ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง

โดย : นายถนอม สิงจานุสงค์ วันที่ : 2017-07-04-13:59:01

ที่อยู่ : 16 ม.9 บ้านจงเจริญ ตำบลกระออม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงไก่บ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริมทำที่บ้าน มีข้อจำกัดก็คือต้องมีพื้นที่บริเวณบ้านเพื่อให้ไก่ได้ออกหากินตามธรรมชาติ ไม่มีสัตว์เลี้ยงอย่างเช่นสุนัขคอยรบกวน

อาจทำโรงเรือนเล็กๆไว้ให้ไก่นอนหรือเป็นที่หลบแดดหลบฝนและเป็นที่สำหรับทำรังให้ไก่ไข่ หากต้องการจำกัดพื้นที่เพื่อให้ดูแลง่ายอาจใช้ตาข่ายซึ่งมีขายอยู่ทั่วไปล้อมบริเวณโรงเรือนและพื้นที่ที่ต้องการให้ไก่ได้เดินเล่นและออกหากินตามธรรมชาติ

หากต้องการให้ไก่โตเร็วและมีน้ำหนักดี นอกจากให้อาหารอย่างเช่น ข้าวเปลือก ถั่ว ข้าวโพด และอาหารอื่นๆแล้ว ควรให้หัวอาหารผสมกับรำข้าวบ้างเป็นบางครั้ง การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อขยายพันธุ์ควรเลี้ยงหลายๆสายพันธุ์เพราะเมื่อผสมพันธุ์กันแล้วจะทำให้ได้ลูกไก่ที่เจริญเติบโตเร็ว น้ำหนักดี ไก่พื้นเมืองตลาดไม่ตันและมีความต้องการมากเพราะคนนิยมทาน ราคาดี

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) แม่ไก่พันธุ์พื้นเมือง

2) อาหารไก่ใหญ่ (30กก.)

อุปกรณ์ ->

1) รางอาหารขนาดยาว

2) ถังน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ธีการคัดเลือกและผสมพันธุ์ไก่พื้นเมือง
1. เริ่มต้นจากสายพันธุ์ไก่ชนเป็นหลัก เนื่องจากไก่ชนให้ทั้งเนื้อและชนเก่ง รวมทั้งพันธุ์ค่อนข้างนิ่ง คือสม่ำเสมอและที่สำคัญคือ หาได้ง่ายมีอยู่ทั่วไปตามบ่อนหรือฟาร์มไก่ โดยสามารถขอซื้อได้จากเจ้าของไก่ชน โดยคัดเลือกจากตัวที่มีลักษณะดี
2. ควรมีคอกผสมพันธุ์ไว้เฉพาะ โดยมีอัตราส่วนพ่อต่อแม่ไม่เกิน 1:5 หรือถือหลักไว้ว่า ให้ตัวที่ดีที่สุดผสมกับตัวที่ดีที่สุด เท่านั้น อย่าเสียดายไก่ที่มีลักษณะไม่ดี เช่น ขาหรือเล็บหยิกเกิน ให้คัดออกทันที
3. อย่าให้มีการผสมเลือดชิด คือพ่อหรือแม่ผสมลูก หรือพี่น้องคอกเดียวกันผสมกัน ควรมีการเปลี่ยนสายเลือดบ่อยๆ โดยการเสาะแสวงหาพ่อพันธุ์ดีๆ มาเปลี่ยนสายเลือด

วิธีการคัดเลือกและการฟักไข่
ลักษณะการฟักไข่และการเลี้ยงลูกไก่ของแม่ไก่พื้นเมืองเป็นลักษณะทีสำคัญอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามหลักวิธีการคัดเลือกไข่ฟัก และดูแลแม่ไก่ในระหว่างฟักไข่ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
1. ควรเป็นไข่ที่มาจากฝูงพ่อและแม่พันธุ์ดี
2. ภายนอกสะอาด ไข่รูปทรงปกติไม่ร้าว เบี้ยว เปลือกบาง ช่องอากาศหลุดลอย หรืออยู่ผิดที่ มีจุดเลือดโตเป็นต้น
3. ขนาดไข่ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินควร
4. ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 14 วัน โดยเฉพาะในฤดูร้อนอุณหภูมิที่เก็บไข่ฟักควรอยู่ระหว่าง 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ไม่ควรสูงกว่า 65 องศาฟาเรนไฮต์ (18.3องศาเซลเซียส) ความชื้นในห้องเก็บ 80-90 % อาจเก็บไว้ใกล้ๆ ตุ่มน้ำก็ได้
5. ควรมีการเลี้ยงไก่วันละครั้งก่อนแม่ไก่จะฟัก
6. จำนวนไข่ฟักควรอยู่ระหว่าง 10-12 ฟอง ในฤดูร้อนไข่มักฟักออกไม่ดี ดังนั้น ไข่ 1-2 ฟองแรก ควรนำมาบริโภคจะดีกว่า เพราะมีขนาดเล็กกว่าปกติ อายุการเก็บมักจะนานเกิน 14 วัน เชื้อมักไม่ดี และจะเป็นการแก้ปัญหา ไข่ล้นอกแม่ ไปในตัวด้วย
7. ควรเสริมอาหารโปรตีน โดยเน้นใช้วัสดุเศษเหลือทางการเกษตรภายในท้องถิ่น เช่น ใบหรือเมล็ดพืชตระกูลถั่ว แมลง/ตัวหนอนที่มีตามธรรมชาติ เป็นต้น โดยก่อนนำมาใช้ควรทำลายสารพิษที่มีในวัตถุดิบเหล่านั้นเสียก่อน เน้นให้ลูกไก่ช่วงอนุบาล ถึงระยะเติบโตช่วงแรก และช่วงแม่ไก่ก่อนให้ไข่ (หรือช่วงผสมพันธุ์)
8. การผสมข้ามพันธุ์กับพ่อไก่พันธุ์ไข่ จะทำให้ไก่ลูกผสมเพศเมียที่ได้ไข่ดก โดยมีผลผลิตไข่เฉลี่ยประมาณ 120-150 ฟอง/ปี ส่วนลูกไก่เพศผู้ควรนำไปตอน

ข้อพึงระวัง ->

ญหาในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. ปัญหาที่เกิดจากโรคระบาดไก่ที่สำคัญๆ เช่น นิวคาสเซิล อหิวาต์ไก่ โรคหวัด โรคฝีดาษ ฯลฯ ทำให้ไก่ตายปีละมากๆ หรือเรียกว่าไก่ตายยกเล้า ซึ่งสามารถสรุปหาสาเหตุที่สำคัญได้ คือ 
- เกษตรกรให้ความสนใจต่อไก่น้อย ไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรค
- ไก่พื้นเมืองประเปรียว จับได้ยากเพราะระบบการเลี้ยงแบบปล่อย
- วัคซีนป้องกันโรค หาได้ยากในท้องถิ่นและไม่สะดวกในทางปฏิบัติระดับท้องถิ่น

2. ปัญหาที่เกิดจากไก่พื้นเมืองให้ผลผลิตต่ำ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงไก่เพื่อการค้าต้องใช้เวลานาน ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ที่หวังรวยเร็วเกิดความไม่ทันใจ แต่ประการสำคัญที่สุดคือ แม้ไก่พื้นเมืองจะให้ผลผลิตต่ำ แต่กำไรที่ได้นั้นนับเป็นกำไรที่แท้จริง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา