ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นายกริยา แดงหลัง วันที่ : 2017-04-21-09:32:13

ที่อยู่ : ม.7 ต.เขาขาว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เห็ดนางฟ้า จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่นิยมรับประทานมากไม่แพ้กว่าเห็ดนางรม และเห็ดฟาง เนื่องจาก เห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ง่าย มีเวลาในการเพาะสั้น ดอกเห็ดออกจำนวนมาก ดอกเห็ดให้เนื้อนุ่ม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ แกงเลียง และต้มยำ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

ประโยชน์เห็ดนางฟ้า
1. เห็ดนางฟ้านิยมนำดอกเห็ดสดมาประกอบอาหาร เช่น เห็ดนางฟ้าชุบแป้งทอด ต้มยำเห็ดนางฟ้า และห่อหมกเห็ดนางฟ้า เป็นต้น

สรรพคุณทางยา
– ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
– ลดไขมันในเส้นเลือด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

สูตรส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
– ขี้เลื่อยไม้ยางพารำแห้ง 100 กิโลกรัม
– รำละเอียด 5 กิโลกรัม
– ปูนขาว 1 กิโลกรัม
– ยิบซั่ม 2 กิโลกรัม
– ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
– ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

อุปกรณ์ ->

สูตรส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
– ขี้เลื่อยไม้ยางพารำแห้ง 100 กิโลกรัม
– รำละเอียด 5 กิโลกรัม
– ปูนขาว 1 กิโลกรัม
– ยิบซั่ม 2 กิโลกรัม
– ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
– ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการเพาะนางฟ้าในถุงพลาสติก
1. การผลิตหัวเชื้อบริสุทธิ์
2. การผลิตหัวเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่าง
3. การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
4. การบ่มเส้นใยเห็ดนางฟ้า
5. การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา

ข้อพึงระวัง ->

เมื่อเอาถุงก้อนเชื้อมาเปิดรดน้ำ และมีการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะเกิดดอกเห็ดเล็กๆ ภายในเวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ขณะที่กำลังเกิดเป็นดอกเห็ดเล็กๆ นี้ หากดูแลในเรื่องของความชื้นได้ดี ดอกเห็ดก็จะโตเต็มที่ภายใน 4–5 วัน ส่วนมากจะเก็บได้ ในวันที่ 4 ถ้าทิ้งไว้นานกว่านั้น ดอกเห็ดจะสร้างสปอร์ออกมาเป็นผงสีขาวละเอียด หลุดร่วงหล่นลงด้านล่าง ดอกเห็ดที่สร้างสปอร์ไปแล้วคุณภาพจะด้อยลง คือ เหนียวขึ้นและรสชาดก็จะขม

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสตูล
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา