แม่ไก่พันธุ์เนื้อ

อุปกรณ์ ->

ถังน้ำ

รางอาหารขนาดยาว

ตาข่ายขนาด 1.20 X 30 ม.

ลวดมัดตาข่าย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการคัดเลือกและผสมพันธุ์ไก่พื้นเมือง
1. เริ่มต้นจากสายพันธุ์ไก่ชนเป็นหลัก เนื่องจากไก่ชนให้ทั้งเนื้อและชนเก่ง รวมทั้งพันธุ์ค่อนข้างนิ่ง คือสม่ำเสมอและที่สำคัญคือ หาได้ง่ายมีอยู่ทั่วไปตามบ่อนหรือฟาร์มไก่ โดยสามารถขอซื้อได้จากเจ้าของไก่ชน โดยคัดเลือกจากตัวที่มีลักษณะดี
2. ควรมีคอกผสมพันธุ์ไว้เฉพาะ โดยมีอัตราส่วนพ่อต่อแม่ไม่เกิน 1:5 หรือถือหลักไว้ว่า ให้ตัวที่ดีที่สุดผสมกับตัวที่ดีที่สุด เท่านั้น อย่าเสียดายไก่ที่มีลักษณะไม่ดี เช่น ขาหรือเล็บหยิกเกิน ให้คัดออกทันที
3. อย่าให้มีการผสมเลือดชิด คือพ่อหรือแม่ผสมลูก หรือพี่น้องคอกเดียวกันผสมกัน ควรมีการเปลี่ยนสายเลือดบ่อยๆ โดยการเสาะแสวงหาพ่อพันธุ์ดีๆ มาเปลี่ยนสายเลือด

วิธีการคัดเลือกและการฟักไข่
ลักษณะการฟักไข่และการเลี้ยงลูกไก่ของแม่ไก่พื้นเมืองเป็นลักษณะทีสำคัญอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามหลักวิธีการคัดเลือกไข่ฟัก และดูแลแม่ไก่ในระหว่างฟักไข่ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงพ่อและแม่พันธุ์ดี
2. ภายนอกสะอาด ไข่รูปทรงปกติไม่ร้าว เบี้ยว เปลือกบาง ช่องอากาศหลุดลอย หรืออยู่ผิดที่ มีจุดเลือดโตเป็นต้น
3. ขนาดไข่ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินควร
4. ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 14 วัน โดยเฉพาะในฤดูร้อนอุณหภูมิที่เก็บไข่ฟักควรอยู่ระหว่าง 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ไม่ควรสูงกว่า 65 องศาฟาเรนไฮต์ (18.3องศาเซลเซียส) ความชื้นในห้องเก็บ 80-90 % อาจเก็บไว้ใกล้ๆ ตุ่มน้ำก็ได้
5. ควรมีการเลี้ยงไก่วันละครั้งก่อนแม่ไก่จะฟัก
6. จำนวนไข่ฟักควรอยู่ระหว่าง 10-12 ฟอง ในฤดูร้อนไข่มักฟักออกไม่ดี ดังนั้น ไข่ 1-2 ฟองแรก ควรนำมาบริโภคจะดีกว่า เพราะมีขนาดเล็กกว่าปกติ อายุการเก็บมักจะนานเกิน 14 วัน เชื้อมักไม่ดี และจะเป็นการแก้ปัญหา ไข่ล้นอกแม่ ไปในตัวด้วย
7. ควรเสริมอาหารโปรตีน โดยเน้นใช้วัสดุเศษเหลือทางการเกษตรภายในท้องถิ่น เช่น ใบหรือเมล็ดพืชตระกูลถั่ว แมลง/ตัวหนอนที่มีตามธรรมชาติ เป็นต้น โดยก่อนนำมาใช้ควรทำลายสารพิษที่มีในวัตถุดิบเหล่านั้นเสียก่อน เน้นให้ลูกไก่ช่วงอนุบาล ถึงระยะเติบโตช่วงแรก และช่วงแม่ไก่ก่อนให้ไข่ (หรือช่วงผสมพันธุ์)
8. การผสมข้ามพันธุ์กับพ่อไก่พันธุ์ไข่ จะทำให้ไก่ลูกผสมเพศเมียที่ได้ไข่ดก โดยมีผลผลิตไข่เฉลี่ยประมาณ 120-150 ฟอง/ปี ส่วนลูกไก่เพศผู้ควรนำไปตอน

การตอนแล้วนำไปขุน ทำให้เนื้อไก่มีคุณภาพสูงขึ้น จะทำให้เนื้อนุ่มไม่เหนียวเกินไป เป็นที่ต้องการของตลาดข้าวมันไก่ ราคาจำหน่ายจึงสูงกว่าปกติ ทำให้ผู้เลี้ยงมีรายได้เพิ่มขึ้น อนึ่งวิธีการทำเช่นนี้ ควรใช้วิธีตอนแบบผ่าข้าง คือ เอาอัณฑะของเพศผู้ออกทั้งสองข้าง ขนาดไก่ที่เหมาะสมสำหรับการนำมาตอนควรมีอายุประมาณ 2 เดือน หรือมีขนาดน้ำหนักประมาณ 0.8 กิโลกรัม ซึ่งหลังจากตอน 2-3 เดือน สามารถนำไปจำหน่ายได้

การผสมข้ามพันธุ์กับพ่อไก่พันธุ์เนื้อ ลูกไก่ที่ได้จะโตเร็ว แต่ไข่ไม่ดก วิธีนี้เหมาะสำหรับการเร่งผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมืองในช่วงที่ตลาดต้องการ ซึ่งราคาจำหน่ายอาจต่ำกว่าไก่พื้นเมืองแท้

9. ควรทำกรงลูกไก่เพื่อแยกลูกต่างหาก แม่ไก่จะได้ให้ไข่เร็วขึ้น ลูกไก่จะได้รับน้ำ-อาหาร ความอบอุ่น และวัคซีนอย่างสมบูรณ์
10.  ที่ให้น้ำ-อาหาร ควรมีให้พร้อม ส่วนอุปกรณ์ป้องกันโรคมีไว้ให้พร้อมที่จะใช้งานได้ทันที

ข้อควรปฏิบัติระหว่างแม่ไก่ฟักไข่
1. แม่ไก่กำลังไข่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรให้วัคซีนหรือยาใดๆ ถ้าจะให้ควรให้ก่อนระยะไข่เพราะอาจทำให้แม่ไก่หยุดไข่
2. ถ้าแม่ไก่ไข่มากเกินไป ควรแบ่งไข่ออกไปกินบ้าง การฟักไข่แต่ละครั้ง ควรมีไข่ไม่เกิน 12 ฟอง
3. ควรรู้จักการส่องไข่ เพื่อให้แม่ไก่ฟักเฉพาะไข่ที่มีเชื้อ
4.  เมื่อแม่ไก่ฟักเป็นตัวแล้ว ควรแยกลูกไก่ไปเลี้ยงในกรงกก (คอกอนุบาลลูกไก่) ปล่อยให้แม่เป็นสาวฟื้นตัวได้เร็ว ไข่เร็ว ฟักเร็ว ผู้เลี้ยงจะได้เงินเร็ว
5.  ระยะกกลูกไก่ ควรใช้หัวอาหารหรืออาหารสำเร็จรูปเลี้ยง แล้วค่อยๆ เติมอาหารธรรมชาติเข้าไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 3 สัปดาห์ ก็สามารถปล่อยลูกไก่ลงเลี้ยงแบบพื้นบ้านต่อไป
6.  ระยะกกลูกไก่ 3 สัปดาห์ ทำวัคซีนได้ถึง 4 ครั้ง (ถ้าปล่อยให้แม่กกและเลี้ยงเองตามธรรมชาติรับรองว่าจับทำวัคซีนได้ไม่ครบ)
7.  ลูกไก่ระยะกก ควรดูแลให้ความอบอุ่น น้ำและอาหารอย่าให้ขาด
8.  รังไข่สำหรับแม่ไก่ ควรมีจำนวนพอเพียงกับแม่ไก่ รังต้องสะอาด บางครั้งถ้าใช้ใบตระไคร้หรือเศษใบยาสูบตากแห้งรองรังไข่จะไม่มีไรไก่รบกวน
9.   คอกไก่ควรทำความสะอาดอยู่เสมอ และพ่นยากำจัดไรที่พื้นคอกเป็นประจำเดือนละครั้ง
10.  แม่ไก่ที่ให้ไข่และฟักไข่เกิน 4 รุ่นแล้ว ควรคัดออกไป ใช้แม่ไก่ใหม่แทน เพราะแม่ไก่แก่เกินไป ผลผลิตที่ได้ไม่ดีเท่าแม่ไก่รุ่นใหม่

โรงเรือนไก่พื้นเมือง
โรงเรือนนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกที่ควรคำนึงถึง แบบของโรงเรือนควรเป็นแบบที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก ราคาค่อนข้างต่ำ เพราะทำจากวัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะสร้างโรงเรือนแบบใด ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. ระบายอากาศร้อนได้ อากาศถ่ายเทสะดวก กันลมโกรก และกันฝนสาดได้ดี
2. อากาศในโรงเรือนควรเย็นสบาย ไม่อับชื้น
3. สร้างง่าย ประหยัดเงิน
4. ทำความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง
5. สะดวกต่อการเข้าไปปฏิบัติดูแลไก่

ข้อแนะนำในการสร้างโรงเรือน
1. ควรใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ไม้ไผ่ ไม้ต้นกลมขนาดเล็ก แกลบ ทราย
2. คอกไก่ควรแยกห่างจากตัวบ้านเรือน
3. โรงเรือนมีฝาทั้ง 4 ด้าน ใช้ไม้กั้นห่างกัน 1 นิ้ว หลังคา อาจมุงด้วยหญ้าแฝก ตองตึง และหญ้าคา เทลาดประมาณ 30-40 องศาเซลเซียส ประตูคนเข้าควรกว้างและสูงให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวก พื้นโรงเรือนถ้าเป็นคอนกรีตจะทำความสะอาดง่าย ถ้าเป็นพื้นธรรมดาควรถมด้วยทรายหรือดินให้มีระดับสูงกว่าธรรมดา 10 เซนติเมตร ป้องกันน้ำท่วม แล้วรองพื้นด้วยแกลบ ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว หรือฟางสับ หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร
4.  คอนสำหรับไก่นอน ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้ระแนง จัดเป็นคู่ห่างกัน 1 นิ้ว สูงจากพื้น 1-1.5 เซนติเมตร
5. รังนอนกกลูกของแม่ไก่ควรสูงจากพื้น 40-50 เซนติเมตร ส่วนรังวางไข่ควรอยู่ห่างจากคอนนอนและอยู่ตรงข้ามกัน เพื่อป้องกันไก่ที่ออกไข่ไปนอน และควรทำให้ครบจำนวนแม่ไก่เพื่อป้องกันการแย่งวางไข่
6. บริเวณรอบนอกเล้าไก่ควรทำรั้วกั้นรอบบริเวณ โดยใช้ไม้ไผ่ตีระแนง
7. หมั่นตรวจดูรังฟักอยู่เสมอว่ามีตัวหมัด เหา ไร หรือไม่ หากมีให้เผาไฟเสียป้องกันไม่ให้มันแพร่พันธุ์ต่อไป เพราะไรเป็นศัตรูสำคัญในการบั่นทอนสุขภาพของไก่ หากมีเหา ไรเหลืออยู่ในรัง เมื่อลูกไก่กะเทาะเปลือกออกมา จะถูกตัวเหา ไรกัดกินเลือด ทำให้ลูกไก่เสียสุขภาพไปตั้งแต่ยังเล็กๆ ฉะนั้นขอให้ระวังเรื่องนี้ให้จงหนัก
8. หมั่น ในหน้าร้อน (มีนาคม-เมษายน) แม่ไก่มักจะฟักไข่ออกไม่ดี ควรทำการพ่นน้ำที่ฟักไข่เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ พ่นเช้า-บ่าย จะช่วยทำให้ไข่ฟักออกได้มากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

. ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน

2.1 โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก

2.2 ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ 7 - 15 ฟอง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา