ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นางสาวสุวรรณา พรหมบุญแก้ว วันที่ : 2017-03-18-21:06:35

ที่อยู่ : 17๙ ม.๖ ต.ปาล์มพัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคการเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม ปลูกพืชเชิงเดียว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพหรือแหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนร่วมน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

          ดังนั้น อาชีพการเลี้ยงปลาในกระชังไดรับความสนใจแพรหลายเปนอยางมากเนื่องจากขยายตัวของผูบริโภค การสงเสริมเกษตรกรเลี้ยงปลาดุกในกระชัง เพื่อพัฒนาเปนอาชีพจึงเปนทางเลือกหนึ่งซึ่งสามารถเพิ่มความรูความสามารถใหแกเกษตรกร เพื่อเสริมสรางรายไดใหแกเกษตรกรเป็นอย่างดีมติที่ประชุมจึงเห็นชอบโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลาดุกในกระชังเพื่อการแปรรูป

วัตถุประสงค์ ->

          4.1เพื่อสร้างการเรียนรู้ชาวบ้านสอนชาวบ้านและสร้างความสามัคคีในชุมชุน
          ๔.๒เพื่อนำผลิตผลที่ได้มาเป็นอาหารหรือใช้ในการบริโภคภายในครอบครัว และนำมาแปรรูปออกจำหน่ายเป็นสินค้าโอท็อปสู่ท้องตลาดได้

๔.๓เพื่อสร้างรายได้เสริมในครัวเรือน

๔.๔เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้ดีขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๕.๑.ปลาดุก ขนาด ๓-๕ นิ้ว ๑๐๐๐ ตัว

5.1.อาหารปลาดุกเล็ก    ๔ กระสอบ

๕.๒.อาหารปลาดุกกลาง   ๖ กระสอบ

๕.๓.อาหารปลาดุกใหญ่   ๘ กระสอบ

อุปกรณ์ ->

1.กระชัง ขนาด ๓*๔*๑.๕ ๔ กระชัง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการ/ขั้นตอน

1.อัตราการปล่อยปลาดุก ลูกปลาขนาด 2 – 3 ซม. ควรปล่อยประมาณ 40 – 100 ตัว / ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือชนิดของอาหาร ขนาดของบ่อและระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่ว ๆ ไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม.และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลาใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน) ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น

2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกลงในบ่อแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกลงในบ่อแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก ( 2 – 3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5 – 7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจน มีความยาว 15 ซม. ขึ้นไปจะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่นปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่าง ๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนม ปังเศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือด ไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารต่าง ๆ เท่าที่สามารถหาได้ นำมาบดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวังเรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อลูกปลาเลี้ยงได้ประมาณ 3 – 4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200 – 400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 -14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40 – 70%

3.การถ่ายเทน้ำ เมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ ๆ ระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 10 – 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้น ในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 – 60 เซนติเมตร หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 เซนติเมตร/อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 – 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ

เทคนิค/เคล็ดลับพิเศษสำหรับการเลี้ยงปลาดุก

1.เทคนิคการเพิ่มสีและขนาดให้กับปลาดุกด้วยมันหมู  ทำได้โดยการต้มมันหมูให้สุก นำไปเป็นอาหารปลาดุกวันละครั้ง เมื่อครบสองเดือนเริ่มให้อาหารนี้ จะเป็นการเพิ่มขนาดและสีของปลาดุก

2.เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกให้โตเร็ว ทนทานต่อโรคด้วยมะเดื่อชุมพร นำมะเดื่อชุมพรหมักใส่ถุงไม่ให้อากาศเข้า นานหนึ่งเดือนจะได้จุลินทรีย์ นำมาเลี้ยงปลาดุกช่วงอายุประมาณสามเดือน ช่วยเร่งการเติบโต ได้มีน้ำหนักดี

3.การทำให้ปลาดุกที่เลี้ยงบ่อดินผิวสวยสีเหลืองนวลเหมือนปลาดุกนา ก่อนจะจับปลาดุกขายประมาณ 1 เดือน ให้นำกล้วยน้ำหว้าสุกมาบดผสมกับรำรวม ในอัตราส่วนรำรวม 6 ก.ก. ต่อกล้วยสุก 1 หวี ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง หว่านให้ปลาดุกกินทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

4.การเลี้ยงปลาด้วยกล้วยสุกเพื่อเพิ่มความหวานให้เนื้อปลา นำกล้วย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอมชนิดต่างๆ ให้ปลากิน ถ้าปลายังตัวเล็กให้ปลาหัดกินอาหารสำเร็จสลับกับกล้วยสุกฝานเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจะให้กล้วยสุกพร้อมเปลือกเป็นลูก เป็นหวี หรือเป็นเครือก็ตามแต่จะสะดวก อาจจะให้กล้วยเป็นอาหารในตอนเย็นสลับกับการให้อาหารสำเร็จรูปในตอนเช้า หรือจะให้กล้วยเป็นอาหารปลาอย่างเดียวก็ได้ โดยให้ปลากินพออิ่ม วิธีการเช่นนี้สามารถนำไปเลี้ยงปลาได้ทุกชนิด ปลาจะโตเร็ว มีเนื้อแน่น รสหวาน ได้ขนาดตามความต้องการของตลาด

5.เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกให้ตัวใหญ่ยาวได้น้ำหนัก

หลังจากปล่อยลูกปลาลงบ่อแล้ว ให้อดอาหาร 4 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพของลูกปลาให้เข้ากับน้ำในบ่อ จากนั้นวันที่ 5 ก็เริ่มให้อาหาร โดยให้อาหารลูกปลาดุกในปริมาณที่ไม่ต้องมาก แต่ให้บ่อยครั้ง ลูกปลาจะค่อยๆ เจริญเติบโต หลังจากนั้นเมื่อปลาอายุได้ประมาณ 2 เดือน ให้หยุดให้อาหาร 7 วัน วิธีนี้จะทำให้ปลาดุกผอม และยืดตัวออก แล้วจึงค่อยให้อาหารต่อ ผลที่ได้คือปลาดุกจะตัวโต และยาว ซึ่งเมื่อเห็นว่ามีขนาดพอเหมาะเช่น 2 หรือ 3 ตัวต่อกิโลกรัม ก็สามารถจำหน่ายได้

6.การนำฟางใส่ในบ่อปลาเพื่อขจัดกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสัน การที่นำฟางข้าวมาใส่ในบ่อปลาดุกก่อนที่จะทำการจับปลานั้นมีประโยชน์หลายด้าน ซึ่งเมื่อเรานำฟางข้าวใส่ลงไป ปลาก็จะเข้าไปในฟางข้าวทำให้ตัวปลาเสียดสีกับฟางข้าว และจะทำให้เมือกที่ติดอยู่กับตัวปลาหมดไป และยังทำให้ปลาที่มีสีดำคล้ำ มีสีเหลืองนวลอีกด้วย นอกจากนี้การใส่ฟางข้าวลงไปก่อนจับปลาดุกนั้นยังเป็นการช่วยลดกลิ่นสาบของปลาได้อีกด้วย

7.เทคนิคการเตรียมจับปลาดุกขายให้ได้ราคาและกำจัดกลิ่นคาวปลา งดให้อาหาร 3 วัน ก่อนทำการจับปลา จากนั้นลดน้ำในบ่อให้เหลือประมาณ 80 – 90 เซนติเมตร ก่อนจับปลา 2 วัน แล้วใช้เกลือหว่านลงไปในบ่อ บ่อพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เกลือ 30 กิโลกรัม โดยหว่านก่อนจับปลา 1วัน

ข้อพึงระวัง ->

1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา

2.ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค

3.หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว

4.หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน

.5.เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ

6.อย่าให้อาหารจนเหลือ

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสตูล
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา