ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนาปลอดสารพิษ

โดย : นายฉันท์ การเกตุ วันที่ : 2017-03-17-15:02:10

ที่อยู่ : 57/2 ม.2 ต.บางงาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้าสนใจการทำนาปลอดสารพิษ เพราะเป็นการลดต้นทุนการผลิต และที่สำคัญไม่เป็นอันตรายทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงติดต่อยอดนำเอาการบำรุงดิน และเมื่อได้ผลดีจึงบอกต่อและถ่ายทอดให้เกษตรกรที่สนใจในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง

วัตถุประสงค์ ->

-

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมเมล็ดข้าวปลูก

 เมล็ดข้าวปลูกจะซื้อที่มีการคัดเมล็ดไว้เรียบร้อย แล้วมาทำการแช่น้ำ 2 วัน 2 คืนในน้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร

น้ำ 200 ลิตร ใช้ซีเมนต์บล็อกก่อขึ้นเพื่อแช่กระสอบข้าวปลูก

 

การหมักฟางในนาข้าว

เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ทำการกระจายฟางข้าวให้ทั่วแปลงนา ใช้ปุ๋ยหมักตักไปหว่านในนา โดยหว่าน

ลงบนฟางเลย เมื่อหว่านเสร็จก็ทำการใช้รถลากวนไปมาจากนั้นให้ทำการสูบน้ำใส่โดยผสมน้ำจุลินทรีย์ลงไปพร้อมกับน้ำที่ปล่อยเข้าแปลงนา ปล่อยน้ำลงไปจนท่วมนา โดยพื้นที่ 1 ไร่ใช้น้ำจุลินทรีย์ 5 ลิตรผสมกับน้ำ 200 ลิตรและกากน้ำตาล 5 กก. ทำการหมักฟางในนาทิ้งไว้ 15 วัน เมื่อครบ 15 วันฟางข้าวจะมีการย่อยสลาย ให้นำรถมาตีดิน ย่ำทำเทือก แล้วทำการหว่านข้าวปลูกได้เลยในกรณีที่ไม่รีบทิ้งไว้อีก 10-15 วัน จะมีหญ้าและเมล็ดข้าวที่ตกค้างในนางอกขึ้นมา ทำการกำจัดออก ต่อจากนั้นให้

ทำเทือกและหว่านกล้า วิธีการนี้เป็นการช่วยลดจำนวนหญ้าอีกทางหนึ่ง

ระยะเวลาการให้ปุ๋ยหลังจากหว่านกล้า

20-30 วันหลังจากหว่านกล้า ช่วงนี้ให้เริ่มปล่อยน้ำเข้าโดยผสมน้ำจุลินทรีย์เหมือนเดิม

30 วันหลังจากหว่านกล้า ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดหว่านไร่ละประมาณ 25 กิโลกรัม

ข้อพึงระวัง ->

การบำรุงดินที่ถูกต้องควรมีการใช้ร่วมกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีเพราะจะเป็นการลด

และเสริมประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมี  เพราะปุ๋ยอินทรีย์จะมีแร่ธาตุที่ครบถ้วนทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะไม่มีหรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแต่ต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้น

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา