ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเผาถ่าน

โดย : นางกัญญาลักษณี ทองเขม่น วันที่ : 2017-03-23-14:54:58

ที่อยู่ : 13/4 หมู่ 9

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ภูมิปัญญาการเผาถ่าน เริ่มเข้ามาในชุมชนครั้งแรกในปี พ.ศ.2557 โดย เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มาให้ความรู้ในเรื่องการสร้างเตาเผา ทำให้ก่อเกิดปราชญ์ชาวบ้านในเรื่องการเผาถ่าน และสืบทอดภูมิปัญญาการเผาถ่านในพื้นที่มาจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อนำองค์ความรู้เรื่องการเผาถ่าน เผยแพร่แก่ชุมชนสามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพหรือสร้างเป็นอาชีพเสริมโดยอาศัยภูมิปัญญาพื้นบ้าน และทักษะพื้นฐาน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากไม้เหลือใช้ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ รองรับการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ฟืน เช่น ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ กระถินเทพา

อุปกรณ์ ->

1. ปลายไม้ หรือเศษ ที่เหลือจากการตัดสาง หรือไม้ที่เหลือจากอุตสาหกรรมในโรงงานเยื่อกระดาษ

2. เตาอิวาเตะขนาด 12 คิวบิกเมตร

3. เครื่องวัดอุณหภูมิ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิตถ่าน

        1. ขั้นการไล่ความชื้นจากไม้ฟืน  (Dehydration)  โดยใช้อุณหภูมิ 20 – 270 องศาเซลเซียส ขั้นตอนนี้จะใช้ความร้อนจากภายนอกเตา เพื่อให้ท่อนฟืนในเตาเกิดปฏิกิริยายาดูดความร้อนและคายความชื้นออกมา  โดยการก่อเชื้อเพลิง  ด้านหน้าเตา  เพื่อให้ลมร้อนไหลเข้าภายในเตาเผา  ระยะเวลาในขั้นนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นของไม้ฟืน  หากความชื้นมีอยู่มากก็ต้องใช้เชื้อเพลิงและเวลามากขึ้น  ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดเวลาควรจะนำไม้ฟืนผึ่งแดดประมาณ  3 – 4 สัปดาห์  เพื่อลดความชื้นลง

         2. ขั้นเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่าน (Carbonization) โดยใช้อุณหภูมิ  270 – 400 องศาเซลเซียส ระยะนี้ไม้ฟืนจะลุกไหม้และสลายตัวโดยความร้อนที่สะสมอยู่ตัวเองและจะมีควันสีขาวปนออกมาจากปล่อง ของเหลวที่กลั่นจากควันในระยะนี้ยังไม่มีคุณสมบัติในการใช้งานและจะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่เป็นเวลานาน  โดยการควบคุม อุณหภูมิสามารถทำได้โดยการควบคุมอากาศที่ช่องลมด้านหน้าเตาควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิ (Thermometer)  บริเวณกำแพงเตา ช่วงที่อุณหภูมิภายในเตาอยู่ในช่วง 300 – 400 องศาเซลเซียส  ไม้จะสลายตัวกลายเป็นถ่านโดยสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ  400 องศาเซลเซียส               ขึ้นไป ซึ่งขั้นตอนเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านนี้ควันที่ออกมาจะประกอบด้วยสารต่าง ๆ ที่เกิดใหม่หลายชนิด และสามารถกลั่นเป็นของเหลว  ที่เรียกว่า  “น้ำส้มควันไม้”  และนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

         3. ขั้นการทำให้ถ่านบริสุทธิ์   (Refinement)

โดยทั่วไปกระบวนการเผาไม้ให้เป็นถ่านจะยุติลงที่อุณหภูมิเพียง  400 องศาเซลเซียส  ก็จะสามารถนำผลผลิตมาใช้งานได้  แต่เทคนิคการทำให้ถ่าน บริสุทธิ์นี้ยังคงต้องใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่า  400 องศาเซลเซียส      เพื่อสลายน้ำมันดิน (Tar)ที่ยังคงเหลืออยู่ในปริมาณสูงออกจากถ่าน  ซึ่งจะเป็นผลดีเมื่อนำผลผลิตถ่านที่บริสุทธิ์นี้ไปใช้ในการปิ้งย่างอาหาร  เพราะน้ำมันดินที่ลดลงจะช่วยลดปริมาณสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการประกอบอาหารนั่นเอง  นอกจากนี้ถ่านบริสุทธิ์ยังมีคุณสมบัติให้พลังงานความร้อนสูงกว่าถ่านทั่ว ๆ ไป และเป็นที่ต้องการของตลาด อีกด้วย การควบคุมอุณหภูมิในขั้นนี้จะต้องดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วนในส่วนของเหลว (ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันดิน)ที่กลั่นได้จากขั้นตอนนี้  ไม่มีผลดีแต่อย่างได ให้ดักเก็บไว้เพื่อรอทำลายก่อนทิ้ง

        4. การทำให้เย็น  (Cool) ระยะเวลาการเผาถ่านด้วยเตาอิวาเตะขนาด  12  คิวบิกเมตรจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงเวลาประมาณ 10 วัน จึงจะสามารถเก็บผลผลิตถ่านเพื่อจำหน่ายหรือนำไปใช้งานได้  โดยหลังจากปิดปล่องเตาแล้ ต้องปล่อยให้อุณหภูมิในเตาลดต่ำกว่า  50 ?C  เพราะถ่านไม้ที่อุณหภูมิ  60–70 องศาเซลเซียส นั้นสามารถลุกติดไฟได้  หากได้รับออกซิเจนจากอากาศ  ดังนั้นต้องเริ่มเปิดเตาที่ปล่องควันเพื่อระบายความร้อนและก๊าซที่คงค้างอยู่ในเตาออกให้หมดเสียก่อนที่จะเปิดด้านหน้าเตาและนำผลผลิตออกจากเตาเผา  

ข้อพึงระวัง ->

ในถ่านที่เผาด้วยอุณหภูมิต่ำกว่า 400 องศาเซลเซียส จะมีปริมาณของน้ำมันดินค้างอยู่ในถ่านเยอะ ซึ่งน้ำมันดินเป็นโทษต่อการนำถ่านมาใช้ในการปิ้งย่าง มีปริมาณการก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง ดังนั้น เทคนิคในการเผาถ่านให้เป็นถ่านบริสุทธิ์ สามารถนำมาใช้ปิ้งย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า นอกจากนี้ ถ่านบริสุทธิ์ยังมีคุณสมบัติในการให้พลังงานความร้อนสูงกว่าถ่านทั่ว ๆ ไป เป็นที่ต้องการของตลาด การควบคุมอุณหภูมิในขั้นนี้จะต้องดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วนในส่วนของเหลว (ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันดิน) ที่กลั่นได้จากขั้นตอนนี้ ซึ่งไม่มีประโยชน์ ให้ดักเก็บไว้เพื่อรอทำลายก่อนทิ้ง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา