ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาหมอเทศ

โดย : นายยะโกบ หมาดเตีะ วันที่ : 2017-03-21-16:29:01

ที่อยู่ : 117 หมุ่ที่ 13 ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตุล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาหมอ หรือ ปลาเข่ง ชื่อเรียกทางภาคอีสาน นับเป็นปลาเศรษฐกิจตัวใหม่มาแรง จุดเริ่มต้นที่ทำให้ปลาหมอตีตลาดขึ้นมา เกิดจาก ศูนย์วิจัยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร วิจัยและพัฒนา ฮือฮากันในเรื่องของการเจริญเติบโต เกิดเป็น ปลาหมอไทยสายพันธุ์ชุมพร1

ปลาหมอเทศ เป็นปลาที่มีรสชาติหอมหวาน สามารถให้ทำอาหารได้หลายประเภท เป็นที่ต้องการของตลาด หากได้นำมาเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม จะสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงปลาหมอเทศ

  ปลาหมอเทศนี้เลี้ยงได้ทั้งในบ่อ และในนาข้าว ฉะนั้นจึงแยกการเลี้ยงออกเป็น 2 วิธี คือ

  1. วิธีเลี้ยงในบ่อ ปลาหมอเทศนั้น แม้ว่าจะเป็นปลาที่อยู่ง่ายกินง่ายก็ตาม แต่ในการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้รับผลดีเป็นที่พอใจนั้น ก็จะเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการเพาะเลี้ยงดังกล่าว

(1)เลือกบ่อ ปลาหมอเทศสามารถอาศัยเลี้ยงตัวอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยก็จริงอยู่ แต่ปลาหมอเทศจะเจริญเติบโตได้ดี ก็เฉพาะในบ่อที่มีอาหารอุดสมบูรณ์และน้ำในบ่อลึกไม่น้อยกว่า 30-40 ซม. ตลอดปี รูปบ่อควรเป็นบ่อยาวและมีเนื้อที่ประมาณ ¼ ไร่ จึงจะสะดวกแก่การเลี้ยงปลานี้

บ่อที่เลี้ยงปลาที่น้ำท่วมได้ในฤดูน้ำ นับว่าไม่เหมาะแก่การเลี้ยงอย่างยิ่ง

(2)การเตรียมบ่อ มีวิธีปฎิบัติดังนี้

  1. ใช้ตะแกรงตาถี่กั้นปากทางระบายน้ำเข้า และออกบ่อเลี้ยงปลาที่มีทางระบายน้ำติดต่อกับลำคลองหรือทางน้ำสาธารณะนั้น จำเป็นต้องใช้ตะแกรงไม้ไผ่ตาถี่ หรือเฝือกกั้นปากทางระบายน้ำทั้งตอนนอก และตอนใน เพื่อป้องกันมิให้ปลาที่เลี้ยงหลบหนีออกไปและเป็นการป้องกันมิให้ศัตรูของปลาเล็ดลอดเข้ามาได้
  2. กำจัดพันธุ์ไม้น้ำที่ให้โทษ พันธุ์ไม้น้ำบางอย่างที่ไม่พึ่งประสงค์ เช่น ผักตบชวา จอก บัวต่างๆ ควรจะเก็บออกจากบ่อเลี้ยงปลาเสียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนที่จะปล่อยปลาหมอเทศลงเลี้ยง
  3. กำจัดศัตรู ศัตรูของปลาหมอได้แก่ ปลาช่อน ปลาชะโด และปลาดุก เป็นต้น ฉะนั้นก่อนที่จะปล่อยปลาหมอเทศลงเลี้ยงในบ่อจึงจำเป็นต้องกำจัดศัตรูเหล่านี้เสียก่อน โดยใช้วิธีดักจับหรือใช้อวนลากจับก็ได้

แต่เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยจากศัตรู โดยแน่นอนแล้ว ควรระบายน้ำในบ่อออกทิ้งให้หมด หรือให้มีเหลือติดก้นบ่ออยู่บ้างเล็กน้อย แล้วใช้โล่ติ้นละลายย้ำหรือปูนขาวเทลงไปให้ทั่วบ่อ เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ้นหรือปูนขาวทำลายปลาต่างๆ ที่เหลืออยู่ในบ่อให้สูญสิ้นไป แต่เมื่อใส่โล่ติ้นลงในบ่อแล้ว จะต้องทิ้งไว้ให้หมดฤทธิ์ยาก่อน อย่างน้อย 7-10 วัน ก่อนที่จะปล่อยลงในบ่อ

(3)การใส่ปุ๋ย ความมุ่งหมายในการใส่ปุ๋ยในบ่อเลี้ยงปลา ก็เพื่อทำให้น้ำในบ่อมีปุ๋ยพอสมควร ซึ่งจะทำให้พันธุ์ไม้น้ำและจุลินทรีย์ในน้ำเกิดและขยายพันธุ์มากขึ้น เพื่อจะได้เป็นอาหารปลา

ปุ๋ยที่ใช้ ได้แก่ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ เศษอาหารที่เหลือจากการทำครัว ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสด เช่นใบไม้และหญ้า สดที่จะหาได้ในราคาถูก

ถ้าใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยผสมจะบังเกิดผลดีกว่าใส่ปุ๋ยชนิดใดชนิดหนึ่งแต่อย่างเดียว

ปริมาณของปุ๋ยที่ควรใช้ในผิวน้ำ 1 ไร่ คือ ปุ๋ย 20 กก. และปุ๋ยสด 40 กก. ทุกระยะ 4-5 วัน จนกระทั่งสังเกตว่า น้ำมีสีเขียวอ่อน และพันธุ์ไม้ในน้ำก็งอกงามดีแล้ว จึงควรใส่ปุ๋ยเพิ่มอีกทุกระยะ 20 วัน

วิธีใส่ปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยคอกก็โยนลงไปในบ่อ ให้กระจาบทั่วทั้งบ่อ อย่าโยนตกให้อยู่แต่ที่เดียว สำหรับปุ๋ยสดให้เทสุมไว้เป็นกองสูงตามมุมบ่อ แห่งหนึ่งหรือสองแห่ง โดยมีหลักไม้ไผ่ 2-3 อัน ปักล้อมเป็นคอกกรอบกองปุ๋ยไว้เพื่อป้องกันมิให้กระจาย

(4) การปล่อยปลาลงเลี้ยง มีวิธีการปฎิบัติดังนี้

  1. จำนวนปลาที่จะปล่อย เนื่องจากปลาหมอเทศเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว  ฉะนั้นจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่ต้องมากนัก

สำหรับบ่อขนากเนื้อที่ 1 ไร่ ใช้พ่อแม่ปลาหมอเทศจำนวน 100 ถึง 150 และถ้าเป็นขนาดลูกปลาจำนวน 400-600 ตัวนับว่าพอเหมาะ

สำหรับบ่อที่สงสัยว่ามีศัตรูของปลาหมอเทศอาศัยอยู่ ควรใส่พ่อแม่ปลาหรือลูกปลาที่ขนาดใหญ่ลงเลี้ยง

  1. เวลาปล่อยปลา จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเวลาใดก็ได้ แต่เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปล่อยปลานั้น ควรจะเป็นเวลาเช้าตรู่หรือตอนบ่าย ซึ่งน้ำไม่ร้อนเกินไปก่อนจะปล่อยปลาให้เอาน้ำในบ่อปนลงไป ในภาชนะที่บรรจุปลาก่อน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที จึงปล่อยปลาออกช้าๆ โดยค่อยๆ จุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลาลงในบ่อ

(5) การให้อาหารสมทบ กากมะพร้าว กากถั่วลิสง ถ้าหาง่าย และราคาถูกก็ควรให้อาหารสมบท เพราะเป็นประโยชน์ในการเร่งให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณอาหารที่จะให้สมทบ ควรเป็นน้ำหนักราว 2% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าเป็นขนาดใหญ่ควรให้แหนเป็ดกินด้วย

ควรปลูกผักบุ้งเอาไว้ตามบ่อ เพราะนอกจากจะช่วยให้ร่มเงาเป็นที่อาศัยของปลาแลว ผักบุ้งเหล่านี้ยังเป็นอาหารของปลาด้วย แต่ไม่ควรปลูกผักบุ้งให้มากกว่า 1 ใน 5 ของเนื้อที่ผิวน้ำ

(6) การจับ การจับควรจำไว้ว่า ปลาหมอเทศเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว พ่อแม่ปลาที่โตเต็มที่ เมื่อปล่อยลงเลี้ยงในบ่อจะวางไข่ภายใน 2-3 สัปดาห์ และลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ปลา ก็จะวางไข่ได้อีกเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 เดือน เพราะฉะนั้น ถ้าหากไม่เอาปลาออกเสียงบ้างจะทำให้ปลาแน่นบ่อ

ข้อควรจำที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ อาหารธรรมชาติของปลาที่เกิดขึ้นในบ่อ ย่อมมีปริมาณจำกัดตามเนื้อที่ของบ่อ ฉะนั้น ปลาที่เลี้ยงไว้ในบ่อต้องมีอาหารกินอย่างจำกัดตามไปด้วย และเมื่อปลาต้องเพิ่มจำนวนขึ้นอีก ปลาที่เลี้ยงไว้จึงไม่ได้กินอาหารอย่างเพียงพอ เป็นเหตุให้ปลาเติบโตช้า และอาจจะเป็นเหตุทำให้ปลาตายมากกว่าธรรมชาติ

ดังนั้น เมื่อสังเกตเห็นว่า ปลาจะมีจำนวนมากเกินไป ก็ต้องหมั่นจับพ่อแม่ปลาที่โตเต็มที่ออกเสียบ้างเป็นครั้งคราว (ทุกๆ 2 สัปดาห์) เพื่อให้โอกาสแก่ลูกปลาเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสตูล
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา