ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงแพะ

โดย : นายนิติภูมิ หลงเก วันที่ : 2017-04-24-12:28:19

ที่อยู่ : 56 ม.8 ต.ท่าแพ อ.ท่าแพ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงแพะสามารถเลี้ยงได้หลายแบบน่ะครับ

การเลี้ยงแบบปล่อย

คือการเลี้ยงแบบปล่อยให้แพะออกในตอนเช้าหาอาหารกินในแปลงผักในฤดูหลังเก็บเกี่ยวหรือกินหญ้าในแปลงแล้วก็ต้อนกลับเข้าคอกในตอนเที่ยง หรือว่าจะปล่อยให้ออกหาอาหารกินในตอนบ่าย แล้วต้อนกลับเข้าคอกในตอนเย็น ในแปลงผักหรือแปลงหญ้าควรมีร่มเงาหรือต้นไม้ใหญ่ไว้ให้แพะได้มีที่หลบแดดหรือฝนด้วยครับ

 

การเลี้ยงแบบขังคอก

คือการเลี้ยงไว้ในคอกแล้วทำรางเพื่อตัดหญ้าหรืออาหารมาให้กินในคอก หรือตัดใบไม้ต่างๆเช่น ต้นกระถิน,มะขามเทศหรือใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนำมาเลี้ยงแพะได้ ภายในคอกต้องมีน้ำและแร่ธาตุให้แพะสามารถกินได้ตลอดเวลา

 

การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช

โดยการเลี้ยงแพะร่วมกับการปลูกพืชหรือไร่สวนต่างๆเช่นการเลี้ยงแพะในสวนยางพาราหรือปาล์มและมะพร้ามเป็นต้นเพื่อให้แพะได้กินวัชพืชในแปลงในสวนและก็จะได้ประโยชน์คือได้ปุ๋ยจากมูลแพะนั่นเองซึ่งทั้งสองอย่างเมื่อผสมผสานกันแล้วก็ทำให้สร้างรายได้ทั้งสองทางได้อีกด้วยครับ

 

มาดูการสร้างโรงเรือนสำหรับการเลี้ยงแพะให้ดีนั้น มีวิธีและเทคนิคในการสร้างโรงเรือนดังนี้น่ะครับ

  • พื้นที่ตั้งคอกควรอยู่ในที่เป็นเนินน้ำไม่ท่วมขังหรือสร้างให้สูงกว่าพื้นดินตามความเหมาะสมหรือประมาณ 1-2เมตร
  • บันไดทางขึ้นคอกควรทำมุมเป็นมุม 45 องศา
  • พื้นคอกควรทำเป็นร่องเว้นระยะห่าง 1.5 เซนติเมตร หรือจะปูด้วยพื้นแสลทปูนก็ได้ เพื่อให้มูลหรือปัสสาวะของแพะร่วงลงมาพื้นด้านล่างได้ จะได้ทำให้พื้นของคอกแพะแห้งและมีความสะอาดตลอดเวลา
  • ผนังคอกคอกสร้างแบบโปร่งให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ใช้ความสูงประมาณ 1.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แพะกระโดดข้ามได้
  • สำหรับหลังคาโรงเรือนนั้นสามารถสร้างได้หลายแบบครับ มีทั้งแบบเพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่วควรให้เหมาะสมกับสภาพอากาศหรือต้นทุนในการสร้างของเราครับ ควรให้หลังคาโรงเรือนสูงจากคอกประมาณ 2 เมตร จะใช้ใบจากหรือสังกะสีก็ได้ครับ
  • สำหรับพื้นที่ในการเลี้ยงแพะแต่ล่ะคอกนั้น แพะแต่ละตัวต้องการพื้นที่ส่วนตัวล่ะ1-2ตารางเมตร ซึ่งแล้วแต่ขนาดตัวของแพะ สามารถแบ่งคอกในโรงเรือนได้ตามการใช้งานต่างๆเช่น คอกแม่แพะอุ้มท้อง,คอกสำหรับคลอดลูกแพะ,คอกอนุบาลแพะครับ
  • รั้วคอกแพะควรสร้างด้วยไม้ไผ่หรือลวดตาข่าย ไม่ควรใช้รั้วลวดหนามน่ะครับเดี๋ยวจะทำให้แพะพลาดไปโดนได้ ให้ปักเสาปูนทุกระยะ 3-4 เมตรเพื่อความแข็งแรงของรั้ว หรือปลูกต้นกระถินสลับกับไม้ไผ่ก็ได้เพื่อความประหยัด

 

 

ภาพตัวอย่างโรงเรือนเลี้ยงแพะภาพนี้คือเลี้ยงแพะเป็น 100 ตัวขึ้นไปครับ

 

พันธ์ุแพะที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยเรามี 2 ประเภท คือ แพะเนื้อและแพะนม และจำแนกออกเป็นแพะพันธ์พื้นเมืองได้อีกคือ

 

แพะพื้นเมืองภาคเหนือ ซึ่งเป็นแพะที่มาจากประเทศอินเดียหรือประเทศปากีสถาน มีลักษณะรูปร่างที่สูงใหญ่ ขนยาวมีสีน้ำตาลเข็มปนสีขาวบ้าง

 

 

 

 

แพะพื้นเมืองภาคใต้ มีลักษณะตัวเล็กลักษณะเดียวกับแพะพื้นเมืองมาเลเซีย มีส่วนสูงประมาณ 50 ซม. และมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 20-25 กิโลกรัม

 

 

 

 

สำหรับแพะพันธ์ุต่างประเทศ กรมปศุสัตว์จะเป็นผู้นำเข้ามาเพื่อให้ชาวเกษตรกรนำไปผสมกับพันธ์พื้นเมือง เพื่อเพิ่มคุณภาพของแพะให้ได้ผลผลิตที่ดีให้ได้ทั้งเนื้อและนมของแพะให้ได้ดีขึ้นเพิ่มขึ้น มีด้วยกันหลายพันธ์ุเช่น

 

แพะนม ได้แก่

 

  • พันธ์ุ ซาเนน

 

 

 

 

  • พันธ์ หลาวซาน

 

 

 

แพะเนื้อได้แก่

 

  • พันธ์ุ แองโกนูเบียน

 

 

 

 

  • พันธ์ุ บอร์

 

 

 

สำหรับการที่จะเลี้ยงแพะให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น เราต้องมีเกณฑ์ในการเลือกน่ะครับ 

  • เลือกจากพ่อแม่พันธ์ุที่มีลักษณะดี ไม่พิการ
  • ไม่ควรนำพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุผสมกับลูกแพะ หรือว่าพี่น้องแพะผสมกันเองน่ะครับ
  • เลือกพ่อพันธ์ุที่มีลักษณะตรงตามสายพันธ์ุ เช่นแพะเนื้อจะมีลักษณะรูปร่างที่ใหญ่ กล้ามเนื้อเต็มมีขาที่แข็งแรงพร้อมขึ้นทับตัวเมีย ควรคัดเลือกจากพ่อพันธ์ุที่เกิดจาก แม่แพะที่เคยได้ลูกแฝด
  • ลักษณะที่ดีของแม่พันธ์ุแพะ แม่พันธ์ุควรมีรูปร่างลักษณะที่ดี ลำตัวยาว เต้านมใหญ่เท่ากันมีสองหัวนมและที่สำคัญต้องไม่อ้วนจนเกินไปน่ะครับหรือว่าเป็นหมัน มีลักษณะความเป็นแม่ที่ดี

 

การปฏิบัติในการเลี้ยงดูพ่อพันธ์ุแพะและแม่พันธ์ุก็ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไปน่ะครับ

  • สำหรับการเลี้ยงดูพ่อพันธ์ุ ก็ให้อาหารหยาบที่มีคุณภาพสูงเช่นพืชตระกูลถั่วต่างๆ 
  • ให้แพะได้มีการออกกำลัง เพื่อพ่อพันธ์ุแพะจะได้ร่างกายที่แข็งแรง
  • พ่อพันธ์ุแพะจะเริ่มผสมพันธ์ุได้เมื่ออายุได้ 1 ปี และที่วิเศษกว่านั้นของการที่เรานำพ่อพันธ์ุต่างประเทศเพื่อมาผสมพันธ์ุกับพันธ์ุเมืองก็คือ อัตราการคุมฝูงแม่พันธ์ุ ได้ถึง 1 ต่อ 10-25 เชียวครับ
  • สำหรับการเลี้ยงดูแม่พันธ์ุแพะนั้น การที่จะใช้แพะเป็นแม่พันธ์ุได้เมื่อมีอายุอยู่ที่ 8 เดือน หากแพะได้มีการผสมพันธ์ุแล้ว มีการติดสัดอดีภายใน 21 วันให้ทำการผสมพันธ์ุใหม่ และแพะจะตั้งท้องประมาณ 150 วันหรือประมาณ 5 เดือนครับ
  • เมื่อแม่แพะท้องใหญ่ให้ทำการแยกคอกออกจากฝูง ลักษณะของอาการของแม่แพะใกล้คลอดจะมีให้สังเกตุ คือ เต้านมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้น มีอาการหงุดหงิดตื่นเต้น เหมือนคนเลยน่ะครับ และก็บริเวณสะโพกจะมีรอยยุบเป็นหลุมเข้าไปให้เห็นอย่างชัดเจนทั้งสองข้าง มีน้ำเมือกของแม่แพะไหลออกมาจากช่องคลอด สัญชาติญาณความเป็นแม่อาจมีการคุ้ยหญ้าหรือฟางบริเวณคอกเพื่อเตรียมตัวในการคลอดของตัวเค้าเองด้วย เมื่อสังเกตุได้ดังกล่าวก็ให้แยกคอก ไปไว้ในห้องคลอดเลยน่ะครับ
  • ห้องคลอดของแม่แพะที่จะคลอด ให้เตรียมฟางแห้งปูที่พื้นไว้ให้แม่แพะนอนตอนคลอด และเตรียมด้ายที่จะใช้ผูกสะดือและใบมีดโกน,ทิงเจอร์,ไอโอดีน เตรียมไว้ในคอกที่จะทำการคลอดลูกแพะให้พร้อม
  • วิธีการทำคลอดแพะส่วนใหญ่ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากถ้าเค้าสามารถคลอดเองได้น่ะครับ
  • แพะจะคลอดลูกเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก แพะจะคลอดลูกภายใน 1 ชั่วโมง แต่ถ้าแม่แพะเบ่งนานแล้วยังไม่คลอดให้ช่วยแม่แพะโดยการใส่ถุงมือหรือล้างมือสะอาดล้วงลูกแพะออกมา ทันทีที่ลูกแพะออกมาให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดตัวลูกแพะให้แห้งและให้เช็ดน้ำเมือกในจมูกลูกแพะออกให้หมด และทำการผูกสายสะดือลูกแพะให้ห่างจากพื้นท้อง ประมาณ 2-3 เซนติเมตรแล้วก็ทำการตัดสายสะดือ ทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน เป็นอันเสร็จขั้นตอนในการทำคลอดครับ

 

วิธีการเลี้ยงดูลูกแพะ

  • ให้ลูกแพะกินนมน้ำเหลืองของแม่แพะ และปล่อยให้อยู่กับแม่แพะ 3-5 วัน(แรกคลอดจะเหมือนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมของคนเลยครับ อันนี้ผู้เขียนแอบคิดตามน่ะครับ)
  • กรณีลูกแพะนม ให้เลี้ยงลูกแพะด้วยหางนม วิธีทำคือละลายหางนม 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน
  • หลังจากลูกแพะหย่านม ให้ทำการถ่ายพยาธิ
  • ช่วงฤดูหนาวควรมีไฟในคอกกกลูกแพะช่วง 1-2 สัปดาห์เพื่อให้ความอบอุ่นลูกแพะด้วยครับ
  • อาหารของแพะนั้นต้องระวังเรื่องอาหารเสริม เพราะแพะเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะหมัก มีจุลินทรีย์ย่อยอาหารและและสังเคราะห์ไวตามิน เพราะฉนั้นอาหารเสริมของแพะต้องไม่มียาปฏิชีวนะที่จะไปทำลายจุลินทรีย์ เช่นอาหารสุกรหรืออาหารไก่ ควรใช้สูตรอาการเสริมที่เป็นอาหารแพะหรือโคนมเท่านั้น แร่ธาตุควรมีห้อยไว้ในคอกให้แพะกินได้ตลอดเวลา

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสตูล
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา