ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงโคเนื้อ

โดย : นายสมจิตร์ โนนศรีโคตร วันที่ : 2017-03-23-19:29:37

ที่อยู่ : 71 ม.7 ต.พระเพลิง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. พันธุ์โค

2.อาหาร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการขุนโคเนื้อ

          วิธีขุนโค แบ่งออกเป็น 2 วิธี ตามการให้อาหาร คือ
          1. การขุนด้วยการให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องได้รับหญ้าสดที่มีคุณภาพดี อาจตัดให้กินหรือปล่อยเลี้ยงในทุ่งหญ้า การขุนวิธีนี้ไม่แตกต่างกับการเลี้ยงโคเนื้อทั่ว ๆ ไปมากนัก จะต้องใช้ระยะเวลานานในการเพิ่มน้ำหนักตัวตามต้องการ อีกทั้งยังได้เนื้อที่ไม่ค่อยมีคุณภาพดีเท่าที่ควรแต่ก็อาจเหมาะสมกับความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ซึ่งไม่ต้องการบริโภคเนื้อที่มีคุณภาพสูงมากนัก และค่าใช้จ่ายในการขุนวิธีนี้ก็ยังต่ำอีกด้วย
          2. การขุนด้วยอาหารหยาบเสริมด้วยอาหารข้น เป็นธุรกิจการขุนโคที่ต้องลงทุนสูง มุ่งให้ได้เนื้อโคขุนคุณภาพดี ส่งขายให้กับตลาดเนื้อชั้นสูง แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามอายุและคุณภาพเนื้อที่ได้ดังนี้ คือ
              2.1 การขุนลูกโคอ่อน เพื่อส่งโรงฆ่าเมื่ออายุน้อย ส่วนใหญ่นิยมใช้ลูกโคนมเพศผู้ เริ่มขุนตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 1 สัปดาห์ หรือหลังจากได้รับนมน้ำเหลืองตามกำหนดแล้ว อาหารที่ใช้ลงทุน จะใช้หางนมผงเป็นหลัก ใช้เวลาขุนจนลูกโคมีอายุประมาณ 6-8 เดือน โคจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้เนื้อที่มีคุณภาพดี เมื่อส่งโรงฆ่า
              2.2 การขุนโคที่เริ่มขุนเมื่อโคมีอายุประมาณ 1 1/2 ปี หรือมีน้ำหนักประมาณ 200-250 กก. ใช้ระยะเวลาขุนประมาณ 6 เดือน ให้ได้น้ำหนัก 400-450 กก. แล้วส่งโรงฆ่า เป็นรูปแบบการขุนที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้โคเนื้อลูกผสมที่ทดสอบแล้วว่ามีการเจริญเติบโตดี คุณภาพเนื้อที่ได้จะดีกว่าการขุนในรูปแบบอื่นมาก และเกษตรกรหันมายึดเป็นอาชีพกันมากขึ้นในปัจจุบัน

              2.3 การขุนโคที่มีอายุมาก หรือโคที่โตเต็มวัยแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นโคที่ปลดจากการใช้แรงงาน ซึ่งมีอายุมักจะไม่ต่ำกว่า 5 ปี เป็นการขุนเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อเพียงบางส่วน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มไขมันหุ้มซาก โดยไม่สนใจไขมันแทรกในเนื้อ จะใช้เวลาในการขุนประมาณ 3 เดือน โคที่ได้จากการขุนประเภทนี้โดยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า "โคมัน"

ข้อพึงระวัง ->

 1.พิจารณาถึงความเป็นไปได้หรือความพร้อมของตนเองดังกล่าวแล้ว
          2.ศึกษาวิธีการเลี้ยงโดยอ่านจากเอกสารต่าง ๆ หรือเข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งหน่วยงานราชการต่าง ๆ จัดขึ้น และควรจะไปเยี่ยมชมกิจการของเกษตรกรที่เลี้ยงโคขุนอยู่แล้ว
          3.รวมกลุ่มผู้สนใจ การเลี้ยงโคขุนสำหรับเกษตรกรรายย่อยและรายขนาดกลางจะได้ผลดีต่อเมื่อมีการรวมเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งจะทำให้สะดวกและประหยัดในหลาย ๆ ด้าน เช่น การจัดซื้อลูกโคมาขุน การจัดซื้ออาหารและการดำเนินการเรื่องตลาด เพราะผู้ซื้อย่อมต้องการให้มีโคขุนป้อนตลาดอย่างต่อเนื่องและคุณภาพสม่ำเสมอ
          4.ติดต่อตลาดซึ่งควรทำในนามกลุ่ม
          5.การเตรียมเงินทุน
          6.จัดเตรียมแปลงหญ้าต้องลงมือปลูกหญ้าก่อนที่จะนำโคเข้าคอกขุนประมาณ 2 เดือน
          7.สร้างคอก
          8.จัดเตรียมอาหารข้น
          9.ซื้อโคเข้าคอก
          10.ลงมือเลี้ยงโคขุน
          11.วางแผนระยะยาว กล่าวคือคาดว่าในอนาคตจะมีผู้เลี้ยงโคขุนกันมากขึ้น คงจะหาซื้อลูกโคขุนได้ยากขึ้น หรือซื้อได้ในราคาแพง จึงควรจะวางแผนระยะยาว โดยหาซื้อแม่โคมาเลี้ยงไว้บ้าง หรือหาลู่ทางสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับผู้เลี้ยงแม่โค

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสระแก้ว
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา