ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นายสุภชาติ มากแจ้ง วันที่ : 2017-03-18-20:29:45

ที่อยู่ : - บ้านเลขที่ ๑๗๑ หมู่ที่ ๗ ตำบลนิคมพัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านผัง ๑๓,๑๕,๑๘ หมู่ที่ ๗ ตำบลนิคมพัฒนา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเนินควน สภาพดินเป็นดินเหนียวปนลูกรัง พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันและสวนผลไม้ของชาวบ้านที่ยังคงความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำราคายางพารา,ปาล์มน้ำมันตกต่ำ ชาวบ้านจึงดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ           มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม" ทั้งนี้เพื่อสร้างรายได้เสริมและใช้ประกอบอาหาร

วัตถุประสงค์ ->

๑ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

 ๒ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีรายได้เสริม และอยู่ได้ด้วยตนเองถึงแม้ราคาพืชผลทางการเกษตรจะตกต่ำ

๓ เพื่อให้มีการรวมกลุ่มของคนชุมชนเกิดเข้มแข็งและน่าอยู่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ปลาดุก

อุปกรณ์ ->

อาหารสำเร็จรูป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๗.๑ การเลี้ยงปลาดุก ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90-120 วัน ปลาดุกอดทนต่อสภาพน้ำได้ดี เลี้ยงและดูแลรักษาง่าย สะดวกในการดูแล

๗.๒ ก่อนเลี้ยงต้องพักน้ำไว้ประมาณ 3-5 วัน ก่อนนำปลามาปล่อย

๗.๓ ปลาที่นำมาปล่อยควรมีความยาวประมาณ 5-7 ซม. ควรปล่อยในตอนเช้า โดยนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตาย ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อนภายในบ่อ

๗.๔ หากมีปลาตายและเป็นแผลตามลำตัวให้ทำลายปลาตาย เช่น เผาหรือฝัง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสตูล
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา