ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลากินพืช

โดย : นายวิเชียร อุทธรส วันที่ : 2017-03-24-16:58:46

ที่อยู่ : 104 หมุที่15 ตำบลทัพราช

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงปลา ถือเป็นอาชีพที่สำคัญไม่แพ้อาชีพการปลูกปลูกพืชต่างๆ โดยเฉพาะเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองหรือพื้นที่ที่น้ำชลประทานเข้าถึง รวมถึงพื้นที่นาต่างๆ ที่มีบ่อกักเก็บน้ำตามฤดูกาล ซึ่งสามารถสร้างรายได้อย่างมากต่อปี นอกจากนั้น การเลี้ยงปลาถือเป็นการสร้างแหล่งอาหารสำหรับการบริโภคในแต่ละวันที่นอกเหนือจากการนำไปจำหน่าย

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการเลี้ยงปลา (บ่อดิน)
การเลือกสถานที่
1. ควรเลือกสถานที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง รวมถึงพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเข้าถึง
2. ควรเลือกสถานที่ที่มีปริมาณน้ำพอใช้ได้ตลอดทั้งปี เช่น มีบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ และควรเป็นสถานที่ที่น้ำไม่ท่วมถึง โดยเฉพาะในฤดูฝน และไม่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
3. ควรเลือกสถานที่ที่เป็นดินดินเหนียว ซึ่งจะอุ้มน้ำได้ดี ป้องกันการซึมผ่านของน้ำออกบ่อ
4. ควรเลือกสถานที่ใกล้แหล่งพันธุ์ปลา และการคมนาคมเข้าถึงสะดวก
5. ควรเลือกสถานที่ที่อยู่ใกล้ตลาดหรือชุมชน เพื่อความสะดวก และมีความรวดเร็วสำหรับการส่งปลาจำหน่าย

การสร้างบ่อเลี้ยง/การเตรียมบ่อ
1. ออกแบบ และวางผังบ่อ โดยควรออกแบบสำหรับการเพิ่มหรือขยายบ่อในอนาคต
2. ขุดบ่อ และยกคันบ่อ โดยให้สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดบริเวณโดยรอบในรอบปีที่มีน้ำท่วมสูง ซึ่งต้องให้เผื่อสูงไว้เกินประมาณ 30 เซนติเมตร
3. สร้างประตูระบายน้ำ บริเวณจุดต่ำสุดของคันบ่อ โดยประกอบด้วยตะแกรงตาถี่ที่ทำจากไม้ไผ่หรือเหล็ก
4. บ่อปลาที่ขุด ควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพื้นด้านล่างควรลาดเทไปด้านใดด้านหนึ่งในทิศทางการไหลของน้ำ
5. เมื่อขุดบ่อเสร็จให้โรยปูนขาวให้ทั่วก้นบ่อ ขอบบ่อ  และตากทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จึงจะปล่อยน้ำเข้า อีกประมาณ 7 วันต่อมาจึงถ่ายน้ำออกเพื่อรับน้ำใหม่ หากน้ำไม่เพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนท่ายออก
6. หว่านโรยมูลสัตว์ เพื่อให้เกิดอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืช และไรน้ำ สำหรับระยะที่ปล่อยปลาขนาดเล็ก
7. พื้นที่คันบ่อโดยรอบ ควรปลูกต้นไม้ไว้เป็นร่มเงาแก่ปลา ทั้งนี้ ควรเลือกปลูกไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งด้านสมุนไพร ผลไม้ เครื่องเทศ รวมถึงการให้เนื้อไม้

การเตรียม และปล่อยพันธุ์ปลา 
การเตรียมพันธุ์ปลา สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ชนิดปลา อัตราการเลี้ยงที่เหมาะสมกับบ่อเลี้ยง
1. ชนิดปลาที่จะเลี้ยง ควรพิจารณาที่ความเข้าใจ และความชำนาญของผู้เลี้ยงเป็นสำคัญ รวมถึง การตลาด และราคาปลา

2. อัตราการปล่อยที่เหมาะสมกับบ่อเลี้ยง พิจารณาระดับการเลี้ยงแบบเข้มข้นน้อย ปานกลาง และสูงซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น คุณภาพน้ำ อาหาร การจัดการ และเงินทุน

3. ลักษณะการกินอาหารปลา
– ประเภทกินพืช หมายถึงปลาที่กินพืชเป็นอาหารเป็นหลัก ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาจีน ปลาประเภทนี้ชอบกินรำข้าว ปลายข้าว เศษพืชผัก หญ้า และเศษอาหารในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังอาจแบ่งปลากินพืชออกย่อยเป็นปลากินตะไคร่น้ำ สาหร่ายหรือพืชสีเขียว ในน้ำ ได้แก่ ปลายี่สกเทศ ปลาสลิด ปลาจีน เป็นต้น
– ประเภทกินเนื้อ หมายถึง ปลาที่กินเนื้อเป็นอาหารเป็นหลัก ได้แก่ ปลาบู่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาประเภทนี้ชอบกินเศษปลาบดผสมกับรำเป็นอาหาร รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็ก
– ประเภทกินได้ทั้งพืช และเนื้อ หมายถึง ปลาที่กินทั้งพืช และเนื้อเป็นอาหารหลัก ได้แก่ ปลาสวาย ปลายี่สก

การปล่อยพันธุ์ปลา ควรปล่อยในตอนเช้าหรือตอนเย็น โดยนำถุงพันธุ์ปลาวางในบ่อประมาณ 30 นาที ก่อนปล่อยให้นำน้ำจากบ่อไหลเข้าในถุงพันธุ์ปลาก่อน ก่อนที่จะปล่อยปลาออกลงบ่อ

อาหาร และการให้อาหาร 
การเลี้ยงปลาเพื่อจำหน่าย โดยทั่วไปนิยมใช้อาหารสำเร็จรูป เพราะจะทำให้ผลผลิตสูง การให้อาหารปลาต้องคำนึงถึงชนิดปลา ว่าเป็นปลากินพืชหรือปลากินเนื้อ ส่วนอาหารที่ให้ ต้องคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อปลา และใช้ปริมาณเท่าใด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระแก้ว
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา