ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เกษตรผสมผสานบ้านห้วยมุด

โดย : นายชาญณรงค์ สุนทรพัฒน์ วันที่ : 2017-06-04-10:44:15

ที่อยู่ : 92/2 หมู่ที่ 5 ตำบลบางมะเดื่อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายชาญณรงค์ สุนทรพัฒน์ มีอาชีพหลักในการทำสวนยางพารา  แต่เนื่องจากว่ามีพื้นที่เหมาะกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยส่วนตัวนายชาญณรงค์มีความชอบอยู่แล้ว จึงได้เริ่มปลูกผักสวนครัว เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน และเพิ่มปริมาณการปลูกผักสวนครัวต่างๆ เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค เช่น หมู วัว ไก่ จนสามารถจำหน่ายได้และเป็นที่ต้องการของคนในพื้นที่และมีตลาดรองรับ นายชาญณรงค์ จึงได้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ควบคู่กับการทำสวนยางมาโดยตลอด

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว และเป็นจุดเรียนรู้แก่ครัวเรือนในหมู่บ้าน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำเกษตรผสมผสาน ก่อนอื่นต้องดูสภาพดินก่อน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สภาพดินเหมาะกับการปลูกพืชอะไรได้บ้าง การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เมื่อรู้แล้วว่าจะปลูกพืชอะไร ก็ดูว่า สัตว์ที่จะเลี้ยงนั้น เอื้อประโยชน์กับพืชที่ปลูกอย่างไรบ้าง ใช้เป็นอาหารหรือใช้ประโยชน์อะไรจากพืชและสัตว์ มีการเอื้อประโยชน์ต่อกันอย่างไร

หลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสาน ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นการผสมผสานที่ดี โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมการเกษตรควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามอาจสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ ในการจัดการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร ให้มีการผสมผสานเกื้อกูลกัน อย่างได้ประโยชน์สูงสุดนั้นควรจะมีกิจกรรมหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกันไปด้วย เนื่องจากพืชและสัตว์ มีการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีห่วงโซ่ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันอยู่ พืชโดยทั่วไปมีหน้าที่และบทบาทในการดึงเอาแร่ธาตุในดิน อากาศ และพลังงานจากแสงแดดมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปของอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ ที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ สำหรับสัตว์นั้น สัตว์ไม่สามารถบริโภคอากาศและแร่ธาตุที่จำเป็นโดยตรง แต่จะต้องบริโภคอาหารจากพืชอีกต่อหนึ่ง เมื่อสัตว์นั้นขับถ่ายของเสีย หรือตายลงก็จะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับพืช วงจรความสัมพันธ์เช่นนี้ จะหมุนเวียนไปรอบแล้วรอบเล่า จนกลายเป็นห่างโซ่ความสัมพันธ์ของสัตว์ ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ระบบกิจกรรมปัจจุบันที่เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอย่างเดียวในพื้นที่กว้างขวาง จึงสร้างผลกระทบต่อสมดุลระหว่างพืชกับสัตว์ และก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศในที่สุด

เกษตรผสมผสาน เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในพื้นที่แบบครบวงจร โดยในพื้นที่ของนายชาญณรงค์ สุนทรพัฒน์ ได้มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว เลี้ยงหมูพันธุ์เนื้อ ปลูกผักสวนครัวต่างๆ เช่น ปลูกกล้วย พริก มะเขือ เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

การทำการเกษตรแบบผสมผสานนั้น จะต้องมีที่ดิน ทุน แรงงาน ที่เหมาะสม และต้องมีความพยายาม มานะ อดทน ขยันขันแข็ง รวมทั้งมีการวางแผนและจัดการทรัพยากรในพื้นที่ หรือที่ดินของตนเองให้เหมาะสม

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา