ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผักกวางตุ้ง

โดย : นายทวี วงค์พนม วันที่ : 2017-03-24-18:08:31

ที่อยู่ : 266 หมู่ที่ 1 ตำบลตาพระยา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกผักกวางตุ้ง
การปลูกผักกวางตุ้งสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และปลูกได้ดีในดินทุกชนิดที่มีความชื้นสูงหรือเติบโตได้ดีหากให้น้ำที่เพียงพอ รวมถึงเป็นผักที่ชอบดินร่วนปนทราย และมีหน้าดินลึก 10-20 ซม.

สำหรับการปลูกผักกวางตุ้งนั้น แบ่งได้เป็นการปลูกในแปลงขนาดใหญ่เพื่อการค้า และการปลูกในแปลงขนาดเล็กสำหรับรับประทานในครัวเรือนหรือเพื่อจำหน่ายในชุมชน

1. การปลูกผักกวางตุ้งในแปลงขนาดใหญ่
การปลูกเพื่อการค้า จะปลูกได้หลายวิธี ได้แก่ ปลูกจากการย้ายต้นกล้า ปลูกจากการหว่านเมล็ดโดยตรง และปลูกด้วยการหยอดเมล็ด ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรหันมาปลูกด้วยการหว่านเมล็ดลงแปลง และการหยอดเมล็ดเป็นแถวยาว เพราะสามารถประหยัดเวลา และต้นทุนได้มาก แต่ทั้งนี้ จะขอกล่าวถึงการปลูกจากการย้ายกล้า เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปลูกด้วยวิธีอื่น

การเพาะกล้า
การเพาะกล้าผักกวางตุ้งจะทำการหว่านเมล็ดลงแปลงเพาะที่เตรียมไว้จากการไถพรวนดิน และหว่านรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก ขนาดแปลง 1-1.5 เมตร โดยก่อนการหว่านจะทำการคลุกเมล็ดกับยาป้องกันเชื้อราก่อน และหลังจากหว่านเมล็ดให้รดน้ำ ใส่ปุ๋ย และดูแลจนกว่ากล้าจะมีความสูง 5-10 ซม. ก่อนย้ายปลูกลงแปลงใหญ่

การเตรียมดิน และเตรียมแปลง
ผักกวางตุ้งมีระบบรากตื้นประมาณ 10-20 ซม. ดังนั้น จึงต้องเตรียมดินให้มีความร่วนซุยตลอด 1-30 ซม. ด้วยการไถพรวนดินจำนวน 2 รอบ ทำการตากดิน และกำจัดวัชพืช ทั้งนี้ ก่อนการไถรอบที่ 2 หรือไถยกร่องแปลงให้หว่านรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีก่อน (15-15-15 10 กิโลกรัม/ไร่) หรือหว่านรองพื้นเฉพาะปุ๋ยคอกเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

การไถยกร่องแปลงจะทำเฉพาะในแปลงขนาดใหญ่ ด้วยการไถเปิดให้เกิดร่องระหว่างแปลง 0.4-0.5 เมตรแต่บางพื้นที่ เช่น ภาคกลางมักทำการยกร่องแปลงสูง โดยมีร่องน้ำกั้นแปลง ซึ่งสำหรับการปลูกในแปลงใหญ่จะทำการยกร่องแปลงขนาดประมาณ 1.5-2.5 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสม

การปลูกลงแปลง
หลังจากที่ต้นกล้าโตสูง 5-10 ซม. แล้ว จะทำการย้ายลงปลูกในแปลง ทั้งนี้ ก่อนถอนกล้าจะต้องรดน้ำให้ชุ่มก่อน โดยการปลูกในแปลงจะปลูกในระยะ 20×20 ซม.

การให้น้ำ
หลังการปลูกจะต้องให้น้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และให้ต่อเนื่องจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

การใส่ปุ๋ย
หลังการปลูกแล้ว 1-2 อาทิตย์ ให้ใส่ปุ๋ย ดังนี้
– ปุ๋ยคอก 3-5 ตัน/ไร่
– ปุ๋ยเคมี 12-6-6 จำนวน 35 กิโลกรัม/ไร่ อาจให้ด้วยการหว่านหรือผสมน้ำรด

การเก็บเกี่ยว
ผักกวางตุ้ง จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 35-45 วัน หลังการหว่านเมล็ด หรือประมาณ 20-25 วัน หลังการย้ายปลูก ด้วยการใช้มีดตัดโคนต้น โดยไม่ต้องถอนต้น เพราะโคนต้นที่เหลือจะมีการไถกลบสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสดต่อไปในการปลูกครั้งหน้า

2. การปลูกผักกวางตุ้งเพื่อรับประทานเอง
การปลูกเพื่อรับประทานเองมักใช้แปลงขนาดเล็กเพียงไม่กี่ตารางเมตร ในสวนหลังบ้าน หรือ ตามคันบ่อตามไร่นา ซึ่งมีการเตรียมดินง่ายๆด้วยการใช้จอบขุดพรวนดิน พร้อมกับกำจัดวัชพืชออกให้หมด ร่วมกับหว่านโรยด้วยปุ๋ยคอกพรวนผสมให้เข้ากัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระแก้ว
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา