ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

โดย : นายหะเสน สายวารี วันที่ : 2017-03-17-21:55:44

ที่อยู่ : 157 ม.2 ต.ปาล์มพัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคการเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม ปลูกพืชเชิงเดียว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรืรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพหรือแหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนร่วมน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้
          สืบเนื่องจากน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งที่อยู่ในป่ามีน้อยลงไปตามธรรมชาติ ทำให้ผึ้งบางส่วนอพยพมาอยู่ตามบ้านเรือนโดยทั่วไป ประกอบกับอำเภอมะนัง นับเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารามากติดอันดับของจังหวัดสตูล จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบชั้นดีสำหรับผึ้งในการนำมาผลิตเป็นน้ำผึ้ง ส่งผลให้เกิดการเลี้ยงผึ้งบ้านอย่างกว้างขวาง และมีคุณภาพไม่แตกต่างไปจากน้ำผึ้งที่ได้จากในป่า จนสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างดี
          ดังนั้น ที่ประชุมจึงเล็งเห็นการสร้างรายได้เสริม คือ การเลี้ยงผึ้งบ้าน ที่ใช้เนื้อที่น้อย แต่จุรังผึ้งได้เป็นจำนวนมาก และวัสดุสามารถหาได้ในพื้นที่ ตัวรังทำด้วยเศษไม้ทั่วไป แล้วนำมาต่อกันเข้าเป็นตัวกล่อง โดยปีหนึ่งๆ จะสามารถจับเอาน้ำผึ้งได้ 3 ครั้ง ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม และครั้งสุดท้ายในเดือนเมษายน ซึ่งผึ้ง 1 รัง จะได้น้ำผึ้งประมาณ 8-12 ขวด ขายในราคาขวดละ 500-600 บาท เท่ากับว่าผึ้ง 1 รัง สามารถสร้างรายได้ให้ครั้งละ 3,500-4,000 บาท ดีกว่าทิ้งพื้นที่บริเวณบ้านไว้ให้ว่างโดยเปล่าประโยชน์

 

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างการเรียนรู้ชาวบ้านสอนชาวบ้านและสร้างความสามัคคีในชุมชุน
          2.เพื่อเพิ่มระบบนิเวศและเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรในพื้นที่
          3.เพื่อส่งเสริมอาชีพใหม่และสร้างน้ำผึ้งเป็นสินค้าโอทอปในชุมชน

4.เพื่อสร้างรายได้เสริมและมีน้ำผึ้งไว้รักษาโรคทั่วไปในครัวเรือน

          5.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้ดีขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ไม้ขนาด    1*2 นิ้ว ยาว 1.50 ม. จำนวน 102 ท่อน

2.ไม้ขนาด 0.5*6 นิ้ว ยาว 1.20 ม. จำนวน 153 ท่อน

3.ไม้ขนาด 0.5*6 นิ้ว ยาว 1.60 ม. จำนวน   51 ท่อน

อุปกรณ์ ->

          6.1.ตะปู ขนาด      2 นิ้ว         จำนวน  4 ก.ก.

          6.2.ตะปู ขนาด    2.5 นิ้ว         จำนวน  5 ก.ก.

          6.3.เครื่องพ่นควัน                   จำนวน  2 เครื่อง

          6.4.หมวกป้องกันผึ้งต่อย            จำนวน  2 ชุด

          6.5.ค้อน

          6.6.เลื่อย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

7.1.กระบวนการ คือ การทำรังผึ้งให้เหมือนกับทำรีสอร์ทเป็นหลังๆ แล้วนำไปแขวนไว้ใต้ต้นไม้สถานที่ร่มรื่นหรือยืนเสาไว้ใกล้แหล่งน้ำก็ได้ เพื่อให้ผึ่งได้เข้ามาอยู่ในรังที่เตรียมไว้

          7.2.การเทคนิค คือ การทำรังที่มีขนาดพอเหมาะ ไม่ต้องโตจนเกินไป หากใช้ไม้ให้ใช้ไม้เก่าๆ หรือที่ไม่มีกลิ่นของยางไม้ยิ่งเก่ายิ่งดี ใบมะพร้าว ใบจาก

ข้อพึงระวัง ->

8.1.การเก็บน้ำผึ้ง ควรที่จะแต่งกายให้เหมาะสม และทำจิตใจให้เข้มแข็ง ไม่ให้เด็กเข้าใกล้ ควรมีเครื่องพ่นควันเพื่อขจัดให้ตัวผึ้งออกไปเสียก่อน

8.2.หมั่นตรวจดูแลอย่างเสมอ เพื่อไม่ให้มด แมลงสาบ แมงมุม ปลวกหรือสัตรูอื่นๆเข้าไปในรัง

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสตูล
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา