ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำสวนผักบางท่าข้าม

โดย : นายสมพนธ์ ไทยบุญรอด วันที่ : 2017-06-04-10:20:03

ที่อยู่ : 1015 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าข้าม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากหมู่ที่ 3  ตำบลท่าข้ามมีสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม  เหมาะสำหรับการปลูกพืชเพื่อการค้า ประกอบกับเกษตรกรในพื้นที่เป็นบุคคลที่ย้ายถิ่นฐานมาจากภาคกลาง  ซึ่งมีอาชีพทำการปลูกผักมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

นายสมพนธ์  ไทยบุญรอด  เป็นประธานกลุ่มปลูกผักบางท่าข้าม  อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 1015 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าข้าม  อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี  มีอาชีพทำการเกษตรปลูกผักเพื่อการค้า  เนื่องจากบรรพบุรุษเป็นคนภาคกลางที่มีอาชีพปลูกผักและได้ย้ายถิ่นฐานมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานี  จากการได้คลุกคลีกับการปลูกผักมาตั้งแต่เด็กทำให้นายสมพนธ์ มีความเชี่ยวชาญในการปลูกผัก พร้อมทั้งสามารถเป็นวิทยากร

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว และส่งเสริมการสร้างรายได้จากการทำสวนผักเป็นอาชีพให้แก่ครัวเรือนในหมู่บ้าน/ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ที่ดิน ปุ๋ยอินทรีย์ พันธุ์ผัก 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ระบบการปลูกพืชของกลุ่มผัก หมู่ที่ 3 ตำบลท่าข้าม ใน 1 ปี สามารถเพาะปลูกพืชได้ 4 รุ่น คือ ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2549 – พฤษภาคม 2550 เกษตรกรจะเริ่มทำการหว่านผักแซมในแปลงปลูกพริก ผักที่ปลูกได้แก่ คะน้า,กวางตุ้ง ไปพร้อมๆ กัน การดูแลรักษาการใส่ปุ๋ยต่าง ๆ ก็จะทำไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เกษตรกรมีรายได้ 2 ทาง คือ ทางผักและพริก  ลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยในเบื้องต้น จากนั้นก็เกี่ยวกับผักเมื่อถึงเวลาและดูแลพริกต่อไปถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วทำการถอนต้นพริกทิ้งในเดือน พฤษภาคม หลักจากนั้นก็ปลูกพืชชนิดอื่นสลับกันไปจนตลาดปี

การเตรียมดินก่อนการปลูก คือ หลักการเก็บผักจะทิ้งแปลงไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นก็จะใส่ขี้ไก่พร้อมด้วยโคโลไมล์  จากนั้นทำการไถพรวนไปพร้อมๆ กัน แล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน  เพื่อให้เกิดการหมักแล้วจึงหว่านเมล็ดผัก  บางครั้งเกษตรกรอาจใช้สารปราบวัชพืชที่ควบคุมการออก  โดยถ้าใบวัชพืชใบแคบทิ้งไว้ 1 วัน ถ้าเป็นวัชพืชใบกว้างทิ้งไว้ 7 วัน จากนั้นทำการหว่านพืชผักต่อไป

การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช  ซึ่งแมลงศัตรูพืชจะระบาดมากในช่วงปลายฤดูหนาว  ถ้าเป็นพวกหนอนใยผัก หนอนกระทู้ผักก็จะใช้เชื้อ BT ถ้าเป็นพวกแมลงก็ใช้สารสะเดาหรือสารเคมี แต่ถ้าเกิดการระบาดมากเกษตรกรก็จะปล่อยทิ้งโดยไม่มีการจัดการเนื่องจากทำให้ผักไม่สมบูรณ์แล้วทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

ปกติหากไม่มีการระบาดของแมลงศัตรูพืชเกษตรกรก็จะไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ยกเว้นสารพวกป้องกันเชื้อรา  ซึ่งจะเกิดขึ้นช่วงฤดูหนาว

นายสมพนธ์ ได้ทำการปลูกผักจำนวน 3 แปลงด้วยกัน  ซึ่งสามารถปลูกสลับกันทำให้ได้ผลผลิตตลอดทั้งปี  อีกทั้งยังมีการเลี้ยงปลาในร่องสวน มีการเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

ข้อพึงระวัง ->

๑. วางแผนการผลิตพืช – ต้องมีการวางแผนโดยใช้แนวโน้มการตลาดจากปีที่ผ่านมา และต้องผลิตให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเทศกาลกินเจ ยิ่งมีกำไรมากขึ้น

๒. วางแผนการพัฒนาแปลง – โดยการปรับปรุงดิน ไถพรวน ตรวจวิเคราะห์ดิน และตากดินเพื่อให้แสงแดดทำลายศัตรูพืช โรคและแมลงที่อาศัยอยู่ให้สลายไปกับดิน

๓. ลดต้นทุนการผลิต – โดยการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ มูลไก่ ลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี

๔. การจัดหาพันธุ์ดี – กวางตุ้งในท้องตลาดมีหลายบริษัทนายสมพนธ์ บอกว่าตนเลือกใช้ของบริษัทเจียไต๋ พันธุ์ลูกผสมทวีผล พื้น ที ๕ ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ ๖–๘ กิโลกรัมขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะรูปทรงสวย

๕. ผลผลิตสูง - ซึ่งให้ผลิตมาก น้ำหนักดี สีสันสวยงามตรงตามตลาดต้องการ ซึ่งผลผลิตจากแปลงนายสมพนธ์ ไทยบุญรอด สามารถเก็บผลผลิตจำนวน ๕ ไร่ ได้ผลผลิตจำนวน ๙ - ๑๐ ตัน

๖. ราคาดี – ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน จำหน่ายห้างแมคโครได้ราคาสูง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง สรุปหักค่าใช้จ่าย กำไร ๑ แสนกว่าบาทต่อรอบต่อ ๔๐-๔๕ วัน

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา