ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกแตงกวา

โดย : นางทองเจือ รวมทรัพย์ วันที่ : 2017-03-24-16:39:21

ที่อยู่ : 106 ม.4 ต.ท่าเกวียน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แตงกวาเป็นพืชที่นำผลมาใช้เป็นอาหาร มนุษย์เริ่มบริโภคแตกวามานากว่า 3,000 ปีเลยทีเดียว ชาวจีนเป็นผู้เผยแพร่พันธุ์แตงกวาไปสู่ประเทศต่างๆ ผลของแตงกวานำมาประกอบอาหารได้ในลักษณะดิบและสุก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในอุตสาหกรรมทำอาหารดอง แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกง่าย อายุสั้น การเจริญเติบโตเป็นพุ่มและมีเถาเลื้อย เดิมมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเอเชีย แตงกวาเป็นพืชพวกเดียวกับแตงโม ฟัก ตำลึงและบวบ ในต้นเดียวกันจะมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย เมื่อผสมเกสรจะเกิดผลที่ดอกตัวเมีย ขณะผลยังเล็กจะมีหนามเต็มไปหมด และหนามจะหลุดไปเมื่อผลโตขึ้น ผลมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก ในบางกรณีสามารถผลิตแตงกวาที่ไม่มีเมล็ดได้ ซึ่งนิยมกันในต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมปลูกแตงกวา

แตงกวาเป็นพืชที่ชอบขึ้นในดินที่ร่วนปนทรายและมีการระบายน้ำที่ดี ชอบอากาศร้อน ถ้าปลูกในที่เย็นจัดเมล็ดแตกจะไม่งอกแต่จะพักตัวอยู่ในดิน หากอุณหภูมิเริ่มอบอุ่นขึ้น เมล็ดนั้นจะกลับมางอกขึ้นอีกและหากอากาศเย็นก็จะให้ผลผลิตช้า อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการปลูกแตงกวาอยู่ที่ประมาณ 25-30 องซาเซลเซียส หรือถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ก็สามารถโตได้ตามปกติ ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่เหมาะสมกับการปลูกแตงกวามาก ยกเว้นในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นจัด นอกจากนี้แตงกวายังชอบบรรยากาศที่แห้งด้วยและต้องการแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน และจะต้องมีความเป็นกรดด่างในดินอยู่ที่ประมาณ 5.5-6.8

การเตรียมดินในการปลูกนั้นควรขุดไถให้หน้าดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร เนื่องจากเป็นผักที่มีรากลึกปานกลาง และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเก่าลงไปในการเตรียมดินด้วย และเนื่องจากมักนิยมปลูกแบบหยอดเมล็ดลงโดยตรงในแปลง ดังนั้นผิวหน้าดินของแปลงปลูควรละเอียดพอประมาณ

การปลูกและการดูแลแตงกวา

การปลูกนั้นนิยมปลูกเป็นหลุม ใช้ระยะระหว่างแถวประมาณ 1.5 เมตร ระยะระหว่างต้น 1 เมตร โดยใช้เมล็ดหยอดหลุม 3-5 เมล็ด โดยให้ลึกลงไปในดิน 2.5 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก ส่วนการยกร่องปลูก หากปลูกเป็นแปลงใหญ่มักนิยมปลูกแถวเดี่ยว และเว้นระยะระหว่างแถว 1.5 เมตร และระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ในกรณีนี้มักจะไม่ปักไม้ค้าง หากพื้นที่ยกร่องเล็กๆ มักปลูกเป็นแถวคู่ และมักปักไม้ค้างให้เถาแตงเลื้อยขึ้น เมื่อหยอดเมล็ดเสร็จควรใช้ฟางคลุมและรดน้ำให้ดินขึ้นอยู่เสมอ หลังจากแตงกวางอกและมีใบจริง 2 ใบ ควรถอนทิ้งให้เหลือหลุมละ 1-2 ต้น เมื่อเถาแตงอายุได้ 14 วัน จะเริ่มเลื่อย จึงมักปักค้างให้แตงโดยปักไม้ ปักหลุมละ 1 อัน และให้หลักเอนเข้าหากัน และมัดไว้ด้านบน ไม้ค้างควรยาว 2 เมตรเป็นอย่างน้อย

การให้น้ำควรใช้ระบบการให้น้ำแบบ Furrow System เนื่องจากจะให้ผลดี เพราะทำให้ผิวดินชุ่มน้ำมากและเถาแตงไม่เปียกน้ำ หากให้น้ำระบบที่ทำให้เถาแตงเปียกน้ำ อาจเป็นบ่อเกิดของโรคเน่าได้ ส่วนการพรวนดินควรทำในระยะแรกเริ่มเพื่อกำจัดวัชพืช เพราะในระยะต่อมาอาจทำได้ลำบาก เนื่องจากรากแตงจะอยู่ที่ผิวดินมาก หากพรวนดินจะกระทบกระเทือนรากได้ และจะทำให้เกิดการชะงักในการเจริญเติบโตหรือแตงอาจไม่ดีได้

การให้ปุ๋ยนั้นควรใส่ปุ๋ยคอกตอนเตรียมดิน ซึ่งมักใช้ในอัตรา 2 ตัน / ไร่ และมักใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เป็นปุ๋ยรองพื้นด้วย การเจริญในระยะแรก ควรใส่โซเดียมไนเตรด 1 ช้อนโต๊ะ / หลุม อาจใส่ภายใน 1 เดือนแรกของการเจริญเติบโต แต่เนื่องจากแตงเป็นผักที่รับประทานผล ดังนั้นในระยะหลังควรใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ในอัตรา 50 กิโลกรัม / ไร่ และปุ๋ยสูตรนี้อาจใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นก็ได้

การเก็บเกี่ยวแตงกวา

การเก็บเกี่ยวแตงมักเริ่มเก็บเกี่ยวหลังจากหยอดเมล็ดได้ประมาณ 40 วัน และจะเก็บไปเรื่อยๆ ได้อีกประมาณ 1 เดือน การเก็บควรคำนึงถึงขนาดของผลและจุดประสงค์ของการใช้ สำหรับใช้ในการดองนั้นมักเก็บเมื่อผลมีอายุได้ 3-4 วันหลังจากผสมเกสร ในการบริโภคสดมักเก็บเมื่ออายุ 6-7 วัน หลังจากผสมเกสร ระยะผสมเกสรเป็นระยะที่ดอกแตงบาน หากทิ้งผลที่มีอายุมากไว้กับต้น ต้นจะโทรม ผลจะมีสีเขียวปนขาว แตงแก่จะมีสีเหลือง หลังจากเก็บเกี่ยวมาได้ 2-3 วัน คุณภาพจะเสื่อมลง แตงกวาพันธุ์พื้นเมืองของไทยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 7-10 เซนติเมตร พันธุ์ต่างประเทศจะมีขนาดของผลประมาณ 20-25 เซนติเมตร และผลอ่อนจะมีสีเขียวเข้มมาก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระแก้ว
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา