ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงกบ

โดย : นายนพรัตน์ เพชรล้วน วันที่ : 2017-04-10-22:07:26

ที่อยู่ : 48 หมู่ที่ 9 บ้านหนองโบสถ์ ตำบลทุ่งมน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

   เดิมข้าพเจ้ามีอาชีพเป็นครู  หลังจากเกษียณอายุราชการ  ก็ใช้เวลาว่างประกอบอาชีพเสริมโดยการเพาะพันธุ์กบจำหน่ายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง  ซึ่งตลาดมีความต้องการ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พ่อพันธ์  แม่พันธ์กบ

อาหารกบ

อุปกรณ์ ->

บ่อซีเมนต์

ตาข่ายพลาสติก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1)การเลือกสถานที่สร้างคอกกบ หรือ บ่อเลี้ยงกบ
   1. ควรเป็นที่ที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และป้องกันศัตรูได้
   2. เป็นที่สูง ที่ดอน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
   3. พื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการสร้างคอกและแอ่งน้ำในคอก
   4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ
   5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มทีและโตเร็ว

2)บ่อหรือคอกเลี้ยงกบ
              สถานที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ่อปูนหรือคอกเลี้ยง จะต้องไม่ควรอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรูของกบมีมากโดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา  

          3)พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง
              กบที่เหมาะสมจะนำมาเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/ กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว  

          4)การเพาะพันธุ์กบ

           การเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์กบนาโดย

                1. รวบรวมจากธรรมชาติหรือหาซื้อจากแหล่งเพาะเลี้ยงกบอื่นๆ ที่เชื่อถือได้
                2. พ่อ-แม่พันธุ์จากที่เลี้ยงไว้เพาะพันธุ์ขึ้นเอง
                   2.1 ทำการคัดเลือกกบเพศผู้ เพศเมียที่มีสุขภาพสมบูรณ์ และมีอัตราการเจริญเติบโตปกติสม่ำเสมอ มีรูปร่างสมส่วนตามสายพันธุ์ ไม่มีบาดแผลตามลำตัว และปราศจากโรค
                   2.2 การเลี้ยงเพื่อทำพ่อ-แม่พันธุ์ ควรเลี้ยงแยกเพศ
              2.3 ระหว่างการเลี้ยงเพื่อทำพ่อ-แม่พันธุ์ ควารมีการเสริมวิตามินป้องกัน การเกิดโรค และช่วยการพัฒนารังไข่และน้ำเเชื้อให้สมบูรณ์  
              2.4 อัตราที่ปล่อยเลี้ยง 30 ตัวต่อตารางเมตร
              2.5 ภายในบ่อควรใส่วัสดุสำหรับเป็นที่หลบซ่อน
              2.6 พ่อ-แม่พันธุ์ที่พร้อมและสมบูรณ์เพศควรมีอายุตั้งแต่ 1-2 ปี

5)การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
              1. ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธุ์ก่อนที่จะทำการเพาะด้วยด่างทับทิมเข้มข้น  

                         2. เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ซม.   

                         3. เตรียมฝนเทียม  

6)การคัดพ่อ-แม่พันธุ์
               1. แม่พันธุ์ตัวที่มีไข่ส่วนท้องจะขยายใหญ่  

               2. การคัดเลือกพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องเสียง

          7) การผสมพันธุ์
                         1. ปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงไปในบ่อที่เตรียมไว้แล้ว โดยใช้อัตราส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย จำนวน 1:1 ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. และจะต้องทำการปล่อยให้กบผสมกันในตอนเย็น
                         2. เมื่อปล่อยกบลงไปแล้วจึงเปิดฝนเทียมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้กบจับคู่ผสมพันธุ์

                         3. กบจะจับคู่ผสมพันธุ์และจะปล่อยไข่ตอนเช้ามืด

8) การอนุบาลลูกกบ

                          1. เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้วช่วงระยะ 2 วันยังไม่ต้องให้อาหาร - อายุ 3 - 7 วัน ให้อาหาร 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน  

          9) การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
                           1. เมื่อลูกอ๊อดฟักออกเป็นตัวจะต้องเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นเรื่อยๆจนอยู่ที่ระดับความลึก 30 ซม.
                           2. ลูกอ๊อดอายุครบ 4วัน จะต้องทำาการย้ายบ่อครั้งที่ 1และระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงควรอยู่ที่ระดับ 30 ซม.
                            3. เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆ ละ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
                            4. ทุกๆ 3-4 วัน ทำการย้ายบ่อพร้อมกับคัดขนาดลูกอ๊อด
                            5. เมื่อลูกอ๊อดเริ่มเข้าที่ขาหน้าเริ่มงอกต้องลดระดับน้ำในบ่อลงมาอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 ซม. และจะต้องใส่วัสดุที่ใช้สำหรับเกาะอาศัยลงไปในบ่อ เช่น ทางมะพร้าว แผ่นโฟม เป็นต้น

         10)การคัดขนาดลูกกบนา
                     1. ลูกอ๊อดในบ่อเดียวกันเมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังฟักออกจากไข่จะเริ่มมีขนาดไม่เท่ากัน เนื่องจากการที่กบกินอาหารไม่ทันกันดังนั้นจึงต้องทำการคัดขนาด เมื่อลูกอ๊อดอายุได้ประมาณ 7 - 10 วัน โดยการใช้ตะแกรงคัด

                     2. ทุก 3-4 วันทำการคัดขนาด แยกบ่อ

1)การเลือกสถานที่สร้างคอกกบ หรือ บ่อเลี้ยงกบ
   1. ควรเป็นที่ที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และป้องกันศัตรูได้
   2. เป็นที่สูง ที่ดอน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
   3. พื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการสร้างคอกและแอ่งน้ำในคอก
   4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ
   5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มทีและโตเร็ว

2)บ่อหรือคอกเลี้ยงกบ
              สถานที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ่อปูนหรือคอกเลี้ยง จะต้องไม่ควรอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรูของกบมีมากโดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา  

          3)พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง
              กบที่เหมาะสมจะนำมาเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/ กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว  

          4)การเพาะพันธุ์กบ

           การเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์กบนาโดย

                1. รวบรวมจากธรรมชาติหรือหาซื้อจากแหล่งเพาะเลี้ยงกบอื่นๆ ที่เชื่อถือได้
                2. พ่อ-แม่พันธุ์จากที่เลี้ยงไว้เพาะพันธุ์ขึ้นเอง
                   2.1 ทำการคัดเลือกกบเพศผู้ เพศเมียที่มีสุขภาพสมบูรณ์ และมีอัตราการเจริญเติบโตปกติสม่ำเสมอ มีรูปร่างสมส่วนตามสายพันธุ์ ไม่มีบาดแผลตามลำตัว และปราศจากโรค
                   2.2 การเลี้ยงเพื่อทำพ่อ-แม่พันธุ์ ควรเลี้ยงแยกเพศ
              2.3 ระหว่างการเลี้ยงเพื่อทำพ่อ-แม่พันธุ์ ควารมีการเสริมวิตามินป้องกัน การเกิดโรค และช่วยการพัฒนารังไข่และน้ำเเชื้อให้สมบูรณ์  
              2.4 อัตราที่ปล่อยเลี้ยง 30 ตัวต่อตารางเมตร
              2.5 ภายในบ่อควรใส่วัสดุสำหรับเป็นที่หลบซ่อน
              2.6 พ่อ-แม่พันธุ์ที่พร้อมและสมบูรณ์เพศควรมีอายุตั้งแต่ 1-2 ปี

5)การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
              1. ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธุ์ก่อนที่จะทำการเพาะด้วยด่างทับทิมเข้มข้น  

                         2. เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ซม.   

                         3. เตรียมฝนเทียม  

6)การคัดพ่อ-แม่พันธุ์
               1. แม่พันธุ์ตัวที่มีไข่ส่วนท้องจะขยายใหญ่  

               2. การคัดเลือกพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องเสียง

          7) การผสมพันธุ์
                         1. ปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงไปในบ่อที่เตรียมไว้แล้ว โดยใช้อัตราส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย จำนวน 1:1 ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. และจะต้องทำการปล่อยให้กบผสมกันในตอนเย็น
                         2. เมื่อปล่อยกบลงไปแล้วจึงเปิดฝนเทียมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้กบจับคู่ผสมพันธุ์

                         3. กบจะจับคู่ผสมพันธุ์และจะปล่อยไข่ตอนเช้ามืด

8) การอนุบาลลูกกบ

                          1. เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้วช่วงระยะ 2 วันยังไม่ต้องให้อาหาร - อายุ 3 - 7 วัน ให้อาหาร 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว จำนวน 5 มื้อต่อวัน  

          9) การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
                           1. เมื่อลูกอ๊อดฟักออกเป็นตัวจะต้องเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นเรื่อยๆจนอยู่ที่ระดับความลึก 30 ซม.
                           2. ลูกอ๊อดอายุครบ 4วัน จะต้องทำาการย้ายบ่อครั้งที่ 1และระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงควรอยู่ที่ระดับ 30 ซม.
                            3. เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆ ละ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
                            4. ทุกๆ 3-4 วัน ทำการย้ายบ่อพร้อมกับคัดขนาดลูกอ๊อด
                            5. เมื่อลูกอ๊อดเริ่มเข้าที่ขาหน้าเริ่มงอกต้องลดระดับน้ำในบ่อลงมาอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 ซม. และจะต้องใส่วัสดุที่ใช้สำหรับเกาะอาศัยลงไปในบ่อ เช่น ทางมะพร้าว แผ่นโฟม เป็นต้น

         10)การคัดขนาดลูกกบนา
                     1. ลูกอ๊อดในบ่อเดียวกันเมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังฟักออกจากไข่จะเริ่มมีขนาดไม่เท่ากัน เนื่องจากการที่กบกินอาหารไม่ทันกันดังนั้นจึงต้องทำการคัดขนาด เมื่อลูกอ๊อดอายุได้ประมาณ 7 - 10 วัน โดยการใช้ตะแกรงคัด

                     2. ทุก 3-4 วันทำการคัดขนาด แยกบ่อ

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา