ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลดุกในบ่อซีเมนต์

โดย : นายกรกฤษ บัวเพชร วันที่ : 2017-08-09-16:20:15

ที่อยู่ : 160 ม.1 ต.ทุ่งหวัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากปลาดุกสามารถเลี้ยงได้ง่าย โตไว เเละใช้ต้นทุนในการเลี้ยงไม่สูงมาก สามารถทำรายได้ได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างรายได้เสริมให้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.ลูกปลาดุก

2.ท่อซีเมนต์

3.อาหารปลาดุก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ถ้าเป็นปลาขนาดเล็ก (2-3 เซนติเมตร) ควรเป็นอาหารเม็ด ผสมข้าวสุก คลุกกับน้ำแล้วปั้นให้เป็นก้อนๆ ถ้าปลาโตแล้วจนมีความยาว 15 เซนติเมตร ขึ้นไป จะใช้อาหารเม็ด, รำละเอียด, เศษผัก หรือเศษอาหาร ใช้อัตราส่วน 2 : 4 : 4 หรือใครจะใช้เป็นอาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่ต้นทุนมันจะสูงกว่า อาหารผสมแบบนี้ ถ้าลูกปลามีขนาด 10 ตัว ต่อกิโลกรัม คุณก็หาผักตบชวา หรือผักบุ้งใส่ลงไปในปูนวงที่เลี้ยงปลาดุก แล้วก็ค่อยลดปริมาณอาหารสำเร็จรูปลงเรื่อยๆ เมื่อปลาหิวจัดๆ มันก็จะกินผักตบชวา หรือผักบุ้งเป็นอาหาร ในช่วงเย็น เราก็ให้อาหารเม็ดกินเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว สำหรับปลาดุก 1 ปูนวง และในหนึ่งบ่อเราจะใช้ผักตบชวาประมาณ 4 กอ ต่อ 7 วัน ซึ่งปลาจะกัดกินบริเวณใบและยอดอ่อนจนหมด เหลือไว้เพียงลำต้นแก่ๆ เท่านั้น
จำนวนในการเลี้ยงปลาดุก ควรเลี้ยง 70 ตัว / หนึ่งปูนวงนะ จะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ 5 วัน ต่อครั้ง และในแต่ละครั้งจะเปิดน้ำที่เลี้ยงปลาออกทิ้งจนหมด จากนั้นก็ดูดน้ำใหม่มาใส่ทันที วงปูนที่เราใช้เลี้ยงปลานั้น จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร และสูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นบ่อปูน วงก็ทำพื้นปูนปิด และต่อท่อพลาสติกเพื่อใช้ในการถ่านน้ำออก ในการเลี้ยงปลาดุกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในบ่อปูนวงนี้ จะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 เดือนกว่าๆ คุณจะได้ปลาดุกขนาด 4 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ราคาขายของปลาดุกในขณะนี้ตกกิโลละ 40 – 45 บาท

 

ข้อพึงระวัง ->

ควรใช้ EM ขยาย จำนวน 2 ลิตร/สัปดาห์ ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นปลาแข็งแรง และปราศจากโรค หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว อย่าให้อาหารจนเหลือ หรือมากเกินไป
 

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสงขลา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา